Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18405
Title: การใช้ระเบียบวิธีทางสถิติในการปฏิบัติงานของมหาบัณฑิตครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: The application of statistical methods at work of Chulalongkorn University graduates with master degree of education
Authors: นงเยาว์ เดชมา
Advisors: ดิเรก ศรีสุโข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- มหาบัณฑิต
สถิติ -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ระเบียบวิธีทางสถิติในการปฏิบัติงานของมหาบัณฑิตครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ระเบียบวิธีทางสถิติ กับเกรดเฉลี่ย ลักษณะงานที่ทำ ประสบการณ์ในการประกอบวิชาชีพ สิ่งเอื้ออำนวยในการทำงาน และจำนวนวิชาที่เรียนทางสถิติ และสร้างสมการพยากรณ์ปริมาณการใช้ระเบียบวิธีทางสถิติในการปฏิบัติงาน โดยระเบียบวิธีทางสถิติที่ศึกษาจำแนกเป็น 4 ด้าน คือ (1) ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล (2) ด้านการนำเสนอข้อมูล (3) ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล (4) ด้านการรายงานผล กลุ่มตัวอย่างเป็นมหาบัณฑิตครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2520-2526 จำนวน 525 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่าง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปริมาณการใช้ระเบียบวิธีทางสถิติ วิเคราะห์ผลการวิจัยโดยการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แล้วเปรียบเทียบปริมาณการใช้ระเบียบวิธีทางสถิติระหว่างมหาบัณฑิตภาควิชาวิจัยการศึกษา และมหาบัณฑิตภาควิชาอื่นเป็นรายข้อ โดยสถิติทดสอบที วิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์พหุคูณ และสร้างสมการพยากรณ์ปริมาณการใช้ระเบียบวิธีทางสถิติในการปฏิบัติงานเป็นรายข้อ โดยวิธีเพิ่มและลดตัวแปรเป็นขั้น ๆ (Stepwise Multiple Regression Analysis) ทุกขั้นตอนโดยใช้โปรแกรม SPSSX ของสถาบันคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. มหาบัณฑิตครุศาสตร์ มีปริมาณการใช้ระเบียบวิธีทางสถิติในการปฏิบัติงานมากที่สุดในหัวข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนระเบียบวิธีทางสถิติที่มหาบัณฑิตมีการใช้น้อยที่สุด คือ การทดสอบการเปรียบเทียบภายหลัง โดยวิธี NMR ของดันคัน วิธี LSD ของฟิชเชอร์ วิธี HSD ของตูกี วิธีของดันเนตต์ การทดสอบการเปรียบเทียบครั้งแรกโดยวิธีของดันน์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบแยกส่วน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจตุรัสลาติน 2. มหาบัณฑิตภาควิชาวิจัยการศึกษา มีปริมาณการใช้ระเบียบวิธีทางสถิติมากกว่ามหาบัณฑิตภาควิชาอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวน 57 หัวข้อ จากจำนวนระเบียบวิธีทางสถิติทั้งหมด 71 หัวข้อ 3. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการใช้ระเบียบวิธีทางสถิติกับตัวพยากรณ์เป็นรายข้อ พบว่า 3.1 ในกลุ่มมหาบัณฑิตภาควิชาวิจัยการศึกษา ค่าสหสัมพันธ์พหุคูณมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 9 หัวข้อ จากทั้งหมด 71 หัวข้อ 3.2 ในกลุ่มมหาบัณฑิตภาควิชาอื่น ค่าสหสัมพันธ์พหุคูณมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 58 หัวข้อ จากทั้งหมด 71 หัวข้อ ผลการวิเคราะห์ดังกล่าว ให้ความหมายว่า ตัวแปรพยากรณ์สามารถพยากรณ์ลักษณะการใช้ระเบียบวิธีทางสถิติในกลุ่มมหาบัณฑิต ภาควิชาอื่น ได้มากกว่ามหาบัณฑิตภาควิชาวิจัยการศึกษา 4. ผลการสร้างสมการพยากรณ์ พบว่า 4.1 ในกลุ่มมหาบัณฑิตภาควิชาวิจัยการศึกษา สร้างสมการพยากรณ์ปริมาณการใช้ระเบียบวิธีทางสถิติได้ 51 หัวข้อ จากทั้งหมด 71 หัวข้อ 4.2 ในกลุ่มมหาบัณฑิตภาควิชาอื่น สร้างสมการพยากรณ์ปริมาณการใช้ระเบียบวิธีทางสถิติได้ 69 หัวข้อ จากทั้งหมด 71 หัวข้อ
Other Abstract: The purposes of this study were to investigate the application of statistical methods at work of master degree graduates in Education from Chulalongkorn University. The relationship between the application of statistical methods at work and the set of the grade point average, the characteristics of jobs, job experiences, facilities at work, and the number of statistical courses and the construction of the multiple regression equations for predicting the quantity of the application of statistical methods at work were also studied. The statistical methods investigated in the study were classified into 4 categories as (1) collection of data (2) presentation of data (3) analysis of data and (4) interpretation of data. The sample for this study included 525 graduates with master degree from the Faculty of Education of Chulalongkorn University in academic years of 1977-1983. The data were collected by a questionnaire and they were analyzed by arithmetic mean, standard deviation, multiple correlation and stepwise multiple regression analysis. They all were analyzed by the SPSSX computer program of the Chulalongkorn University Computer Service Center. Findings were as follow: 1. The most statistical methods used at work are on collection of data by surveying, presentation of data by tabulation, analysis of data by percentage, and analysis of data by arithmetic means. The least are on Duncan’s New Multiple Range Test, Least Significant Difference Test, Honest Significant Different, Dunnett’s Test for Comparisons Involving a Control Mean, Dunn’s Multiple Comparison Procedure, Split-plot design and Latin square design. 2. The graduates from the Educational Research Department had more 57 items from a total of 71 items of statistical methods used at work than the graduates from the other departments at the level of statistical significance of 0.05. 3. The results of the correlation analysis between the statistical methods used at work by the graduates and grade points average, the characteristics of jobs, job experience, facilities at work, number of statistical courses at statistical significance .05 level were: 3.1 The analysis on the group of graduates from Educational Research Department show significant multiple correlations on 9 items from a total of 71 items. 3.2 The analysis of the group of graduates from other departments shows significant multiple correlations on 58 items from a total of 71 items. 4. The results of the construction of the regression equations at statistical significance .05 level were: 4.1 The analysis on the group of the graduates from Educational Research Department show that 51 regression equations were statistically different from a total of 71 equations. 4.2 The analysis on the group of the graduates from other departments shows that 69 regression equations were statistically different from a total of 71 equations.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18405
ISBN: 9745666882
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nongyaw_De_front.pdf384.48 kBAdobe PDFView/Open
Nongyaw_De_ch1.pdf380.86 kBAdobe PDFView/Open
Nongyaw_De_ch2.pdf619.06 kBAdobe PDFView/Open
Nongyaw_De_ch3.pdf286.66 kBAdobe PDFView/Open
Nongyaw_De_ch4.pdf988.12 kBAdobe PDFView/Open
Nongyaw_De_ch5.pdf342.65 kBAdobe PDFView/Open
Nongyaw_De_back.pdf500.52 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.