Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17381
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนพรัตน์ ผลาพิบูลย์-
dc.contributor.advisorพวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์-
dc.contributor.authorนวลศรี สายเชื้อ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-05T14:22:00Z-
dc.date.available2012-03-05T14:22:00Z-
dc.date.issued2526-
dc.identifier.isbn9745627569-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17381-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อการวางแผนการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาล และเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐและโรงพยาบาลเอกชน พยาบาลที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันและพยาบาลที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน ตัวอย่างประชากรคือพยาบาลที่ปฏิบัติงานในวิชาชีพโรงพยาบาลของรัฐและโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่แปลจาก “เนิสซิ่ง แคร์ แพลนนิ่ง แอดติจูด เหรทติ้ง สเกล” (Nursing Care Planning Attitude Rating Scale) ของอี. รัธ เยอชุค (E. Ruth Yurchuck) ที่ใช้ในการวิจัยเรื่อง “อะ สแตดดี้ ออฟ สติวเด้นท์ คอมพีเทนซี่ แอน แอดติจูด ออฟ แพลนนิ่ง เนิสซิ่ง แคร์” (A Study of Student Competency and Attitude of Planning Nursing Care) เมื่อปี ค.ศ. 1971 ที่มลรัฐนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา และนำไปหาความตรงเชิงเนื้อหา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัย ความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อการวางแผนการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลเป็นไปในเชิงบวกทุกข้อ ยกเว้น 1. ข้อ 5 ในแบบสอบถาม (พยาบาลส่วนมากให้ความสำคัญต่อการวางแผนการพยาบาลมากเกินไป) พบว่าพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐ และโรงพยาบาลเอกชนมีความคิดเห็นอยู่ในช่วงไม่แน่ใจ 2. ข้อ 10 ในแบบสอบถาม (การเขียนแผนการพยาบาลเป็นกิจกรรมง่ายๆของนักศึกษาพยาบาล) พบว่า พยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐมีความคิดเห็นอยู่ในช่วงไม่แน่ใจ 3. ข้อ 16 ในแบบสอบถาม (การเขียนแผนการพยาบาลเป็นการสื่อสารที่ยุ่งยากที่นักวิชาการมุ่งให้พยาบาลปฏิบัติ) พบว่า พยาบาลที่ปฏิบัติงานทั้งในโรงพยาบาลของรัฐและโรงพยาบาลเอกชน มีความคิดเห็นอยู่ในช่วงไม่แน่ใจ ผลจากการทดสอบสมมติฐานการวิจัย มีดังนี้ 1. ความคิดเห็นต่อการวางแผนการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลระหว่างพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐและโรงพยาบาลเอกชนไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 “พยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐและโรงพยาบาลเอกชนจะมีความคิดเห็นต่อการวางแผนการพยาบาลไม่แตกต่างกัน” เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อของแบบสอบถาม พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อยู่ 4 ข้อ คือ 1.1 ข้อ 4 (หน่วยงานควรจัดเวลาให้ข้าพเจ้าในการวางแผนการพยาบาล) พบว่า พยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐแสดงความคิดเห็นไม่แน่ใจ ส่วนพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชนเห็นด้วย 1.2 ข้อ 17 (พยาบาลที่มีทักษะทางการพยาบาลสูงไม่จำเป็นต้องวางแผนการพยาบาล) พบว่า พยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐแสดงความคิดเห็นไม่แน่ใจ ส่วนพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชนเห็นด้วย 1.3 ข้อ 26 (การวางแผนช่วยให้มีการร่วมมือในการพยาบาลผู้ป่วย) พบว่า พยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐเห็นด้วย ส่วนพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชน เห็นด้วยอย่างยิ่ง 1.4 ข้อ 27 (ข้าพเจ้ามีความพอใจมากที่จะวางแผนการพยาบาลผู้ป่วยแต่ละคน) พบว่า พยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐแสดงความคิดเห็นไม่แน่ใจ ส่วนพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชนเห็นด้วย 2. ความคิดเห็นต่อการวางแผนการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลระหว่างพยาบาลที่มีประสบการณ์การทำงาน 1-5, 6-10 และ 11 ปีขึ้นไป ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2 “พยาบาลที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันจะมีความคิดเห็นต่อการวางแผนการพยาบาลไม่แตกต่างกัน ประสบการณ์ที่ต่างกันคือ 1.ประสบการณ์ 1-5 ปี 2.ประสบการณ์ 6-10 ปี 3.ประสบการณ์ 11 ปีขึ้นไป” 3. ความคิดเห็นต่อการวางแผนการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลระหว่างพยาบาลที่มีวุฒิการศึกษาประกาศนียบัตร อนุปริญญา และปริญญาตรี ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3 “พยาบาลที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันจะมีความคิดเห็นต่อการวางแผนการพยาบาลไม่แตกต่างกัน วุฒิการศึกษาที่ต่างกันคือ 1.วุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ได้แก่ ประกาศนียบัตร และอนุปริญญา 2.วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการพยาบาล”-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the professional nurses’ opinions concerning nursing care planning for patients in hospitals and to compare the professional nurses’ opinions working in the government and private hospitals with different professional experiences and levels of education. The sample were 380 professional nurses practicing in government and private hospitals. The questionnaires were translated from the “Nursing Care Planning Attitude Rating Scale” written by E. Ruth Yurchuck which used in a study of student competency and attitudes toward planning nursing care in 1971, New Jersey State, U.S.A., and had been validated. The statistics procedures used to analyze data were arithmetic mean, standard deviation, t-test, and F-test. Major Finding The professional nurses’ opinions concerning nursing care planning were positive, except; 1. item 5 in the questionnaire (Most nursing practitioners place too much emphasis on planning nursing care.) found that both professional nurses’ opinions working in the government and private hospitals were uncertain. 2. item 10 in the questionnaire (Writing nursing care plan is primarily a student activity.) found that professional nurses’ opinions working in the government hospitals were uncertain. 3. item 16 in the questionnaire (Writing nursing care plan is another communication burden imposed on the practitioner by the theorist.) found that both professional nurses’ opinions working in the government and private hospitals were uncertain. The hypothesises were tested and the results were as follow: 1. There was no statistically significant difference between the professional nurses’ opinions concerning nursing care planning working in the government and private hospitals at the .05 level, therefore, the first hypothesis “the professional nurses’ opinions concerning nursing care planning for patients working in the government and private hospitals are not different” was retained. When the questionnaires had analyzed each item, the results were found that 4 items were statistically significant difference between the professional nurses’ opinions concerning nursing care planning working in the government and private hospitals at the .05 level, they were: 1.1 item 4 (The employing agency should not aside time for a nurse to plan nursing care.) which found that professional nurses’ opinions working in the government hospitals were uncertain but professional nurses’ opinions working in the private hospitals agreed. 1.2 item 17 (Skilled practitioners don’t need to develop nursing care plan.) which found that professional nurses’ opinions working in the government hospitals were uncertain but professional nurses’ opinions working in the private hospitals agreed. 1.3 item 26 (Planning helps to coordinate patient care.) which found that professional nurses’ opinions working in the government hospitals agreed but professional nurses’ opinions working in the private hospitals agreed strongly. 1.4 item 27 (A nurse find it very satisfying to develop individualized plan of nursing care.) which found that professional nurses’ opinions working in the government hospitals were uncertain but professional nurses’ opinions working in the private hospitals agreed. 2. There was no statistically significant difference between the professional nurses’ opinions concerning nursing care planning with different professional experiences at the .05 level, therefore, the second hypothesis “the professional nurses’ opinions with 1-5, 6-10, and over 11 years professional nursing experiences concerning nursing care planning for patients in hospitals are not different,” was retained. 3. There was no statistically significant difference between the professional nurses’ opinions concerning nursing care planning with different levels of education at the .05 level, therefore, the third hypothesis “the professional nurses’ opinions holding certificate, diploma and bachelor degrees concerning nursing care planning for patients in hospitals are not different,” was retained.-
dc.format.extent439958 bytes-
dc.format.extent411622 bytes-
dc.format.extent619882 bytes-
dc.format.extent321478 bytes-
dc.format.extent408790 bytes-
dc.format.extent520155 bytes-
dc.format.extent428556 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพยาบาลen
dc.titleความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อการวางแผนการพยาบาลสำหรับผู้ป่วย ในโรงพยาบาลen
dc.title.alternativeOpinions of professional nurses concerning nursing care planning for patients in hospitalsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorPuangtip.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuansri_Sa_front.pdf429.65 kBAdobe PDFView/Open
Nuansri_Sa_ch1.pdf401.97 kBAdobe PDFView/Open
Nuansri_Sa_ch2.pdf605.35 kBAdobe PDFView/Open
Nuansri_Sa_ch3.pdf313.94 kBAdobe PDFView/Open
Nuansri_Sa_ch4.pdf399.21 kBAdobe PDFView/Open
Nuansri_Sa_ch5.pdf507.96 kBAdobe PDFView/Open
Nuansri_Sa_back.pdf418.51 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.