Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17422
Title: การวิเคราะห์การอ้างถึงของวิทยานิพนธ์สาขาวิชาประชากรศาสตร์
Other Titles: Citation analysis of master's theses on demography
Authors: พรวรรณ โพธิ์แก้ว
Advisors: นวนิตย์ อินทรามะ
สุวัลลีย์ เปี่ยมปิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การอ้างถึงทางบรรณานุกรม
ประชากรศาสตร์
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักที่จะศึกษาประเภท ขอบเขตเนื้อหาวิชา ภาษา อายุ ประเทศผู้ผลิต และศึกษารายชื่อวารสารที่ได้รับการอ้างถึงมากที่สุด ในวิทยานิพนธ์สาขาประชากรศาสตร์ ทั้งนี้โดยวิเคราะห์การอ้างถึงที่ปรากฏในเชิงอรรถ 2756 รายการของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาประชากรศาสตร์ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยของประเทศไทย ตั้งแต่ ปีการศึกษา 2511 ถึง 2524 จำนวน 89 เล่ม จำนวนวิทยานิพนธ์ 89 เล่มนี้ เป็นของแผนกวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 79 เล่ม ของคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 3 เล่ม และเป็นของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล 7 เล่ม ผลการวิจัยเสนอเป็นค่าร้อยละ สามารถสรุปได้ดังนี้ คือ หนังสือเป็นเอกสารที่ผู้เรียบเรียงวิทยานิพนธ์อ้างถึงมากที่สุด เอกสารที่ได้รับการอ้างถึงประมาณร้อยละ 90 ของการอ้างถึงทั้งหมด เป็นเอกสารในเนื้อหาสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะหมวด H ตามการจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ส่วนที่เหลือเป็นการอ้างถึงเอกสารในหมวดอื่นๆ ในการวิเคราะห์ภาษาของเอกสารที่ได้รับการอ้างถึง ปรากฏว่า เป็นการอ้างถึงเอกสารภาษาอังกฤษ ประมาณร้อยละ 63 ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 37 เป็นการอ้างถึงเอกสารภาษาไทย เอกสารที่ได้รับการอ้างถึงเป็นเอกสารใหม่ๆ ที่มีอายุไม่เกิน 10 ปี มีประมาณร้อยละ 77 และเอกสารที่ได้รับการอ้างเป็นเอกสารที่ตีพิมพ์ในประเทศไทยมากที่สุด มีประมาณร้อยละ 47 จากการวิเคราะห์การอ้างถึงวารสาร จำนวน 622 รายการ พบว่า ในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ 71 เป็นการอ้างถึงวารสารเพียง 18 รายการ วารสารภาษาอังกฤษที่ได้รับการอ้างถึงมากที่สุด ได้แก่ Population Studies ส่วนวารสารภาษาไทยที่ได้รับการอ้างถึงมากที่สุด ได้แก่ วารสารประชากรศึกษา ถึงแม้ผลการวิจัยนี้จะแสดงถึงการใช้เอกสารโดยประมาณของผู้เรียบเรียงวิทยานิพนธ์เพียงกลุ่มเดียวก็ตาม แต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่องานของห้องสมุดได้หลายประการ เช่น ช่วยเป็นแนวทางสำหรับบรรณารักษ์ในการพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด โดยเฉพาะในการเลือกสรรและจัดหา ทั้งยังสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดเสนอบริการสนเทศที่เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้บริการ เนื่องจากการวิจัยครั้งนี้ มีขอบเขตเฉพาะการวิเคราะห์การอ้างถึงในวิทยานิพนธ์สาขาประชากรศาสตร์ ที่เปิดสอนระดับปริญญามหาบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยตั้งแต่ปีการศึกษา 2511 ถึง 2524 เท่านั้น ดังนั้นควรมีการวิเคราะห์การอ้างถึงของวรรณกรรมทางประชากรศาสตร์ประเภทอื่นๆด้วย เพราะจะช่วยชี้ให้เห็นถึงวิธีการวิเคราะห์การอ้างถึงที่เที่ยงตรงและมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: The main aim of this study is to examine the citations from master’s theses on Demography in relations to the form, subject area, language, date, country of origin and the journal title mostly cited. A total of 2,756 citations from the footnotes of 89 master’s theses submitted during 1968 to 1981 at the Thai universities having master degree program on Demography are analyzed. Of the 89 master’s theses, 79 were from Graduate School of Sociology and Anthropology, Chulalongkorn University, 3 were from School of Applied Statistics, National Institute of Development Administration, 7 were from Graduate School of Mahidol University. The findings of this study can be summarized in percentage as follows:- Books were the most common form of literature used. 90% of the cited books were in class H classified by LC in social sciences, the rest were in other classes. 63% of the cited materials were in English language and the other 37% were in Thai language. 77% of the citations were to materials published within the previous 10 years. 47% of the materials were published in Thailand. Of the 622 citations to periodicals, 71% were to materials in 18 journal titles. Population Studies, the English journal, and Journal of Population Education, the Thai journal received most citations. Through this study was conducted to determine the characteristics of the literature cited and presumably used by a selected group of researchers, the findings have several implications for library work, such as serving as a guideline in library resources development, especially in the selection and acquisition policies, as well as in providing better information services to the library users. Since this study was limited to the citations from master’s theses on Demography submitted during 1968 to 1981 at the Graduate Schools in Thai universities, further studies on citation analysis in Demography from other sources are recommended. These studies will likely identify the valid and effective methods and techniques of citation analysis.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17422
ISBN: 9745620114
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornwan_Po_front.pdf316.69 kBAdobe PDFView/Open
Pornwan_Po_ch1.pdf366.65 kBAdobe PDFView/Open
Pornwan_Po_ch2.pdf533.53 kBAdobe PDFView/Open
Pornwan_Po_ch3.pdf332.02 kBAdobe PDFView/Open
Pornwan_Po_ch4.pdf550.62 kBAdobe PDFView/Open
Pornwan_Po_ch5.pdf318.53 kBAdobe PDFView/Open
Pornwan_Po_back.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.