Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17640
Title: บทบาทของผู้บังคับบัญชาด้านการติดต่อสื่อสารที่มีผลต่อขวัญ ของผู้ใต้บังคับบัญชาในหน่วยที่ปฏิบัติภารกิจที่เสี่ยงต่ออันตราย และตั้งอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร : การศึกษาเฉพาะกรณีหน่วยกำลัง ระดับหมวดตำรวจตะเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต 2
Other Titles: The communicative role of commanders resulting in the morale of their subordinate in risk-prone units situated in harsh areas : a case study of border patrol police platoons in the second area of the border patrol police command
Authors: ลิขิต สุทธะพินทุ
Advisors: ศิริชัย ศิริกายะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sirichai.S@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสาร
ขวัญในการทำงาน
การสื่อสารในองค์การ
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะศึกษาถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการติดต่อสื่อสารของผู้บังคับหมวดตำรวจตะเวนชายแดนกับขวัญของกำลังพลภายในหมวดตำรวจตะเวนชายแดนซึ่งปฏิบัติภารกิจที่เสี่ยงต่ออันตราย และมีที่ตั้งในพื้นที่ทุรกันดารของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 2 ตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ หมวดตำรวจตระเวนชายแดนจำนวน 6 หมวด โดย 3 หมวดแรกเป็นหมวดซึ่งมีที่ตั้งบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดหรือภาค 3 หมวดหลังเป็นหมวดซึ่งมีที่ตั้งบริเวณแนวชายแดนด้านสาธารณรัฐกัมพูชา ทั้ง 6 หมวดนี้ถือว่าเป็นหมวดซึ่งต้องปฏิบัติภารกิจที่เสี่ยงต่ออันตรายและมีที่ตั้งในพื้นที่ทุรกันดารของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 2 ตัวแปรหลักที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือการติดต่อสื่อสารกับขวัญ ในเรื่องของการติดต่อสื่อสารนั้น ผู้วิจัยได้กำหนดขึ้นโดยรวบรวมมาจากคณะผู้ชำนาญการตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 11 ท่าน รวมทั้งจากคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา และประสบการณ์ของผู้วิจัยเอง ส่วนในเรื่องขวัญ ผู้วิจัยได้รวบรวมผลการวิจัยต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะซึ่งนักวิจัยทั้งหลายได้เคยรายงานไว้ก่อนแล้ว ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งได้มาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 183 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 87.14 ของกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการ ในการวิจัยตามหัวข้อนี้ ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานของการวิจัยไว้ 6 ข้อคือ 1. เงินเดือนและเบี้ยเลี้ยง การบริการด้านสวัสดิการ การฝึก การเยี่ยมเยียนของผู้บังคับบัญชา และการติดต่อสื่อสารของผู้บังคับหมวด มีความสัมพันธ์กับขวัญของผู้ใต้บังคับบัญชา (หรือกำลังพล) ในหน่วยกำลังระดับหมวดของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 2 ซึ่งปฏิบัติภารกิจที่เสียงต่ออันตรายและตั้งอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร 2. การติดต่อสื่อสารของผู้บังคับหมวดกับกำลังพลเมื่อจำแนกตามลักษณะที่ใช้คือการติดต่อสื่อสารอย่างเป็นทางการ และการติดต่อสื่อสารไม่เป็นทางการในหน่วยกำลังระดับหมวดดังกล่าวมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 3. การติดต่อสื่อสารของผู้บังคับหมวดกับกำลังพล เมื่อจำแนกตามวิธีการที่ใช้ทั้ง 4 วิธีคือ กลุ่มจัดระเบียบ กลุ่มไม่จัดระเบียบ วิธีตัวต่อตัว และวิธีถ่ายทอด ในหน่วยกำลังระดับหมวดตำรวจตระเวนชายแดนดังกล่าวนั้นไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 4. เมื่อจำแนกกำลังพลออกเป็นกลุ่มต่างๆ ตามระดับขวัญ คือกลุ่มที่มีขวัญระดับสูง ระดับปานกลาง และระดับต่ำแล้ว แต่ละกลุ่มจะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในลักษณะต่อไปนี้ ก. กลุ่มที่มีระดับขวัญสูง ปานกลาง และต่ำ จะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างลักษณะที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารทั้ง 2 แบบคือ แบบเป็นทางการกับแบบไม่เป็นทางการของผู้บังคับหมวด ข. กลุ่มที่มีระดับสูง ปานกลาง และต่ำ จะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างวิธีการที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารทั้ง 4 วิธี อันได้แก่ วิธีที่ใช้กับกลุ่มจัดระเบียบ กลุ่มไม่จัดระเบียบ วิธีตัวต่อ และวิธีถ่ายทอด 5. ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในการติดต่อสื่อสารเมื่อจำแนกตามวิธีการและลักษณะที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารรวมทั้งขวัญระหว่างหมวดตำรวจตระเวนชายแดนซึ่งตั้งในบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดหรือภาค กับซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณแนวชายแดน 6. การติดต่อสื่อสารเมื่อจำแนกตามวิธีการและลักษณะที่ใช้ในรูปแบบแล้วการติดต่อสื่อสารแต่ละรูปแบบนั้นจะเป็นตัวแปรซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับขวัญของกำลังพลตำรวจตระเวนชายแดนในระดับที่แตกต่างกัน การทดสอบสมมติฐานดังกล่าว ปรากฏว่าสมมติฐานข้อ 2, ข้อ 3, ข้อ 4 และข้อ 6 ได้รับการยอมรับ สำหรับสมมติฐานข้อ 1 พบว่าการฝึกและการติดต่อสื่อสารของผู้บังคับหมวดเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับขวัญของกำลังพล ส่วนสมมติฐานข้อที่ 5 พบว่าวิธีการติดต่อสื่อสารที่ใช้กับกลุ่มจัดระเบียบในลักษณะที่ไม่เป็นทางการ และวิธีการติดต่อสื่อสารที่ใช้แบบถ่ายทอดในลักษณะที่ไม่เป็นทางการเช่นกันเท่านั้นที่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างหมวดตำรวจตระเวนชายแดนซึ่งมีที่ตั้งต่างกัน นอกจากนั้น ผู้วิจัยพบว่าวิธีการติดต่อสื่อสารที่ใช้กับกลุ่มจัดระเบียบในลักษณะที่เป็นทางการของผู้บังคับหมวดมีความสำคัญและมีความสารถในการที่จะอธิบายขวัญของกำลังพลได้มากที่สุด ส่วนวิธีการติดต่อสื่อสารที่ใช้แบบถ่ายทอดในลักษณะที่เป็นทางการจะมีความสามารถในการอธิบายขวัญของกำลังพลได้น้อยที่สุด จากผลการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยได้เสนอแนะให้ใช้วิธีการติดต่อสื่อสารที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่ผู้บังคับหมวดอันจะมีผลทำให้ขวัญของตำรวจตะเวนชายแดนเขต 2 อยู่ในระดับที่ดีตลอดไป
Other Abstract: This study aimed at finding the relationship between the communicative role of the border patrol police commanders and the morale of their force within the platoons under risk-prone mission, situated in harsh-conditioned areas in the Second Area of the Border Patrol Police Command. The sample selected for use in this study was six platoons of border patrol police; the first three located around provinces' or regions' adjacents; the last three stationed along the Kampuchea border line. These six platoons hold the top six ranks of the most risk-prone platoons situated in harsh-conditioned areas in the Second Area of the Border Patrol Police Command. With regard to the communication aspects, the researcher arrived at forming the variables through 11 border patrol police specialists, with aditional Suggestion from his academic advisor in conjunction with his own past experience. With regard to the morale aspects, the researcher accumulated them from previous research reports, specifically done or morale tonics, for use as guidelines in this study. Data were collected through questionnaires, especially 183 most complete ones or 87.14% of the sample group. The research was based on the following six hypotheses: 1. Salaries and per diem, welfare service, training, personal visits by commanders and communications from the platoon commanders are relevant to the morale of the subordinates in the risk-prone units situated in harsh-conditioned areas. 2. The communication of the platoon commanders, charac¬terized by the modes of communication, formal and informal, in the platoon units, are statistically significant. 3. The communication of the platoon commanders toward their subordinates, characterized by the four methods of communication, namely: organized group communication, unorganized group communication, face-to-face communication, and two-step flow of communication, in the border patrol police platoons, are not statistically significant. 4. If divided according to the levels of morale (high, middle, low), there will be statistically significant differences, as follows: a) there are differences between the modes of formal and informal communications from the platoon commanders toward their subordinates of high, middle and low morale. b) There are statistically significant differences among the four methods of communication, namely: organized group, unorganized group, face-to-face, and two-step flow communications. 5. There are no statistically significant differences in the modes and the methods of communication between the Border Patrol Police Platoons situated between the provinces' or regions' adjacents and situated along the Border line. 6. Characterized by the methods and modes of communication, each communication pattern is related to the morale of the Border Patrol Police at different levels of importance. According to the testing of the hypotheses, hypotheses No.2, No.3, No.4 and No.6 were accepted. However, the first hypotheses proved that communication of the platoon commanders significantly correlated only with morale of the subordinates. Also, for the fifth hypotheses, the method of the informal organized group communication and the method of the informal two-step flow of communication are. Statistically significant among the different Border Patrol Police platoons located .in these two areas. In addition, the researcher found that the formal organized group communication of the platoon commanders are of basic importance and are most indicative of the morale level of the force unit. The least indicative of the morale is the formal two-step flow of communication method. Based on the results of this study, the researcher suggested the proper use of communication by the platoon commanders in order to result in upholding the morale of the Border Patrol Police of the Second Area of the Border Patrol Police Command.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17640
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Likhit_Su_front.pdf448.27 kBAdobe PDFView/Open
Likhit_Su_ch1.pdf954.86 kBAdobe PDFView/Open
Likhit_Su_ch2.pdf602.21 kBAdobe PDFView/Open
Likhit_Su_ch3.pdf525.61 kBAdobe PDFView/Open
Likhit_Su_ch4.pdf538.07 kBAdobe PDFView/Open
Likhit_Su_ch5.pdf494.58 kBAdobe PDFView/Open
Likhit_Su_back.pdf925.89 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.