Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18245
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยอนันต์ สมุทวณิช-
dc.contributor.advisorธิติมา พิทักษ์ไพรวัน-
dc.contributor.authorเฉลิม มลิลา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-20T14:01:43Z-
dc.date.available2012-03-20T14:01:43Z-
dc.date.issued2518-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18245-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518en
dc.description.abstractจุดเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของไทยเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ทำให้เกิดนักการเมืองกลุ่มหนึ่งที่เรียกตนเองว่าคณะราษฎร ซึ่งพยายามอ้างอุดมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย เป็นสาเหตุในการทำปฏิวัติ เพื่อยึดอำนาจปกครองประเทศจากพระมหากษัตริย์ ซึ่งปกครองตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่แทนที่จะมอบอำนาจให้กับประชาชนดำเนินการตามวิถีทางประชาธิปไตย กลับหวงแหนเอาไว้ และในที่สุดก็เกิดการแย่งชิงอำนาจในระหว่างกลุ่มของตนเองเนื่องจากมีข้อขัดแย้งทั้งทางการเมืองและการขัดผลประโยชน์ ในกันและกันจึงนำไปสู่การตัดสินใจกันด้วยกำลัง และพยายามสร้างเสถียรภาพทางการเมืองโดยหลักการใช้กำลังอำนาจ มีการสร้างรัฐธรรมนูญในรูปแบบที่จะเป็นประโยชน์แก่ตนเองและกลุ่ม ที่สำคัญก็คือการดำเนินการขจัดและกวาดล้างศัตรูทางการเมืองที่ต่างความคิดด้วยความรุนแรง เป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้ทางการเมืองจากบุคคลกลุ่มอื่นด้วยกำลังและอำนาจเช่นกันแต่ไม่สำเร็จ เมื่อผสมผสานเข้ากับการปกครองประเทศที่ขาดประสิทธิภาพและความรับผิดชอบในปัญหาที่สำคัญบางประการ รวมทั้งไม่นำพาต่อเสียงเรียกร้องคัดค้านของประชาชนจนเกิดสภาพที่เป็นความระส่ำระส่ายทางการเมืองปรากฏอยู่โดยทั่วไป และเมื่อถึงจุดสุกงอมทางการเมือง ประกอบเข้ากับวาระสุดท้ายของการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง และการต้องป้องกันตนเองของผู้นำฝ่ายทหารและบุคคลสำคัญๆ ของคณะทหาร รวมทั้งผลประโยชน์ที่พึงมีพึงได้ของบุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นผู้มีอำนาจทางการเมืองอย่างเด่นชัดในเวลานั้นมาถึง จึงนำไปสู่การเกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 16 กันยา พ.ศ. 2500 โดยคณะทหาร. จากรูปการ ทางการเมืองในระยะแรก ผู้นำของคณะทหารปฏิเสธการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสุดยอดทางการเมือง คือการเป็นนายกรัฐมาตรี ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะมีความลังเลใจ และหรือยังไม่แน่ใจในปัจจัยและสภาพการณ์ทางการเมือง รวมทั้งความปรารถนาอันแท้จริงภายในใจตนเองในเวลานั้นต่อภายหลังเมื่อได้ตระหนักว่าภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่ได้รับแบบอย่างและยึดตามอุดมการณ์ประชาธิปไตยแบบเดียวกับที่ใช้อยู่ในประเทศทางตะวันตกนั้น รัฐบาลทหารไม่สามารถที่จะดำเนินการปกครองให้อยู่ในภาวะราบรื่นดังใจหมายได้ อันเนื่องจากระบบพรรคการเมืองและรัฐสภาเป็นอุปสรรคกีดขวางอยู่ ดังนั้นความยุ่งยากทางการเมืองจึงหาได้สิ้นสุดลงไม่ จำเป็นที่คณะทหารจะต้องต่อการยึดอำนาจอีกครั้ง โดยอ้างเอาการคุกคามของคอมมิวนิสต์ และความร่วมมือของรัฐบาลทหารที่ปกครองประเทศอยู่ก่อนหน้านั้น เป็นความชอบธรรมในการเข้าครองอำนาจและสามารถทำสำเร็จได้โดยง่าย ทั้งนี้เป็นไปภายหลังที่ผู้นำทางทหารต้องประสบกับการไม่ต้องต้อนรับของประชาชน ซึ่งแสดงออกโดยการเลือกตั้งครั้งใหม่เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 ดังนั้นการปฏิวัติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 จึงเป็นเหตุการณ์ทางการเมืองที่ชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวของการรัฐประหาร พ.ศ. 2500 และสิ่งที่ตามมาก็คือ การพัฒนาประชาธิปไตย ซึ่งต้องประสบอุปสรรคสะดุดหยุดชะงักมาหลายครั้งแล้วให้ต้องหยุดอยู่กับที่เพื่อคอยโอกาสตั้งต้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ด้วนคำสั่งของคณะปฏิวัติให้เลิกพรรคการเมือง เลิกสหบาลกรรมกร ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า ๕ คน และรวมทั้งประกาศเลิกใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับพุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2475และยุบสภาวิวัฒนาการทางการเมืองหลังจากนั้นจึงเป็นไปในลักษณะที่ผู้นำประเทศฝ่ายทหารให้ความสำคัญต่อระบบพัฒนาทางการเมืองตามวิถีทางประชาธิปไตยน้อยกว่าการพัฒนาทางการเศรษฐกิจและสังคมซึ่งความจริงข้อนี้จะเห็นได้จากการที่รัฐบาลทหารกำหนดให้มีแผนพัฒนาประเทศทางเศรษฐกิจและสังคม แต่หาได้มีแผนพัฒนาทางการเมืองเพื่อให้สอดคล้องและเป็นฐานรองรับอนาคตทางการเมือง ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พ.ศ. 2511 ซึ่งขณะนั้นกำลังร่างอยู่ไม่ ดังนั้นสภาพการณ์ทางการเมืองของไทยจึงกลับไปสู่ยุคถือ “กำลังอำนาจ” เป็นสำคัญ เพื่อให้รัฐบาลมีเสถียรภาพทางการเมืองและ พร้อมกันนั้นก็หาลู่ทางครองอำนาจเป็นรัฐบาลให้นานที่สุด สะดวกที่สุดซึ่งไม่ใช่โดยการเลือกตั้ง ขณะเดียวกันก็มีการสืบต่อ อำนาจกันในระหว่ากลุ่มการเมืองของตน และถึงกับมีความพยายามที่จะสร้าง “ทายาททางการเมือง” เพื่อให้สามารถรับช่วงอำนาจต่อไปอย่างเห็นได้ชัด จนกระทั่งปฏิกิริยาของประชาชนได้เกิดขึ้นภายใต้การริเริ่มและนำโดยนิสิตนักศึกษา อาจารย์มหาวิทยาลัยและบุคคลหลายฝ่าย อันเนื่องมาจากทนเห็นภาวะระส่ำระส่ายทางการเมืองต่อไปไม่ไหว วิกฤติการณ์ทางการเมืองที่เรียกว่า “วิกฤติการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516” จึงได้เกิดเกิดขึ้น ซึ่งแม้จะมีผลเสียทางวัตถุ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดโอกาสให้กับการตั้งต้นของระบบพัฒนาทางการเมืองตามวิถีทางประชาธิปไตย ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า “รัฐประหาร พ.ศ. 2500” นั่นเอง ที่เป็นปัจจัยและจุดเริ่มต้นก่อให้เกิดวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเป็นลำดับๆ จนถึงเหตุการณ์ทางการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน-
dc.description.abstractalternativeIn June 1932, a group of military and civilian officials called "The People 'Party" overthrew the age - old absolute monarchy and professed to install a new democratic system of government. But instead of granting a full - fledged representative government, the People ' Party reserved certain privileges for its group through some constitutional provisions. Internal conflicts and personal rivalries with in the Party led to political purges and resulted in violent reactions from the other side. From 1932 to 1957, Thai politics was instable as shown by the occurance of thrice coups d' e'tat and numerous changes in the constitutional law of the country. Political conflicts basically evolved around a small military - civilian clique which finally ended in the coup of September 1957 when Field Marshal Sarit Thanarat seized power from Field Marshal Pibul Songkram - one of the 1932 Promoters. In the first stage of the successful coup d' e'tat, the military leaders were reluctant to take the highest political office i.e. The Prime Ministership as there was a grave doubt about winning formal recognition from the foreign countries for their government. However, after giving parliamen¬tary polities a trial which did not dovetail with the desire of the military leaders, the military clique chose to abolish parliamentary government and took power into their own hands. The emergence of military rule resulted in the end of party politics, activities of trade unions and, above all, the 1932 Constitutional (as amended in 1952) as well as the abolition of the popularly elected Parlia¬ment; the process of democratization was, therefore, disrupted. The military government was not inclined to promote political development, it gave priority to economic planning and was of the opinion that economic progress would auto¬matically lead to political maturity. Hence, the political situation in Thailand was characterized by "might is right" rule rather than government by consent. The military’s first and formost aim was to stabilize its power. After 15 years of the military rule in the opinion of some political observers, the administration of Thailand was so corrupted that a mass movement of October 1973 caused the downfall of the military and gave birth to democratic rule once again. The coup of September 1957 constituted a landmark which led to further political changes in Thailand.-
dc.format.extent478502 bytes-
dc.format.extent342951 bytes-
dc.format.extent2111865 bytes-
dc.format.extent1044123 bytes-
dc.format.extent2331296 bytes-
dc.format.extent906828 bytes-
dc.format.extent580017 bytes-
dc.format.extent1017893 bytes-
dc.format.extent681380 bytes-
dc.format.extent886320 bytes-
dc.format.extent2303923 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2500en
dc.subjectรัฐประหารen
dc.subjectปฏิวัติen
dc.titleรัฐประหาร พ.ศ. 2500 ในประเทศไทยen
dc.title.alternative"The 1957 coup" D' etat of Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chalerm_Ma_front.pdf467.29 kBAdobe PDFView/Open
Chalerm_Ma_intro.pdf334.91 kBAdobe PDFView/Open
Chalerm_Ma_ch1.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open
Chalerm_Ma_ch2.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Chalerm_Ma_ch3.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open
Chalerm_Ma_ch4.pdf885.57 kBAdobe PDFView/Open
Chalerm_Ma_ch5.pdf566.42 kBAdobe PDFView/Open
Chalerm_Ma_ch6.pdf994.04 kBAdobe PDFView/Open
Chalerm_Ma_ch7.pdf665.41 kBAdobe PDFView/Open
Chalerm_Ma_ch8.pdf865.55 kBAdobe PDFView/Open
Chalerm_Ma_back.pdf2.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.