Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17153
Title: ความไวของการเพาะเชื้อในน้ำไขข้อของผู้ป่วยข้ออักเสบติดเชื้อแบคทีเรียชนิดเฉียบพลันที่ไม่ใช่หนองในด้วยวิธีเวอร์ซาเทรค รีดอกซ์วันและวิธีเพาะเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อ
Other Titles: Sensitivity of synovial fluid culture using versatrek redox1 compared with conventional culture media in patients with acute non-gonococcal septic arthritis
Authors: จินตาหรา มังคะละ
Advisors: มนาธิป โอศิริ
ผ่องพรรณ นันทาภิสุทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Manathip.O@Chula.ac.th
Pongpun.N@Chula.ac.th
Subjects: ข้ออักเสบ -- ผู้ป่วย
ข้อ -- โรค
แบคทีเรีย
อาหารเลี้ยงเชื้อ
การเพาะเลี้ยง (ชีววิทยา)
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความไวจากการเพาะเชื้อในน้ำไขข้อของผู้ป่วยข้ออักเสบติดเชื้อแบคทีเรียชนิดเฉียบพลันที่ไม่ใช่หนองในด้วยวิธีเวอร์ซาเทรค รีดอกซ์วัน ว่ามากกว่าวิธีเพาะเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อปกติหรือไม่ วิธีการดำเนินการ เจาะน้ำไขข้อจากข้อที่สงสัยว่ามีการอักเสบติดเชื้อแบคทีเรียชนิดเฉียบพลันที่ไม่ใช่หนองในจำนวน 42 ข้อ (ผู้ป่วย 38 ราย) แยกน้ำไขข้อเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก 1-10 มล. ใส่ในขวดเวอร์ซาเทรค รีดอกซ์วัน ส่วนที่ 2 ใส่ในอาหารเลี้ยงเชื้อ 2 ชนิดคือ blood agar และ chocolate agar ส่วนที่ 3 ป้ายใส่สไลด์ย้อมสีแกรม จากนั้นนำสิ่งส่งตรวจส่งที่ห้องปฏิบัติการแบคทีเรียภายใน 30 นาที (ในเวลาราชการส่งที่ตึกอปร.ชั้น 16 นอกเวลาราชการส่งที่ตึกภปร.ชั้น 4) จากนั้นอ่านผลเพาะเชื้อที่ 48 ชั่วโมงและ 7 วัน ผลการศึกษา ผู้ป่วยข้ออักเสบติดเชื้อแบคทีเรียชนิดเฉียบพลันที่ไม่ใช่หนองในที่เข้าร่วมการวิจัย มีอายุเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) 58 (19.2) ปี เป็นเพศหญิง ร้อยละ 57.9 ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวร่วม เช่น โรคเบาหวาน โรคไตวายเรื้อรัง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ร่วมกับประวัติการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน มีไข้เพียงร้อยละ 57.9 มักเป็นข้ออักเสบติดเชื้อชนิดข้อเดียว โดยพบที่ข้อเข่าบ่อยที่สุดคือ ร้อยละ 85.7 พบเชื้อแบคทีเรียแกรมลบมากกว่าแกรมบวก โดยผลย้อมสีแกรมในน้ำไขข้อมีความไวร้อยละ 59.5 ผลเพาะเชื้อน้ำไขข้อในขวดเวอร์ซาเทรค รีดอกซ์วัน มีความไวร้อยละ 23.8 ผลเพาะเชื้อน้ำไขข้อในอาหารเลี้ยงเชื้อ มีความไวร้อยละ 19.0 และเมื่อกำหนดให้ผลเพาะเชื้อในน้ำไขข้อของผู้ป่วยข้ออักเสบติดเชื้อแบคทีเรียชนิดเฉียบพลันที่ไม่ใช่หนองใน ด้วยวิธี เวอร์ซาเทรค รีดอกซ์วัน มีความไวมากกว่าวิธีเพาะเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อร้อยละ 30 พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.625) สรุป เวอร์ซาเทรค รีดอกซ์วัน มีความไวในการเพาะเชื้อในน้ำไขข้อของผู้ป่วยข้ออักเสบติดเชื้อแบคทีเรียชนิดเฉียบพลันที่ไม่ใช่หนองในมากกว่าหรือเท่ากับอาหารเลี้ยงเชื้อ จึงสามารถนำมาทดแทนการเพาะเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อซึ่งขั้นตอนยุ่งยากกว่าได้
Other Abstract: Objective: To evaluate the sensitivity of synovial fluid culture using VersaTREK REDOX1 compared with conventional culture media in patients with acute non-gonococcal septic arthritis. Method: 38 patients with acute non-gonococcal septic arthritis were enrolled in this study. Arthrocentesis was done and synovial fluid was sent for gram stain, cultured in VersaTREK REDOX1 and conventional culture media (blood agar and chocolate agar) at the Department of Microbiology laboratory within 30 minutes. The results of synovial fluid culture were reported at 48 hours and 7 days. Results: The mean (SD) age of the patients was 58 (19.2) years, and 57.9% were female. Most patients had underlying diseases such as diabetes mellitus, chronic kidney disease, and rheumatoid arthritis and history used immunosuppressive drugs. Fever is observed only 57.9% of patients and most of them often had acute monoarticular arthritis, knee joint was most commonly affected (85.7%). Gram negative bacteria were seen more than gram positive bacteria in this study (40.48% VS 19.05%). Sensitivity of gram stain, VersaTREK REDOX1, conventional culture media were 59.5%, 23.8%, and 19.0%, respectively. Sensitivity of synovial fluid culture using VersaTREK REDOX1 was not significantly higher than that for conventional culture media (p = 0.625). Conclusion: The sensitivity of synovial fluid culture using VersaTREK REDOX1 compared with conventional culture media was similar in patients with acute non-gonococcal septic arthritis. VersaTREK REDOX1 media may be used instead of conventional culture media as this procedure is easier to perform
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17153
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.508
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.508
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jintara_ma.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.