Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18325
Title: การออกแบบกลไกข้อเข่าสำหรับขาเทียม
Other Titles: Design of knee joint mechanism for leg prosthesis
Authors: สมพงษ์ เจริญบูลย์วิวัฒน์
Advisors: ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ
ชัญญาพันธ์ วิรุฬห์ศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pairat.T@Chula.ac.th
Juksanee.V@chula.ac.th
Subjects: ข้อเข่า -- กายวิภาค
ข้อเข่าเทียม
Knee -- Anatomy
Artificial knee
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กลไกข้อเข่าที่อยู่ในขาเทียมนั้นเป็นส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการเดินด้วยขาเทียมของผู้พิการขาขาดเหนือเข่าเป็นอย่างมาก เพราะกลไกข้อเข่าต้องทำงานอย่างสอดคล้องกับลักษณะการเหวี่ยงตอขา เพื่อให้ผู้ใช้มีลักษณะการเดินที่ใกล้เคียงกับการเดินตามธรรมชาติมากที่สุด ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นในการออกแบบกลไกข้อเข่าเทียม ที่มีลักษณะการเคลื่อนที่คล้ายเข่าจริงโดยใช้กลไกแบบหลายแกนหมุน มีเสถียรภาพของการเดินครบทุกตำแหน่งของวงจรการเดิน กลไกมีชิ้นส่วนน้อยสามารถสร้างและประกอบกลไกได้ง่าย และสุดท้ายมีอายุการใช้งานที่ยาวนานวัดจากการทดสอบตามมาตรฐานสากล ISO 10328:2006 เริ่มต้นการออกแบบด้วยการหาข้อมูลเส้นทางการเคลื่อนที่ของเข่าในการเดินตามธรรมชาติ เพื่อกำหนดลักษณะการเคลื่อนที่ของกลไก จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปสังเคราะห์กลไกจึงได้มาซึ่งแผนผังจลน์ศาสตร์ ที่มีการเคลื่อนที่ตามเส้นทางการเคลื่อนที่ที่หามาได้ จากนั้นจึงออกแบบกลไกให้มีชิ้นส่วนน้อย และสามารถสร้างและประกอบกันได้ง่ายด้วยการรวมชิ้นส่วนบางชิ้นของกลไก รวมถึงออกแบบให้สามารถใช้งานได้ในสภาพการใช้งานจริงของการเดินด้วยขาเทียม โดยตรวจสอบผลด้วยการเดินจากอาสาสมัคร ซึ่งอาสาสมัครที่ทดสอบนั้นมีลักษณะท่าทางการเดินที่เป็นธรรมชาติ มีการวิเคราะห์เบื้องต้นเกี่ยวกับความแข็งแรงของกลไก และความทนทานต่อความเสียหายเนื่องจากความล้าด้วยโปรแกรม FEM เพื่อปรับค่าขนาดมิติของแบบกลไก และเมื่อนำกลไกข้อเข่าเทียมที่ได้นี้ไปทดสอบความแข็งแรงตามการทดสอบมาตรฐาน ISO 10328:2006 แนวแรงที่กระทำต่อกลไกจะเลียนแบบท่าในการเดินสองท่าที่มีแรงกระทำต่อกลไกข้อเข่ามากที่สุดคือ จังหวะส้นเท้าแตะพื้นและปลายเท้าจากพื้น ทั้งสองจังหวะใส่ภาระแรงซ้ำและภาระแรงสถิต ผลทดสอบแสดงให้เห็นว่ากลไกข้อเข่าเทียมที่ออกแบบสามารถผ่านการทดสอบมาตรฐานนี้ได้ ดังนั้นจึงได้มาซึ่งกลไกข้อเข่าที่สามารถให้ลักษณะการเดินที่เป็นธรรมชาติ มีจำนวนชิ้นส่วนของกลไกน้อยชิ้นเพื่อสะดวกในการผลิตและประกอบ และมีความคงทนแข็งแรงเหมาะสมต่อการส่งไปประกอบเป็นขาเทียมให้ผู้ใช้นำไปใช้งานจริงได้ต่อไป
Other Abstract: Significantly, knee mechanism in leg prosthesis is the key that enables transfemoral user to walk naturally. Hence, the knee mechanism must be able to create natural motion of knee. In solving these problems, this research aims to several objectives. First, Design knee joint polycentric mechanism which mimicry natural motion of knee while walking and can provide stability at the whole position of gait cycle. Second, each part of the mechanism should be ease of machining and the mechanism need to have as few parts as possible for the reason of effortless assembling. Last, the mechanism must pass strength and life cycle test of ISO 10328:2006. This research starts from collecting natural knee motion data which be used to synthesize kinematic diagram. The kinematic diagram is simplified to have fewer parts as a result of lessened knee joint part number. Next, assembly design is created then loop of practical function test and redesign are introduced to develop final design. A walking test by volunteer is made to observe and discuss the result from the user. Before bring the final design to test strength and fatigue, finite element method analysis is employed to adjust some critical point dimensions. While testing, heel strike and toe off position is set up because maximum of knee load occur in those positions. Finally, after the mechanism can sustain static load and cyclic load testing which follow ISO 10328:2006 then the knee joint mechanism is fully functional. Consequently the knee joint mechanism meet all objectives, the designated knee joint mechanism allows its user to walk naturally, has few parts as possible and be able to efficiently sustain walking load with respect to ISO 10328:2006.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18325
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sompong_ch.pdf16.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.