Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17248
Title: วิเคราะห์เดี่ยวจะเข้เพลงพญาฝัน พญาโศก พญาครวญ สามชั้นทางรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน
Other Titles: A musical analysis of Phyaphan Phyasok Phyakhraun for Chakhe solo by Associate Professor Pakorn Rodchangphuen
Authors: ชาคริต เฉลิมสุข
Advisors: พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pornprapit.P@Chula.ac.th
Subjects: ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน, 2494-
พญาโศก
พญาฝัน
พญาครวญ
เพลงไทยเดิม
เพลงไทย
จะเข้
การแต่งเพลง
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องวิเคราะห์เดี่ยวจะเข้เพลงพญาฝัน พญาโศก พญาครวญ สามชั้น ทางรอง ศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับประวัติของบทเพลงทั้ง 3 เพื่อวิเคราะห์สังคีตลักษณ์ การเคลื่อนที่ของทำนองและกลวิธีพิเศษ และเพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์ทางเดี่ยวทั้ง 3 บทเพลงนี้ การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลเอกสาร การศึกษาประวัติชีวิต การสัมภาษณ์ แบบไม่มีโครงสร้าง โดยมีการนำเสนอข้อมูลแบ่งออกเป็น 5 บท เมื่อทำการวิเคราะห์ทางเดี่ยวจะเข้เพลง พญาฝัน พญาโศก พญาครวญ สามชั้น ได้ผลสรุปดังนี้ จากการวิเคราะห์เดี่ยวจะเข้เพลงพญาฝัน พญาโศก พญาครวญ สามชั้น พบว่าเพลงทั้ง 3 เพลงนี้มี ต้นกำเนิดจากเพลงเรื่องพญาโศกของการบรรเลงในปี่พาทย์ การนำมาประพันธ์เป็นทางเดี่ยวจะเข้ในครั้งนี้ พบว่าผู้ประพันธ์มีการวางโครงสร้างเหมือนกันทั้ง 3 เพลง เนื่องจากทั้ง 3 เป็นเพลงท่อนเดียวผู้ประพันธ์จึง วางทำนองเป็นทางโอดในเที่ยวแรกและทางเก็บในเที่ยวกลับ ซึ่งในทางโอดพบว่ามีการเคลื่อนทำนองที่ช้า เป็นการสื่ออารมณ์ตามบทเพลงโดยแทรกกลวิธีพิเศษ เช่น การดีดสะบัด การขยี้ การกล้ำเสียง รูดสาย การดีดทิงนอย การรัวเสียง ส่วนในทางเก็บพบสำนวนกลอนกลอนเก็บที่มีการแทรกการสะบัด ขยี้ และบาง สำนวนเป็นกลอนเพลงที่นำมาจากเดี่ยวขั้นสูง เมื่อเปรียบเทียบการเคลื่อนที่ของทำนองในทางเดี่ยวกับ ทำนองหลักพบว่า การเคลื่อนทำนองในทางเดี่ยวส่วนใหญ่มีทิศทางเดียวกับทำนองหลัก หากแต่จะมีบาง สำนวนที่สวนทางกับทำนองหลักเนื่องจากการวางสำนวนของผู้ประพันธ์ บันไดเสียงของทั้ง 3 เพลงนี้มีการ เปลี่ยนบันไดเสียงเกือบตลอดทั้งเพลงการประพันธ์ยังคงอิงหลักบันไดเสียงเดิมเกือบทุกประโยค หากจะมี บางประโยคที่ผู้ประพันธ์ใช้บันไดเสียงต่างออกไปเนื่องจากการวางสำนวนกลอนแต่ยังคงยึดหลักสำเนียง ของบทเพลงไว้ การวิเคราะห์พบว่าเพลงพญาฝันใช้ 4 บันไดเสียง พญาโศกและพญาครวญใช้ 3 บันไดเสียง ซึ่งการเปลี่ยนบันไดเสียงในบทเพลงเป็นการวัดความสามารถในการประพันธ์สำนวนกลอนของผู้ประพันธ์ ได้เป็นอย่างดี ทางเดี่ยวจะเข้เพลงพญาฝัน พญาโศก พญาครวญ ทางรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน เป็น บทเพลงเดี่ยวจะเข้ที่มีความไพเราะและรวมเอากลวิธีการบรรเลงจะเข้มาบูรณาการไว้อย่างครบถ้วนและมี การประพันธ์โดยยึดเอาหลักการประพันธ์เพลงเดี่ยวตามขนบโบราณอย่างชัดเจน จึงนับได้ว่าเป็นผลงานที่ ยืนยันความสามารถทางด้านดุริยางคศิลป์ของผู้ประพันธ์ได้เป็นอย่างดี
Other Abstract: The objective of the musical analysis of Phyaphan Phyasok Phyakhraun for Chakhe Solo by Associate Professor Pakorn Rodchangphuen is to study contexts which are related to history of the 3 songs in order to analyze the musical character, the melody movement and the advanced techniques. Moreover, to analyze the 3 songs’ musical characters, the researcher uses the method of data collection from documents, the biographical study and the unstructured interview, dividing the presentation of data into 5 chapters. The study reveals that the 3 songs are originated from Phleng Rueng Phyasok for piphat ensemble. From this Chakhe solo version, it shows that the composer uses same structure in all 3 songs. Additionally, since the 3 songs are of unitary form, the composer chooses Thaang Ood (slow tempo) for the first-half playing and Thaang Keb (fast tempo) for the second-half playing. In the first-half playing (Thaang Ood), the melody is slowly played to express emotion according to that of the songs, and advanced techniques including deed sabad (pitch triplet), deed khayee (sixteenth note pitch), kaan klam siang (double syllable), ruud sai (sliding), deed tingnoi (alternating high and low notes) and rua siang ( roll string) are added. In the second-half playing (Thaang Keb), the melody lines are added with sabad and khayee techniques. Also, some melody lines are borrowed from advanced solo songs. Comparing the movement of solo melodies with that of principal melodies, most movements rely on the principal melodies. However, according to the composer, some melody lines of the solo song are distinct from the principal melodies. Scales of the 3 songs changes from the beginning to the end. The composition still mostly depends on the principal scales, but some melody lines are composed using different scales without leaving the general character of the songs. From this study, 4 scales are used in Phyaphan song, while 3 scales are used in Phyasok and Phyakhruan songs. Scale changing in the songs apparently shows the intellectual ability of the composer. The melodious Phyaphan Phyasoke Phyakhraun for Chakhe Solo by Associate.Professor. Pakorn Rodchangphuen are perfectly integrated with Chake playing techniques and the composition clearly corresponds to the traditional custom. According to the reasons given, Phyaphan Phyasok Phyakhraun for Chakhe Solo are good examples which can guarantee the musical ability of the composer
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดุริยางค์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17248
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1042
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1042
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chakrit_ch.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.