Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18101
Title: | การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์สำหรับบ้านพักอาศัยยุคใหม่ กรณีศึกษาบ้านสู้โลกร้อน จังหวัดนครราชสีมา |
Other Titles: | Creativity media for new generation home case study : eco home Nakhon Ratchasrima Province |
Authors: | รัฐปัตย์ บุตรศรี |
Advisors: | วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Vorasun.b@chula.ac.th |
Subjects: | ที่อยู่อาศัย -- การอนุรักษ์พลังงาน การอนุรักษ์พลังงาน -- การประชาสัมพันธ์ สถาปัตยกรรมกับการอนุรักษ์พลังงาน Dwellings -- Energy conservation Energy conservation -- Public relations Architecture and energy conservation |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การสื่อสารมีความสำคัญเพื่อสร้างความเข้าใจในองค์ความรู้ใหม่ของบ้านสู้โลกร้อนซึ่งเป็นการนำผลการวิจัยมาใช้จริงในโครงการอสังหาริมทรัพย์ คุณสมบัติการประหยัดพลังงาน การสร้างรวดเร็ว ค่าบำรุงรักษาต่ำ และมีสภาพแวดล้อมภายในบ้านที่มีคุณภาพชีวิตสูงของผู้อยู่อาศัย คุณสมบัติที่ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคนี้ สามารถช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตพลังงานปัจจุบัน การศึกษาวิเคราะห์สื่อต่างๆ ที่เหมาะสม โดยการสอบถามกลุ่มตัวอย่างพบว่า สื่อประชาสัมพันธ์ทั้งภาพและเสียงมีความเหมาะสมมากที่สุด สามารถสื่อข้อมูลให้แก่กลุ่มเป้าหมายให้มีความเข้าใจเนื้อหาข้อมูลข่าวสารจากสภาพจริงได้ดี การศึกษาจึงพัฒนาสื่อวีดีทัศน์เพื่ออธิบายให้ผู้บริโภคทราบถึงข้อมูลที่ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ สื่อวีดีทัศน์บ้านสู้โลกร้อนมีเนื้อหาแสดงคุณสมบัติและลักษณะพิเศษด้านการประหยัดพลังงานกว่าบ้านทั่วไป 5 เท่า ระยะเวลาก่อสร้าง 90 วัน เร็วกว่าบ้านทั่วไปที่มีพื้นที่ใช้สอยเท่ากันประมาณ 3 เท่า ผนังภายนอกอาคารใช้โฟมคอนกรีตมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนและความชื้นดีกว่าผนังก่ออิฐฉาบปูนทั่วไป ส่วนหลังคาใช้วัสดุอินซูเลตพาแนลที่เป็นฉนวนกันความร้อนมีน้ำหนักเบา แข็งแรงเป็นโครงสร้างในตัว ไม่จำเป็นต้องมีโครงหลังคา การใช้กระจกลามิเนตมีคุณสมบัติป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตร้อยละ 99 สื่อวิดีทัศน์ชุดแรกใช้เพื่อประเมินเทคนิคการนำเสนอและลำดับเนื้อหา ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างช่วงอายุ 20 – 30 ปี จำนวน 100 คน ภายหลังการชมสื่อวีดีทัศน์บ้านสู้โลกร้อนที่ผ่านการตัดต่อแล้วพบว่า ความเข้าใจประเด็นหลักและสาระสำคัญของบ้านสู้โลกร้อนครบถ้วนทุกประเด็นจำนวนร้อนละ 82 ประกอบด้วยสัดส่วนประเด็นต่างๆ ได้แก่ การก่อสร้างรวดเร็ว จำนวน 90 คน ด้านการประหยัดพลังงาน 85 คน ด้านการเลือกช่องเปิดรับแสงธรรมชาติ 84 คน ด้านวัสดุ 83 คน ด้านรูปแบบและการออกแบบ 79 คน ด้านราคาที่ไม่แพง 79 คน และด้านพื้นที่ใช้สอยของบ้าน 76 คน ตามลำดับ |
Other Abstract: | Media to explain new knowledge of Eco-home has various factors to implement. Energy saving, fast construction, low maintenance, and high environmental quality are the need of customers. Pre-survey results shown that picture and sound technique is one of the best ways to explain those unique factors of eco-home to clients. Then, VDO media was developed to explain eco-home. Unique character of eco-home are 1) more than 5 times less energy consumption compared to conventional house, 2) only 90 days construction, 3) using foam cement on exterior walls to prevent thermal and moisture penetrations, 4) using insulated roof panel with self structure, and uPVC with laminated glass to protect UV ray. Results of 100 samples survey shown that after watch VDO media, clients understand eco-home characters 82 percents. Ninety people understand fast construction technique. Eighty five people understand energy conservation technique while eighty four people understand the use of natural light technique. Finally, seventy nine people understand how it can reduce construction budget. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18101 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.456 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.456 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ratapat_bo.pdf | 9.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.