Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18357
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิรงรอง รามสูต-
dc.contributor.authorพรทิพย์ กิมสกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2012-03-21T15:24:43Z-
dc.date.available2012-03-21T15:24:43Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18357-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractศึกษาพฤติกรรมการใช้เว็บไซต์ยูทูบ ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ยูทูบ และประเด็นจริยธรรมทางข้อมูลข่าวสารในเรื่องเสรีภาพ สิทธิส่วนบุคคล และทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ใช้ยูทูบในประเทศไทย โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ยังคงใช้เว็บไซต์ยูทูบอยู่ในปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อความบันเทิงเป็นหลัก โดยจะเลือกชมคลิปวีดิโอประเภทมิวสิควีดิโอ รายการโทรทัศน์ และคลิปภาพยนตร์ ส่วนเหตุผลที่ผู้ใช้เลิกใช้ยูทูบหรือไม่เคยใช้ยูทูบเลยคือ ไม่มีเวลาในการเข้าใช้เว็บไซต์ยูทูบ สถานที่ที่เข้าใช้ยูทูบบ่อยที่สุดคือ ที่พักของตนเอง และผู้ใช้ยูทูบส่วนใหญ่มีระดับปริมาณการเข้าใช้ในระดับมาก ยูทูบเป็นช่องทางการสื่อสารในวัฒนธรรมของสื่อใหม่คือ เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้เป็นผู้ผลิตเนื้อหาและเผยแพร่เนื้อหานั้นบนเว็บไซต์ด้วยตนเอง โดยผู้ใช้ที่มีบัญชี account สามารถรอัพโหลดวีดิโอขึ้นบนเว็บไซต์ และมีปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาและผู้ใช้คนอื่นๆ บนเว็บไซต์ได้ แต่จากการวิจัยพบว่า ผู้ใช้ยูทูบในประเทศไทยยังคงมีพฤติกรรมในการใช้เว็บไซต์ยูทูบเช่นเดียวกับสื่อเก่าคือ เป็นเพียงผู้รับสารมากกว่าจะเป็นผู้ผลิตหรือเผยแพร่สื่อด้วยตนเอง และผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่เห็นถึงความจำเป็นในการมีบัญชี account ยูทูบเพื่อล็อคอินเข้าสู่ระบบ ส่วนผู้ที่มีบัญชี account ส่วนใหญ่ก็ไม่มีการอัพโหลดวีดิโอ หรือสร้างเครือข่ายบนเว็บไซต์ ซึ่งเหตุผลในการมีบัญชี account อาจเนื่องมาจากความต้องการในการเข้าชมวีดิโอบางคลิปที่จำกัดอยู่ในผู้ใช้ที่มีบัญชีเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยทางด้านเพศและอายุส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ยูทบของผู้ใช้ในประเทศไทยคือ เพศหญิงมีระดับพฤติกรรมการใช้มากว่าเพศชาย และผู้ที่มีอายุในช่วง 21-30 ปี จะมีสัดส่วนในการเข้าใช้เว็บไซต์ยูทูบมากกว่าผู้ใช้ในช่วงอายุอื่นๆ ส่วนในประเด็นจริยธรรมทางข้อมูลข่าวสาร พบว่า ผู้ใช้ยูทูบให้ความสำคัญในประเด็นเรื่องสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทั้งในบริบททั่วไป และบริบทของเว็บไซต์ยูทูบในระดับมาก และให้ความสำคัญในประเด็นเรื่องเสรีภาพในการพูดในบริบททั่วไปในระดับกลาง และผ่านเว็บไซต์ยูทูบในระดับมาก ส่วนประเด็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคลพบว่า ผู้ใช้ยูทูบมีความตระหนักรู้ในเรื่องสิทธิส่วนบุคคลในบริบทของเว็บไซต์ยูทูบมากกว่าในบริบททั่วไป และมีความตระหนักรู้ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาทั้งในบริบททั่วไปและยูทูบในระดับปานกลาง-
dc.description.abstractalternativeTo study behavior in YouTube use, social factors influencing YouTube use behavior and skills, as well as awareness on information issues affecting YouTube use. Three areas of information issues are studied - freedom of expression, privacy, intellectual property. Questionnaire-based survey is used as data collection. A total of 400 questionnaires were distributed. The research finds that most survey respondents are current users of YouTube. Their most prevalent objective in YouTube use is to entertain. As for non-users and former users of YouTube, the reason most cited was lack of time in YouTube usage. Most frequently visited venue for YouTube use is personal residence. Most respondent are hard level users. As one of the channels for communication in new media culture, YouTube is an interactive and user-generated content website providing users with YouTube account an area for creating or producing, and publish their own content. YouTube users in Thailand were found that they have the same behavior as the behavior in the old media; being an audience or passive user or receiver rather than a producer. For the users in Thailand, Having an account is not necessary for YouTube usage, and the registered users have accounts only for access to limited content; neither for uploading vdo clips or networking. According to research findings, Gender was found to be a variable that statistically influences YouTube use. Female users tend to be higher users of YouTube. For information ethics issues, the surveyed YouTube users have high level of awareness on the right to access information in both of general context and YouTube . The users have medium level of awareness on the freedom of speech in general , but high level in YouTube. For privacy issue, YouTube users aware of privacy on general context in the medium level; but higher in YouTube . On intellectual property issue, it was ranked in the medium level both in general context and on YouTube.-
dc.format.extent3065556 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.463-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเครือข่ายสังคมออนไลน์-
dc.subjectยูทูป -- การศึกษาการใช้-
dc.subjectคอมพิวเตอร์ -- แง่ศีลธรรมจรรยา-
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค-
dc.subjectOnline social networks-
dc.subjectYouTube (Electronic resource) -- Use studies-
dc.subjectComputers -- Moral and ethical aspects-
dc.subjectConsumer behavior-
dc.titleพฤติกรรมการใช้ยูทูปและประเด็นจริยธรรมทางข้อมูลข่าวสารของผู้ใช้ยูทูบในประเทศไทยen
dc.title.alternativeYoutube use behavior and information ethics issues of YouTube users in Thallanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวารสารสนเทศes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPirongrong.R@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.463-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornthip_ki.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.