Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17393
Title: การเปรียบเทียบมโนทัศน์ทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สาม ที่เรียนด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นเมืองของเด็กภาคเหนือ กับกิจกรรมตามแผนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ
Other Titles: A comparison of moral concepts of prathom suksa three students learning from the activities using the Northern children folkplay and the activities designed by The Ministry of Education
Authors: พรรณี สุวัตถี
Advisors: พูนสุข บุณย์สวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ศีลธรรมจรรยา -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
การสอน -- อุปกรณ์
การละเล่น -- ไทย (ภาคเหนือ)
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์ทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สามที่เรียนด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นเมืองของเด็กภาคเหนือ กับกิจกรรมตามแผนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สาม ที่มีต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านด้านการละเล่นพื้นเมืองของเด็กภาคเหนือ วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แผนการสอนจริยศึกษาจำนวน 8 แผน ประกอบด้วยเนื้อหาทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา แผนการสอนละ 1 เรื่อง โดยนำการละเล่นพื้นเมืองของเด็กภาคเหนือมาเป็นกิจกรรมหลักและมีกิจกรรมอื่นๆ ประกอบการสอน ในด้านการวัดผลประเมินผลตลอดจนการติดตามผล ผู้วิจัยได้สร้างแบบประเมินตนเองทางจริยธรรมและแบบสังเกตพฤติกรรมโดยครูประจำชั้น 2. แบบสอบวัดมโนทัศน์ทางจริยธรรม จำนวน 8 เรื่องๆ ละ 6 ข้อ รวม 48 ข้อ และได้ผ่านการทดลองใช้แล้ว ผลการวิเคราะห์ระดับความยากและอำนาจจำแนกของแบบสอบปรากฏว่า - เรื่อง ความรับผิดชอบ มีระดับความยากตั้งแต่ 0.48 – 0.80 อำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 – 0.45 - เรื่อง ความมีระเบียบวินัยและการตรงต่อเวลา มีระดับความยากตั้งแต่ 0.48 – 0.68 อำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 – 0.45 - เรื่อง ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ มีระดับความยากตั้งแต่ 0.45 – 0.93 อำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.25 – 0.50 - เรื่อง ความเมตตา กรุณา มีระดับความยากตั้งแต่ 0.65 – 0.85 อำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.30 – 0.50 - เรื่อง ความซื่อสัตย์ สุจริต มีระดับความยากตั้งแต่ 0.50 – 0.73 อำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 – 0.50 - เรื่อง ความมีน้ำใจเป็นธรรมไม่ลำเอียง มีระดับความยากตั้งแต่ 0.38 – 0.60 อำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.25 – 0.55 - เรื่อง ความอดทน อดกลั้น มีระดับความยากตั้งแต่ 0.53 – 0.75 อำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 – 0.75 - เรื่อง ความไม่เห็นแก่ตัว มีระดับความยากตั้งแต่ 0.38 – 0.68 อำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.25 – 0.65 ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของแบบสอบ เท่ากับ 0.95 3. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สาม ที่มีต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน ด้านการละเล่นพื้นเมืองของเด็กภาคเหนือ จำนวน 3 ชุด เครื่องมือที่กล่าวมาทั้งหมด ได้ผ่านการตรวจจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 ท่านแล้ว ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สาม ปีการศึกษา 2527 โรงเรียนบ้านริมใต้ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องละ 27 คน รวม 54 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 1 ห้อง โดยได้มาจากการเลือกห้องเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใกล้เคียงกันจากคะแนนการทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางจริยธรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผู้วิจัยได้ทดลองสอนตัวอย่างประชากรกลุ่มทดลองด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นเมืองของเด็กภาคเหนือและกลุ่มควบคุมด้วยกิจกรรมตามแผนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยทดสอบค่าที (t-test) และคำนวณหาค่าร้อยละ ผลการวิจัย 1. มโนทัศน์ทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สาม ที่เรียนด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นเมืองของเด็กภาคเหนือ กับกิจกรรมตามแผนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สาม ที่มีต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านด้านการละเล่นพื้นเมืองของเด็กภาคเหนือ เป็นดังนี้ การละเล่นพื้นเมืองของเด็กภาคเหนือที่นักเรียนส่วนใหญ่ เคยเล่นได้แก่ “กระต่ายขาเดียว” “ซ่อนไข่แม่เต่า” “กระโดดเชือก” “ม้าก้านกล้วย” จ้ำจี้จ้ำจวด” และ “จุ่มจะหลี้” ส่วนการละเล่นที่ชอบมากที่สุด คือ “ปืนผะลาบ” (ปืนกลก้านกล้วย) การละเล่นพื้นเมืองของเด็กภาคเหนือที่นักเรียนส่วนใหญ่ คิดว่าควรจะนำมาเล่นในสมัยนี้ ได้แก่ “ก้องถบ” “จ้ำจี้จ้ำจวด” และ “โอ-วา-แป๊ะ” ส่วนที่คิดว่าไม่สมควรให้นำมาเล่นในสมัยนี้ ได้แก่ “ชนกว่าง” “ยิงก๋ง” “เล่นไม้งิ้ว” “งัว¬กระทิง” นักเรียนส่วนใหญ่คิดว่า วัสดุธรรมชาติที่สามารถนำมาทำของเล่นพื้นเมือง คือ ไม้ไผ่ และคิดว่าบุคคลที่ได้สอนให้นักเรียนรู้จักการละเล่นพื้นเมือง คือ ปู่และย่า นอกจากนี้ นักเรียนทั้งหมดชอบให้มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน ด้านการละเล่นพื้นเมืองของเด็กภาคเหนือและยังต้องการที่จะช่วยกันทำของเล่นจากวัสดุในท้องถิ่น ตลอดจนจะช่วยสอนการละเล่นพื้นเมืองต่างๆให้แก่เพื่อนๆและน้องต่อไป
Other Abstract: Purposes The purposes of this study were two folds: 1. To compare the moral concepts of prathom suksa three students learning from the activities using the northern children folkplay and the activities designed by the Ministry of Education. 2. To study prathom suksa three students’ opinions concerning the conservation of the Thai culture folklore in the northern children folkplay. Procedures Research instruments which were had been constructed by the researcher were: 1. Eight moral lesson plans which composed of the moral contents in sportsmanship by using the northern children folkplays and the others activities. On the aspect of the evaluation and the follow up, the researcher had constructed a Self-Moral Assessment Form and a Behavior Observation by the classroom teachers. 2. Eight moral concept tests with 6 questions each and had been tried out already. The effects of the test analysis were; on the topic of Responsibility, the level of difficulty was between 0.48-0.80 with a discrimination power of 0.20-0.45 For the Self-discipline and punctual topic, the figures were 0.48-0.68, 0.20-0.45 For the Generosity topic, the figures were 0.45-0.93, 0.25-0.50 For the Kindness topic, the figures were 0.65-0.85, 0.30-0.50 For the Faithfulness topic, the figures were 0.50-0.73, 0.20-0.50 For the Fairness topic, the figures were 0.38-0.60, 0.25-0.55 For the Endurance topic, the figures were 0.53-0.75, 0.20-0.75 For the Lack of Selfishness topic, the figures were 0.38-0.68, 0.25-0.65 A reliability coefficient was 0.95 3. Three questionnaires of prathom suksa three students concerning the conservation of the Thai culture folklore in the northern children folkplay. All of the forementioned instruments had already been examined by seven educational experts. The sample were 54 prathom suksa three students in academic 1984 from Ban-Rim-Tai school under the office of Amphur Mae-Rim Changwat Chieng-Mai Primary Education. They were divided into 2 groups, selected from the 3 classrooms which had closed mean scores and standard deviation scores. Three scores were obtained from the eight moral concept tests. The researcher had taught the experimental group by using the northern children folkplays, the controlled group by using the activities designed by the Ministry of Education. The statistical method for data analysis was the t-test and the percentage. Results 1. The results of this study indicated that the moral concepts of the students learning from the activities using the northern children folkplay and the activities designed by the Ministry of Education were significantly different at the .05 level. 2. The opinions of prathom suksa three students concerning the conservation of the Thai culture folklore in the northern children folkplay found that; The northern children folkplays which most of the students had been played were “Kra-Tai-Ka-Deao”, “Son-Kai-Tao”, “Kra-Dote-Chueg”, “Ma-Kan-Kloue”, “Jum-Jie-Jum-Juard”, “Jum-Ja-Lee” and their most favourite folkplay was “Puen-Pa-Lap” (Puen-Kon_Kan-Kloue). Most of the students thought that the northern children folkplays which should be played at the present time were “Kong-Tob”, “Jum-Jie-Jum-Juard” and “O-Va-Pae” and the ones which should not be played were “Chon-Kwang”, “Ying-Kong”, “Een-Mai-Ngeo” and “Ngoa-Kra-Ting” Most of the students thought that the natural material which should be used for making folkplay toys was bamboos. They also thought that persons who taught them the knowledge of folk plays were their grandparents. Besides this, most of them liked exhibitions about the conversation of the Thai culture folklore in the northern children folkplay. Also, desired to make folkplay toys from the natural materials and to teach their friends and cousins the northern children folkplays.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17393
ISBN: 9745643475
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pannee_Su_front.pdf499.75 kBAdobe PDFView/Open
Pannee_Su_ch1.pdf661.24 kBAdobe PDFView/Open
Pannee_Su_ch2.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
Pannee_Su_ch3.pdf652.15 kBAdobe PDFView/Open
Pannee_Su_ch4.pdf959.98 kBAdobe PDFView/Open
Pannee_Su_ch5.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Pannee_Su_back.pdf6.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.