Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17778
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกาญจนา นิมมานเหมินท์-
dc.contributor.authorเพิ่มบุญ แก้วเขียว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-11T12:16:31Z-
dc.date.available2012-03-11T12:16:31Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17778-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractการเสียภาษีอากรถือว่าเป็นหน้าที่ที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งของชนชาวไทย ดังที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน พ.ศ. 2521 มาตรา 50 ว่า “บุคคลมีหน้าที่เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ” ด้วยเหตุนี้ ถ้าบุคคลใดหลบหนีหรือหลีกเลี่ยงไม่ยอมชำระภาษีอากร บุคคลนั้นจะต้องได้รับโทษตามบทบัญญัติของกฎหมาย อย่างไรตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสถิติต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2524 จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ อาทิเช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ กองทุนเงินทดแทนของกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กองหักภาษี ณ ที่จ่าย กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง กระทรวงกลาโหม รวมตลอดทั้งจากสำนักงานสรรพากร เขตพื้นที่ 6 และจากรายงานประจำปีต่าง ๆ ของกรมสรรพากร ปรากฏว่า ผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานเฉพาะที่อยู่ในความคุ้มครองของกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร และ 5 จังหวัดใกล้เคียง ซึ่งมีเงินได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ต้องยื่นแบบแสดงรายการตอนสิ้นปีไม่ว่าจะมีภาษีต้องเสียหรือไม่ก็ตาม (โดยพิจารณาจากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของลูกจ้างไร้ฝีมือตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยเปรียบเทียบกับเกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้แห่งประมวลรัษฎากร) ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการต่อกรมสรรพากรจำนวนประมาณ 1.4 แสนคน โดยในลูกจ้างจำนวนดังกล่าวอาจมีลูกจ้างจำนวนหนึ่งมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เพราะเนื่องจากนายจ้างฝ่าฝืนกฎหมายไม่ยอมจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำตามกำหนดของประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานถือว่าเป็นผู้ที่หลีกเลี่ยงภาษีได้ยาก เพราะจะต้องถูกนายจ้างหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ตามผลของการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่ทำให้ผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานดังกล่าวไม่ยื่นแบบแสดงรายการต่อกรมสรรพากรโดยใช้วิธีออกแบบสอบถาม การสัมภาษณ์และการสังเกต ตลอดจนข้อมูลเอกสารต่าง ๆ สามารถจำแนกสาเหตุได้ดังต่อไปนี้ 1. ด้านการศึกษาของผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน โดยปรากฏว่าบรรดาลูกจ้างตามโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กและร้านค้าย่อยต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะมีการศึกษาโดยเฉลี่ยอยู่ในชั้นประถมศึกษา ซึ่งไม่เคยได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการชำระภาษีอากรหรือกฎหมายภาษีอากรมาก่อน แต่อย่างใด จึงทำให้ไม่สามารถเข้าใจและเสียภาษีอากรได้อย่างถูกต้องตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้แห่งประมวลรัษฎากร 2. ด้านเกี่ยวกับทัศนคติของผู้เสียภาษีต่อรัฐบาลและต่อกรมสรรพากร ผู้เสียภาษีส่วนหนึ่งมีความรู้สึกในทางต่อต้านการจัดเก็บภาษีของรัฐบาลและกรมสรรพากร ทั้งนี้ เนื่องจากการสร้างบรรยากาศในการสร้างความสมัครใจและกระตุ้นความสำนึกในการเสียภาษีให้เกิดขึ้นแก่ผู้เสียภาษีโดยภาครัฐบาลมีไม่เพียงพอ โดยการประชาสัมพันธ์หรือชี้แจ้งให้ประชาชนได้เห็นหรือตระหนักในความสำคัญของผลประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรของรัฐบาลว่าได้ใช้พัฒนาประเทศในด้านใดบ้างยังมีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ส่วนกรณีของกรมสรรพากรนั้นก็มีผู้เสียภาษีบางส่วนมีความรู้สึกไม่พอใจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สรรพากรบางราย ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้ผู้มีเงินได้บางส่วนทั้งที่ได้ถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายแล้วไม่ยอมมาเสียภาษีอากรต่อกรมสรรพากร 3. ด้านเกี่ยวกับบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากความไม่ชัดแจ้งในบทบัญญัติบางมาตราแห่งประมวลรัษฎากรและระเบียบที่ประกาศใช้บางฉบับ เช่น ปัญหาการตีความการหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการจ้างแรงงานระหว่างศาลยุติธรรมกับกรมสรรพากร และปัญหาการกำหนดรายรับขั้นต่ำของกิจการค้าบางประเภทที่ใช้วิธีรายจ่ายกำหนดรายรับ ทำให้เกิดความไม่แน่นอนในการเสียภาษี ดังนั้น จึงมีผู้เสียภาษีบางส่วนไม่ได้มาชำระภาษีอากรต่อกรมสรรพากรตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร 4. ด้านการบริการงานของกรมสรรพากร เนื่องจากการสร้างความสมัครใจในการเสียภาษีของผู้เสียภาษีโดยกรมสรรพากรยังอยู่ในระดับไม่เพียงพอ เพราะได้มีข้อจำกัดหลายประการ เช่น งบประมาณ จำนวนเจ้าหน้าที่ ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสมกับปริมาณของงาน เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประชาสัมพันธ์ที่ยังดำเนินการไม่เต็มที่และต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การบริหารงานในด้านการจัดเก็บภาษีอากรของกรมสรรพากรยังมีประสิทธิภาพไม่สูงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้น จึงทำให้มีผู้เสียภาษีอากรบางส่วนยังไม่ได้ชำระภาษีหรือสามารถหลบหนีการชำระภาษีอากรตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร-
dc.description.abstractalternativePaying tax is taken into account as one of the important duties of thai people. Section 50 of the Thai Constitution of 1978 provides that “Person has to pay the tax and duty as provided by law.” So whoever evades payment of the tax and duty shall be punished by law. However, it was discovered from the analysis of statistical data of the reliable source such as the National Statistic office, office of the Compensation Fund, Department of the Commercial Registration, the Witholding and Refund Devision of the Revenue department, the 6 th Regional that about 140,000 people who had income derived by virtue of personal service in the controlled area of the Compensation Fund and lived in Bangkok and five nearby province did not file with the Revenue Department a return of income received by them. Although some of them may have assessable income lower than the minimum limit of tax exemption because the employers did not pay the minimum wage according to the regulation of the Ministry of Interior. This oppose to the principle that it is difficult for the tax payers whose income derived by virtue of personal service to avoid paying tax because the income must be deducted at source at each time of payment according to the Revenue Code. The methods used in collecting data in order to find out the causes of the problem why the tax payers who have income from personal service did not file a return of income received by them with the Revenue Department are distribution of questionnaire, interview and observation including documemtary analysis. The causes of this problem can be classified as the following : 1. The standard of education of the tax payers Most of the tax payers in small factories and shops have low standard of education. They have only primary education. They have never learnt how to pay tax and have no idea about tax law. So they could not understand it and could not pat tax correctly in accordance with the provisions of the Revenue Code. 2. The attitude of the tax payers to the government and the Revenue department Some tax payers have the attitude against the tax administration of the government and the Revenue department. The publication of the government and the Revenue department to encourage the tax payers to pay tax and to make them realized the important and the useful purpose of taxation in developing the country is insufficient 3. The application and interpretation of the law of taxation The ambiguity of some provisions of the Revenue Code and some regulations cause the problem of legal interpretation. For example, in some cases of withholding tax from personal service income, the courts and the Revenue Department have different approach in the interpretation of the law. Furthermore, the fixing of the minimum gross receipts in some business causes the uncertainty to the tax payers and default of tax payment. 4. Tax administration of the Revenue Department The Revenue Department has not built up enough willingness of the tax payers to pay tax because it lacks of fund. The officials and equipments are not in proportion to the quantity of work. The public relation is insufficient and not in continuing form. These cause the inefficiency in tax administration of the Revenue Department. As a result, some tax payers still have not paid tax they can avoid paying tax as provided by the Revenue Code.-
dc.format.extent762522 bytes-
dc.format.extent650008 bytes-
dc.format.extent544154 bytes-
dc.format.extent1210558 bytes-
dc.format.extent1553810 bytes-
dc.format.extent601233 bytes-
dc.format.extent1665189 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectประมวลรัษฏากรen
dc.subjectภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาen
dc.subjectอากรen
dc.subjectภาษีเงินได้en
dc.titleปัญหาและแนวทางในการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีทางตรงในประเทศไทย กรณีภาษีทางตรงในประเทศไทยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากการจ้างแรงงานen
dc.title.alternativeProblems and propositions to improve direct tax administration in Thailand : income tax from personal serviceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Permboon_Ga_front.pdf744.65 kBAdobe PDFView/Open
Permboon_Ga_ch1.pdf634.77 kBAdobe PDFView/Open
Permboon_Ga_ch2.pdf531.4 kBAdobe PDFView/Open
Permboon_Ga_ch3.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Permboon_Ga_ch4.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Permboon_Ga_ch5.pdf587.14 kBAdobe PDFView/Open
Permboon_Ga_back.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.