Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17067
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจันทอร บูรณบรรพต รูฟเนอร์-
dc.contributor.authorเตือนใจ วัฒนา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-02-26T09:55:03Z-
dc.date.available2012-02-26T09:55:03Z-
dc.date.issued2519-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17067-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาว่าแบบสอบชนิดใคลซสามารถใช้วัดความเข้าใจในการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพได้หรือไม่ และแบบสอบชนิดโคลซที่ละคำในช่วงความถี่ต่างกัน จะมีผลทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในการฟังต่างกันหรือไม่เพียงไร ประการสุดท้ายที่ต้องการจะศึกษาก็คือ การทำแบบสอบชนิดโคลซด้วยวิธีการฟังและการอ่าน จะทำให้ผลของความเข้าใจดีเท่ากัน หรือต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยสร้างแบบสอบวัดความเข้าใจในการฟังภาษาอังกฤษ 3 ชุด คือ แบบสอบชนิดโคลซซึ่งประกอบด้วยข้อความภาษาอังกฤษ 3 ตอน ความยาวตอนละประมาณ 280-320 คำ จำนวน 2 ชุด ชุดแรกตัดทุกคำที่ 5 ออกจากข้อความ ชุดที่ 2 ตัดทุกคำที่ 10 ออกจากข้อความ ส่วนชุดที่ 3 นั้นเป็นแบบสอบชนิดเลือกตอบ ซึ่งสร้างจากข้อความภาษาอังกฤษชุดเดียวกับแบบสอบชนิดโคลซ แต่ละตอนประกอบด้วยคำถาม 20 ข้อ นำแบบสอบชนิดโคลซทั้ง 2 ชุด ไปทดสอบนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิทยาลัยบพิตรพิมุช จำนวน 4 กลุ่ม กลุ่มละ 35 คน ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบสอบชนิดโคลซ ชุดละ 2 กลุ่ม โดยให้เป็นกลุ่มที่ทำแบบสอบชนิดโคลซด้วยวิธีการฟัง 1 กลุ่ม และวิธีอ่าน 1 กลุ่ม หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ นำแบบสอบชนิดเลือกตอบไปทดสอบนักเรียนกลุ่มตัวอย่างเดิม ทั้ง 4 กลุ่มโดยให้กลุ่มที่ทำแบบสอบชนิดโคลซด้วยวิธีการฟัง ทำแบบสอบชนิดเลือกตอบด้วยวิธีฟัง และกลุ่มที่ทำแบบสอบชนิดโคลซด้วยวิธีอ่าน ก็ทำแบบสอบชนิดเลือกตอบด้วยวิธีอ่านเช่นกัน แล้วนำคะแนนที่ได้จากการทดสอบทั้ง 2 ครั้ง ของแต่ละกลุ่มมาหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และเปรียบเทียบความสามารถในการทำแบบสอบชนิดโคลซที่ละคำในช่วงความถี่ต่างกัน รวมทั้งเปรียบเทียบความสามารถในการทำแบบสอบชนิดโคลซ ด้วยวิธีการฟัง และวิธีอ่านโดยการทดสอบค่า Z ผลของการวิจัย 1. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่ได้จากการทดสอบด้วยแบบสอบชนิดโคลซที่ตัดออกทุกคำที่ 5 กับคะแนนที่ได้จากการทดสอบด้วยแบบสอบชนิดเลือกตอบเท่ากับ .82 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่ได้จากการทดสอบด้วยแบบสอบชนิดโคลซที่ตัดออกทุกคำ ที่ 10 กับคะแนนที่ได้จากการทดสอบด้วยแบบสอบชนิดเลือกตอบเท่ากัน .94 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทั้งหมดมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 แสดงว่าผู้ที่ได้คะแนนจากแบบสอบชนิดเลือกตอบสูงหรือต่ำกว่าส่วนเฉลี่ยก็จะได้คะแนนจากแบบสอบชนิดโคลซสูงหรือต่ำกว่าส่วนเฉลี่ยด้วย 2. แบบสอบชนิดโคลซที่ละคำในช่วงต่างกันมีผลต่อความเข้าใจในการฟังภาษาอังกฤษอย่างมีนัยสำคัญ 3. ความสามารถของนักรเยนในการทำแบบสอบชนิดโคลซโดยวิธีการฟังและโดยวิธีการอ่าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ข้อเสนอแนะ เพื่อประโยชน์ในการนำแบบสอบชนิดโคลซไปใช้ในการวัดความเข้าใจในการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยให้ได้ผลดี ควรจะมีการทดลองนำแบบสอบชนิดโคลซที่มีการตัดคำและมีวิธีให้คะแนนเหมือนกับการวิจัยคราวนี้ และแบบสอบชนิดโคลซที่มีการตัดคำและมีวิธีการให้คะแนนที่ต่างไปจากที่ใช้ในการวิจัยนี้ ไปทดสอบความเข้าใจในการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยระดับต่าง ๆ เพื่อพิจารณาวิธีสร้าง และวิธีให้คะแนนแบบสอบชนิดโคลซที่เหมาะสมที่สุด-
dc.description.abstractalternativePurpose The purposes of this study were: 1) to examine if a cloze test could be used to measure Thai vocational high school students’ English-listening comprehension, 2) To examine if cloze tests with different deletions produced differences in student’s ability in English listening comprehension, and 3) to examine if different methods of presentation (visually and aurally) of the cloze procedure produced differences in comprehending. Procedure Three English listening comprehension tests were used in this study. One cloze test was constructed by deleting every 5th word from each of three passages which was about 280-320 words in length. Another cloze test was constructed by deleting every 10th word from each of the same passages. A multiple-choice comprehension test was also constructed from the same passages and each of them contained 20 questions. Both cloze tests were first administered to 4 groups of matayom suksa 6 students in Borpitpimuk college. Two groups of students took one cloze test with different presentations one visually and another aurally. In the same way, the other two groups of students took another colze test, One week after the cloze tests were administered, the same subjects took the multiple-choice test in the same way as they took cloze tests. A Pearson correlation was then computed between the cloze test results and the corresponding multiple-choice-comprehension test results. Az-test was used afterwards to determine the significant differences in the ability to complete cloze tests with different deletions and to determine the significantce in the ability to complete a cloze test visually and to complete a cloze test aurally. Findings and Conclusions. 1. The average coefficient correlation between the cloze test results and the multiple-choice test results were .82 and .94 at the .01 level of significance. It indicated that one who was above or below the average in taking a multiple-choice test would be above of below the average in taking a cloze test. 2. Different deletion patterns produced significant differences in students’ ability in English listening comprehension. 3. Different methods of presentation of the cloze procedure-produced significant differences in comprehending. Recommendations In order to obtain an effective measurement and the most suitable ways of cloze test construction and scoring, a cloze test of the same deletion and scoring as in this study and a cloze test of varied deletion and scoring should be tried on Thai students of various levels.-
dc.format.extent428272 bytes-
dc.format.extent762120 bytes-
dc.format.extent478642 bytes-
dc.format.extent467082 bytes-
dc.format.extent367950 bytes-
dc.format.extent1299202 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- ข้อสอบen
dc.subjectการฟังen
dc.titleการเปรียบเทียบแบบสอบชนิดเลือกตอบและแบบสอบชนิดโคลซ ซึ่งละคำต่างกันในการวัดความเข้าใจในการฟังภาษาอังกฤษen
dc.title.alternativeA comparison of multiple-choice test and cloze tests with different deletions in English listening comprehensionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tuanchai_Wa_front.pdf418.23 kBAdobe PDFView/Open
Tuanchai_Wa_ch1.pdf744.26 kBAdobe PDFView/Open
Tuanchai_Wa_ch2.pdf467.42 kBAdobe PDFView/Open
Tuanchai_Wa_ch3.pdf456.13 kBAdobe PDFView/Open
Tuanchai_Wa_ch4.pdf359.33 kBAdobe PDFView/Open
Tuanchai_Wa_back.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.