Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17970
Title: ผลของจินตนาการเกี่ยวกับผลของการลดน้ำหนัก ที่มีต่อพฤติกรรมลดน้ำหนักของสตรี
Other Titles: Effects of imagination of the consequence of weight reduction on women's weight reduction behavior
Authors: กษมา บิลมาศ
Advisors: สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: sompoch.l@chula.ac.th
Subjects: การเสริมแรง (จิตวิทยา)
การลดความอ้วน
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีความประสงค์ที่จะศึกษาว่ากระบวนการเสริมแรงทางบวกภายในสามารถลดน้ำหนักของสตรีที่มีน้ำหนักเกินน้ำหนักอุดมคติตั้งแต่ 10 กิโลกรัมขึ้นไปได้หรือไม่ และจะมีผลอย่างไรต่อพฤติกรรมลดน้ำหนักของสตรี กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกของศูนย์สุขภาพ โรงพยาบาลป.แพทย์ จังหวัดนครราชสีมา ผ่านการทดสอบทางการแพทย์แล้วว่าไม่อ้วนเพราะโรคประจำตัว หรือการทำงานผิดปรกติของต่อมในร่างกาย และผ่านการทดสอบแล้วว่ามีความสามารถในการจินตนาการ จำนวน 6 คน แบ่งกลุ่มทดลอง 3 คน กลุ่มควบคุม 3 คน โดยการขับฉลากของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มทดลองมีกิจกรรมแอโรบิคด้านซ์วันละ 45 นาที และได้รับการฝึกกระบวนการเสริมแรงบวกภายใน ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ ห่างกันระยะละประมาณ 2 สัปดาห์เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมมีกิจกรรมแอโรบิคด้านซ์ วันละ 45 นาที ตลอดระยะเวลาการทดลองก่อนและหลังการทดลอง ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มดัชนีวัดพฤติกรรมลดความอ้วนและชั่งน้ำหนัก ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงในระยะก่อนและหลังการทดลองด้วนวิธีทดสอบค่าที พบว่ากลุ่มที่ได้รับการฝึกกระบวนการเสริมแรงทางบวกภายในสามารถลดน้ำหนักได้มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05(P < .05)
Other Abstract: The purpose of this research was to study whether the process of covert positive reinforcement could reduce women’s weight reduction behavior and could reduce women’s weight among obese women who were more than 10 kilogram overweight. The subjects were 6 woman of Health Center at Por.Pad. Hospital in Nakornratchasima Province from deceases and passed the imaginable ability test. They were randomly assigned to an experimental group and a control group. Each group included 3 subjects. The experimental group was trained in the process of covert positive reinforcement once every two weeks for six weeks whereas the control group received no training. Both groups had joined the aerobic dance for 45 minutes each day. The statistical method for data analysis was the testing a hypothesis about the difference between two independent means (t-test). Results showed that the experimental group was able to reduce weight more than the control group was at the .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17970
ISBN: 9745663867
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kasama_Bi_front.pdf562.79 kBAdobe PDFView/Open
Kasama_Bi_ch1.pdf547.71 kBAdobe PDFView/Open
Kasama_Bi_ch2.pdf347.63 kBAdobe PDFView/Open
Kasama_Bi_ch3.pdf278.28 kBAdobe PDFView/Open
Kasama_Bi_ch4.pdf270.21 kBAdobe PDFView/Open
Kasama_Bi_ch5.pdf252.48 kBAdobe PDFView/Open
Kasama_Bi_back.pdf560.31 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.