Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1796
Title: การศึกษาการดำเนินคดียาเสพติดตามระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
Other Titles: The study on narcotic cases under legal system and judicial process
Authors: ไชยยศ เหมะรัชตะ
สุรพล ไตรเวทย์
ปิ่น ศรีเมือง
เชิดชู รักตบุตร์
Email: Chaiyos.H@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชากฎหมายวิธีพิจารณาและธรรมนูญศาล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: กฎหมายยาเสพติด
การพิจารณาและตัดสินคดี
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่เกิดจากผู้กระทำความผิดในลักษณะต่าง ๆ กัน คือ ผู้ค้าหรือผู้จำหน่าย ซึ่งอาจเป็นนายทุนหรือผู้ค้ารายย่อย ผู้ผลิตและผู้เสพ ผู้ที่รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาจึงอาจมองการแก้ไขปัญหาในลักษณะเน้นไปในแนวทางที่ตนรับผืดชอบอยู่โดยตรง เช่น แพทย์ก็มุ่งถึงเรื่องการให้การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปรามจะแสวงหามาตรการ และวิธีการปราบปรามที่มีประสิทธิภาพ เจ้าหน้าที่ด้านการศึกษา จะเห็นว่าด้านการป้องกันเป็นสิ่งสำคัญ นักรัฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ นักสังคมสงเคราะห์ และผู้รับผิดชอบในการแก้ไข ปัญหาสังคม อาจเห็นว่าวิธีการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นแนวทางที่น่าจะแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งได้พิจารณานำไปดำเนินการแล้ว ในการควบคุมพืชเสพติดและส่งเสริมการปลูกพืชทดแทนสำหรับชาวไทยภูเขา เป็นต้น แม้ว้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหายาเสพติด จะได้ยอมรับความสำคัญของมาตรการต่าง ๆ ดังกล่าว และประมวลเข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นเครื่องมืออันมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัยหายาเสพติดอันร้ายแรงก็ตาม ก็ไม่อาจมองข้ามความสำคัญของมาตรการกฎหมายที่ใช้บังคับเพื่อการดำเนินคดี และการดำเนินคดีตามบทกฎหมายได้ตราบเท่าที่บุคคลบางจำพวก เช่น นายทุนผู้ผลิต หรือผู้จำหน่าย ยังมีบทบาทสำคัญ ในการก่อปัญหายาเสพติดให้แก่สังคมและประเทศชาติ การศึกษาการดำเนินคดียาเสพติดตามระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เป็นการศึกษาเพื่อให้การแก้ไขปัญหายาเสพติด ในด้านปราบปรามสามารถดำเนินการได้สมประโยชน์ตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมที่ปรากฏเป็นบทกฎหมาย รวมทั้งศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินคดีด้วย เพราะแม้จะมีมาตรการกฎหมายหรือบทกำหนดโทษที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพเพียงใด หากการดำเนินคดีไม่ราบรื่น หรือมีอุปสรรคด้วยประการต่าง ๆ อันเป็นเหตุไม่สามารถลงโทษผู้กระทำความผิดได้ตามกฎหมายแล้ว ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในลักษณะต่างๆ ก็จะสามารถพระทำความผิดได้ตามปกติต่อไปอีก และการแก้ไขปัญหายาเสพติดในด้านอื่น เช่น ป้องกัน หรือบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ แม้จะมีแผนงาน โครงการ และการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ ก็จะอยู่ในลักษณะ "ถมไม่เต็ม" ทั้งนี้เพราะการแพร่ระบาดของยาเสพติด โดยผู้กระทำความผิดที่รอดพ้นจากการถูกลงโทษ ยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ในการศึกษาวิจัยนี้ ได้อาศัยข้อมูลประการสำคัญจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด การตีความหรือความเห็นของฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการวิวัฒนาการของกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดบางฉบับ เพื่อพิจารณาเจตนารมณ์ เนื้อหาสาระสำคัญของกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดแต่ละฉบับ ซึ่งจะช่วยให้ทราบแนวทางในการใช้กฎหมาย เพื่อดำเนินคดียาเสพติดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากเอกสารดังกล่าวแล้ว ได้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งได้จากการวิจัยสนามโดยเสนอแบบสอบถามเพื่อทราบทัศนคติ และปัญหาต่าง ๆ ทั้งในด้านกฎหมายและการดำเนินการคดียาเสพติดจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ และจากประชาชนทั่วไป โดยวิธีสุ่มตัวอย่างอีกด้วย ทั้งนี้ เพราะการศึกษาวิจัยด้านเอกสารอันมีลักษณะเป็นเชิงทฤษฎี ในการดำเนินคดียาเสพติดนั้น อาจเป็นผลให้สามารถสัมผัสได้เพียงเจตนารมณ์และแนวทางของกฎหมาย ในการดำเนินคดียาเสพติดเท่านั้น แต่ไม่อาจทราบข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับการใชข้บังคับกฎหมาย ตลอดจนอุปสรรคและปัญหาที่เกิดขึ้นได้ข้อมูล ซึ่งได้จากการวิจัยสนาม จึงเป็นอุปกรณ์ซึ่งจะช่วยบ่งชี้ว่า บทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อการดำเนินคดีมีความเหมาะสมเพียงใด ผู้รับผิดชอบในการดำเนินคดีตามขั้นตอนต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรมมีแนวความคิด และความประสงค์อย่างไร เกี่ยวกับมาตรการกฎหมาย ซึ่งต้องใช้ในการดำเนินคดียาเสพติด รวมทั้งการทราบว่า การใช้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อการดำเนินคดีได้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายแต่ละเรื่องหรือไม่ด้วย จากการวิจัยภาคสนามพบว่าทั้งผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและประชาชนทั่วไปเห็นว่าปัญหาสำคัญที่สุด คือ เรื่องการใช้อิทธิพลคุ้มครองผู้กระทำความผิด ทั้งการให้ความคุ้มครองในการกระทำความผิดและการให้ความช่วยเหลือเมื่อผู้กระทำความผิดถูกจับกุมดำเนินคดีแล้ว การใช้อิทธิพลเหล่านี้มีทั้งอิทธิพลทางการเงิน และการให้ความช่วยเหลือตากาเจ้าหน้าที่ในหน่วยราชการและในคณะรัฐบาล ในส่วนของกระบวนพิจารณาคดีในศาลนั้น เนื่องจากคดียาเสพติดมีลกัษณะพิเศษแตกต่างจากคดีอาญาทั่วไป และทวีจำนวนมากขึ้น เห็นควรให้จัดตั้งศาลยาเสพติดหรือเปิดเป็นแผนกคดียาเสพติดประจำศาลขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อพิจารณาคดีเหล่านี้ให้เสร็จสิ้นโดยรวดเร็ว ทั้งประชาชนและผู้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 86 เห็นว่า ควรให้มีมาตรการยึดทรัพย์สินของนายทุนผู้ค้ายาเสพติด โดยให้ยึดทรัพย์สินเฉพาะที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้มาโดยสุจริต ผู้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายส่วนใหญ่มีความเห็นว่าอัตราการลงโทษผู้กระทำผิดคดียาเสพติดในปัจจุบันเหมาะสมดีแล้ว แต่ประชาชนส่วนหใญ่กลับมีความเห็นว่า ควรเพิ่มโทษผู้กระทำความผิดให้หนักขึ้นไปอีก โดยเฉพาะแก่ผู้ผลิตและจำหน่ายยาเสพติด สำหรับกรณีที่กรมราชทัณฑ์ลดโทษหรืออภัยโทษ ปล่อยตัวผู้กระทำความผิดออกมาก่อนกำหนดตามคำพิพากษานั้น ผู้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายเห็นว่า เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้กระทำผิดไม่เข็ดหลาย และหันกลับมากระทำผิดอีกทันทีที่พ้นโทษ
Other Abstract: Narcotic problem is constituted by a variety of criminals such as traffickers, manufacturers and consumers. Consequently, the parties concerned might concentrate their approaches to tackle the problem with various points of views. The doctor would concieve mainly about the measures of treatement and rehabilitation. While law enforcement officers try their best to find the effective way of suppression, political scientist, economist, social worker and parties responsible for solving social problem consider the implementation of socio-economic development will effectively control narcotic problem and such a measures has been so for introduced to cope with the opiu cultivation amongst the hilltribes in Nothern Thailand.Various measures and guidelines mentioned were undoubtedly appreciated by agencies concerned and were merged together to ensure that they are potential instruments in fighting against seriuos narcotic problem, but legal measures as well as its process cannot be disregarded as long as some groups of criminals still play as major role in causing narcotic problem, which seriously affected social structure and national security. This study of Criminal Procedure for narcotic case is intended to seek the fullfilment of the objective of criminal justice system for narcotic case and to study problems and obstacless existing in the system. Despite the existence of appropriate and effective sanctions, it can hardly imagine how the sanctions can work, so long as the legal process for narcotic case cannot work properly. Under these circumstances, the drug traffickers cannot be arrested or punished and would pose serious threat to security of Thai society. Since the drug manifacturers and traffickers cannot be effectively dealt with, it would inevitably provide an "endless job" to the prevention or treatment and rehabilitation woork. The analysis of this study is based mainly on the facts and data form documents such as narcotic laws, interpretation or views of parties concerned, and the facts concerning thedevelopment of some narcotic laws. The will and contents of each narcotic law which have been found wil lcontribute to identify guidelines of criminal procedure for narcotic cases, and which being benificial to the suppression of narcotic offence as a whole. However, facts and data acquired from field research is also mostly needed, as documentary research may be theoretical study and we can access only to the will and guideline of narcotic laws, while some obstaclles and problems of legal process remain unknow. Such facts and data will be an instrument indicating the appropriateness of criminal procedure of narcotic laws, opinions and needs for legislation of competent officials in the criminal justice system, and whether or not the enforecment of narcotic law is consistent with the will of each provision.According to the field research, it was found that people, legal officers and authorities concerned regard the use of all types of influences to protect the offenders in committing an offence and duringinvestgation as the most serious problem. The use of these influences includes money influence and any support from some corrupt government officials. Inregard to the Court's procedure, narcotic case differs in nature from other crime and increase in numbers alarmingly. These reasons account for the consideration to establish Narcotic Court or Narcotic Case Section in the court to expedite the process of trial. Most people, legal officers and authorities concerned of about 86 per cent commened that some measure such as confiscation of assets of drug traffickers should be available. The use of this measure is, however, subject to the restriction that the assets to be conflicted shall be the assets that cannot be prove of their legitimate source. Most leagl officers and authorities concerned agreed that present penalties for drug offenders are suitable. On the country, most people suggested that heavier penalties be provided for drug procedure and drug traffickers. The reduction of punishment or the granting of a pardon by the Corrections Department is, in effect, equivalent to release the offenders before their terms of punishment as provided by the court. Legal offisers and authorities concerned regard this as a factor that would undermine deterrently the effectiveness of the punishment, and the offenders will again commit an offence immedialty after such release.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1796
ISBN: 9745627003
Type: Technical Report
Appears in Collections:Law - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ChaiyosNar.pdf41.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.