Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17933
Title: กฎหมายเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อบุคคล ที่เกิดจากอุบัติเหตุทางยานยนต์
Other Titles: Law concerning compensation for personal injuries caused by motor vihicle accidents
Authors: วันชัย ศศิโรจน์
Advisors: สุษม พัฒนะศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ละเมิด
ค่าสินไหมทดแทน
ค่าทดแทน
กฎหมายประกันภัย
ค่าเสียหาย, การชดใช้
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบัน ปัญหาเกี่ยวกับอุบัติเหตุทางยานยนต์ ซึ่งก่อความเสียหายแก่บุคคลและทรัพย์สินนับว่า เป็นปัญหาใหญ่อันหนึ่งในประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากในปีหนึ่งๆ มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต รวมทั้งทรัพย์สินเสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุทางยางยนต์จำนวนมาก ในกรณีที่เป็นความเสียหายต่อบุคคล ผู้บาดเจ็บหรือทายาทของผู้เสียชีวิตจะได้รับความเดือดร้อนในทางการเงินอย่างมาก โดยเฉพาะในกรณีที่บาดเจ็บหรือเสียชีวิตเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัวเนื่องจากระหว่างที่บาดเจ็บหรือเสียชีวิตนั้น ผู้บาดเจ็บจำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และเสียค่าใช้จ่ายในครอบครัว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนดังกล่าวนี้ จึงจำเป็นต้องให้ผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และได้รับโดยรวดเร็วในจำนวนที่พอเพียงกับความเสียหายที่เขาได้รับ แต่ในปัจจุบันการที่ผู้เสียหายจะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับกฎหมายเกี่ยวกับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่ใช้บังคับอยู่ ซึ่งก็คือกฎหมายละเมิด และกฎหมายอื่นบางฉบับซึ่งบัญญัติถึงการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเมื่อเกิดบาดเจ็บหรือทุพพลภาพ จากการวิจัยเอกสาร ผู้เขียนพบว่า ระบบกฎหมายไทยในปัจจุบันเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายทดแทนแก่ผู้เสียหายยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรในอันที่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เสียหายได้รับใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างเพียงพอ และไม่อาจป้องกันหรือขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุทางยนต์ได้ ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น ระบบการนำคดีไปสู่ศาลที่ยุ่งยากและเสียเวลา ตัวบทกฎหมายที่ใช้บังคับคงใช้หลักความรับผิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ภาวะทางเศรษฐกิจและปัญหาการละเลยต่อการควบคุมการใช้ยานพาหนะ ในต่างประเทศได้มีการพยายามพัฒนาระบบกฎหมายที่ใช้บังคับเกี่ยวกับกรณีอุบัติเหตุทางยานยนต์ไปอย่างมากมายหลายรูปแบบด้วยกัน ทั้งในทางบัญญัติกฎหมายใหม่ใช้หลักความรับผิดโดยไม่มีความผิด การออกกฎหมายบังคับให้มีการประกันภัยความรับผิดหรือประกันภัยค่าสินไหมทดแทน เป็นต้น ในวิทยานิพนธ์เล่มนี้ จะได้กล่าวถึงการพัฒนากฎหมายดังกล่าวของกลุ่มประเทศ Common Law, Civil Law, Nordic Law และ Socialist Law และชี้ให้เห็นวิวัฒนาการ เหตุผลเบื้องหลัง ตลอดจนความต่างกันของโครงการหรือกฎหมายที่มีการพยายามเสนอไว้ เพื่อแก้ปัญหาการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีอุบัติเหตุทางยานยนต์ ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงข้อดีข้อเสีย อุปสรรคการใช้บังคับและที่สุด ผู้เขียนจะได้นำมาเสนอแนะแนวทางแก้ไขรูปแบบของกฎหมายที่เกี่ยวกับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีในประเทศไทยต่อไป
Other Abstract: Today, motor vehicle accident causing damage to body and property becomes one of big problems in Thailand. This can be seen from the fact that there have been several injured and dead persons and damaged property caused by motor vehicle accident each year. In case of damage arising against bodies, the injured persons or the deceased's heirs will be seriously financially damaged, especially if the injured or the deceased are one who support their family. Since the injured person has to be responsible for medical treatment and other expenses for his family during his injury or prior to his death, he should be entitled to receive reimbursement of his expenses and compensation quickly and in such an enough amount that compensation can cover his injury. Presently, the problem whether the injured person will receive enough compensation depends on the enforcing laws of damages, that is to say the law of torts and other laws concerning compensation made to the injured persons, From this documentary research, the writer had found that such laws concerning compensation are not effective enough to com¬pensate the injured persons and to prevent or eliminate problems of motor vehicle accident because of many factors, e.g. troublesome procedure in initiating the dispute to the court, existing legal provisions the principle of liability with intent or negligence, economic situation and neglected control of motor vehicle. In foreign countries, attempt has been made to develop laws concerning motor vehicle accident in many type, namely enacting new laws applying "liability without fault" rule or enacting new laws with compulsory insurance. In this thesis, development of such laws in common law, civil law, Nordic law and socialist law countries will be explained. Rationale and differences between one type and another solving problems of motor vehicle accident will be pointed out in order to analyse their adventages and disadvantages, obstacles, and enforcement. Finally, the writer will suggest or propose some amendments to the law of Thailand concerning motor vehicle accident.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17933
ISBN: 9745611948
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanchai_Sa_front.pdf469.67 kBAdobe PDFView/Open
Wanchai_Sa_intro.pdf370.74 kBAdobe PDFView/Open
Wanchai_Sa_ch1.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_Sa_ch2.pdf6 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_Sa_ch3.pdf487.23 kBAdobe PDFView/Open
Wanchai_Sa_back.pdf367.39 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.