Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17798
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยพร ภู่ประเสริฐ-
dc.contributor.authorธัญยธรณ์ สวัสดิวงษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-03-12T11:41:59Z-
dc.date.available2012-03-12T11:41:59Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17798-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractศึกษาการใช้ไฮโดรไซโคลนแบบอนุกรมและไฮโดรไซโคลนแบบอนุกรม ที่ติดตั้งกริทพอตเป็นหน่วยบำบัดขั้นต้นในการผลิตน้ำประปา ที่สถานีสูบน้ำดิบสำแล จังหวัดปทุมธานี โดยศึกษาถึงประสิทธิภาพในการแยกของแข็งแขวนลอย และผลของพารามิเตอร์ต่างๆ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ได้แก่ ความดันจ่ายเข้า ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของไฮโดรไซโคลน และเวลาที่ใช้ในกริทพอตของไฮโดรไซโคลนทั้ง 2 แบบ และเปรียบเทียบกับไฮโดรไซโคลนตัวเดียวจากผลงานที่ผ่านมา ผลการวิจัยพบว่า ไฮโดรไซโคลนแบบอนุกรมที่ไม่ได้ติดตั้งกริทพอตมีค่าอัตราส่วนการแบ่งอัตราการไหล (Flow split, Rf) สูงมาก ส่งผลให้ได้ปริมาณน้ำที่ผ่านการบำบัดต่ำ จึงไม่เหมาะจะนำไปใช้งานจริง ส่วนไฮโดรไซโคลนแบบอนุกรมที่ติดตั้งกริทพอตมีประสิทธิภาพไม่สูงนัก โดยมีค่าสูงสุดเท่ากับ 30.89% ใกล้เคียงกับไฮโดรไซโคลนตัวเดียว แต่สามารถแยกของแข็งแขวนลอยที่มีขนาดใหญ่ออกที่ทางออกด้านล่างได้เกือบทั้งหมด และยังให้ความเข้มข้นของของแข็งแขวนลอยที่แยกได้สูงโดยเฉลี่ย 2,158 มก./ล. นอกจากนี้ยังพบว่า ไฮโดรไซโคลนแบบอนุกรมเส้นผ่านศูนย์กลาง 50 และ 10 มม. ที่ติดตั้งกริทพอต มีประสิทธิภาพการแยกของแข็งแขวนลอยสูงที่สุด ใกล้เคียงกับไฮโดรไซโคลนตัวเดียว และการใช้ไฮโดรไซโคลนขนาด 50 มม. ยังช่วยป้องกันการอุดตันที่ไฮโดรไซโคลนขนาด 10 มม. ได้เป็นอย่างดี และเมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ลดลง โดยคำนวณจากข้อมูลการผลิตน้ำประปาจริง พบว่า สามารถลดปริมาณสลัดจ์ได้สูงสุด 5.85 ตัน/วัน และลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดสลัดจ์สารส้มได้สูงสุดถึง 55,614 บาท/วัน ดังนั้นไฮโดรไซโคลนแบบอนุกรมที่ติดตั้งกริทพอต จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เป็นหน่วยบำบัดขั้นต้นในการผลิตน้ำประปา เนื่องจากมีขนาดเล็ก ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง และยังสามารถช่วยลดสลัดจ์จากสารส้มที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นสลัดจ์ที่บำบัดได้ยากอีกด้วยen
dc.description.abstractalternativeUsing hydrocyclone in series and hydrocyclone equipped with grit pot in series as a pre-treatment unit in drinking water treatment process at Samlae pumping station Prathumthani, were studied in term of suspended solid separation efficiency and effect of operating parameters such as inlet pressure, diameter of hydrocyclone and grit pot operating time. The results were compared with single hydrocyclone from other research. The result showed that hydrocyclone in series had a very high flow split (Rf). So it is not possible for applying in the real operation. While the hydrocyclone equipped with grit pot in series showed, in term of solid separation efficiency, slightly low efficiency as 30.89%, which is nearly the same value as a single hydrocyclone. Moreover, the results showed that it can separate most large size of solid. This hydrocyclone also showed a high solid concentration, average 2,158 mg/L. Moreover, this research found that the highest efficiency of hydrocyclone equipped with grit pot in series was hydrocyclone diameter 50 and 10 mm. And, using hydrocyclone diameter 50 mm can prevent in hydrocyclone 10 mm from clogging problem. In term of expense, calculated from the data at Samsaen water treatment plant, this unit can reduce total quantity of sludge and alum usage. The amount of sludge decreased was 5.85 ton/day which can reduce the expense of sludge treatment 55,614 baht/day. So, hydrocyclone equipped with grit pot in series is a good choice for using as a pre-treatment unit in drinking water treatment process due to its compactness. In addition, it can also decrease the amount of coagulant usage and chemical sludge which is very hard to dispose.en
dc.format.extent3634788 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.349-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectประปา-
dc.subjectน้ำประปา-
dc.subjectเครื่องแยก-
dc.subjectWater-supply-
dc.subjectSeparators (Machines)-
dc.titleการใช้ไฮโดรไซโคลนแบบอนุกรมและไฮโดรไซโคลนที่ติดตั้งกริทพอตแบบอนุกรมเป็นหน่วยบำบัดขั้นต้นในการผลิตน้ำประปาen
dc.title.alternativeApplication of hydrocyclone in series and hydrocyclone equipped with grit pot in series as a pre-treatment unit in drinking water treatment processen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChaiyaporn.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.349-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanyathorn_sa.pdf3.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.