Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18476
Title: การวิเคราะห์เศรษฐกิจการผลิตปลากระพงขาวในกระชัง : การศึกษาเฉพาะกรณี บริเวณตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ปีการผลิต 2526
Other Titles: An economic analysis of cage sea bass cultivation : a case study in Tambol Ko` Yoh of Muang District of the Songkhla Province in 1983
Authors: นฤมล นุตยะสกุล
Advisors: วิวัฒน์ โชติเลอศักดิ์
มารุธ เมืองแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ต้นทุน
ปลากะพงขาว
ปลากระพงขาว -- แง่เศรษฐกิจ
เกาะยอ (สงขลา) -- ภาวะเศรษฐกิจ
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณหาสมการการผลิต ขนาดที่เหมาะสมที่สุดทางเศรษฐกิจของปัจจัยการผลิตแต่ละชนิด และภาวะการตลาดของปลากะพงขาว ในปีการผลิต 2526/2527 นอกจากนี้ยังได้ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตปลากะพงขาวด้วย ทำการศึกษาในท้องที่ ต.เกาะยอ อ. เมือง จ.สงขลา โดยสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม ครัวเรือนตัวอย่างจำนวน 24 ราย ซึ่งคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ purposive sampling ผลจากการหาฟังค์ชั่นต้นทุนการผลิตปลากะพงขาว โดยใช้ฟังค์ชั่นต้นทุนการผลิตของ ค็อบ-ดักลาส สรุปได้ว่า ปัจจัยการผลิตที่มีอิทธิพลต่อผลผลิตปลากะพงขาว ได้แก่ จำนวนพันธุ์ปลาที่ปล่อย ปลาเป็ด และแรงงานในครัวเรือน ซึ่งเป็นตัวแปรอิสระ โดยจำนวนพันธุ์ปลาจะแปรผกผันกับปริมาณผลผลิตปลากะพงขาวซึ่งเป็นตัวแปรตาม ส่วนปลาเป็ดและแรงงานในครัวเรือนจะแปรผันตามผลผลิตปลากะพงขาว เมื่อนำปัจจัยการผลิตปลาเป็ดและแรงงานมาวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ใหม่ ปรากฏว่า ปลาเป็ดมีค่าความยืดหยุ่นการผลิตสูงกว่าแรงงาน โดยปลาเป็ดมีค่าความยืดหยุ่น 0.62 ส่วนแรงงานมีค่าความยืดหยุ่น 0.43 ผลรวมของค่าความยืดหยุ่นของปัจจัยการผลิตทั้งหมดเท่ากับ 1.05 ซึ่งแสดงว่าการผลิตปลากะพงขาวกำลังอยู่ในระยะผลตอบแทนต่อขนาดคงที่ ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของการใช้ปัจจัยการผลิตทั้งสองปรากฏว่า ผู้ผลิตใช้ปัจจัยการผลิตทั้งสอง ในปริมาณที่เกินกว่าขนาดเหมาะสมที่จะให้ได้กำไรสูงสุด โดยใช้ปลาเป็ดในปริมาณ 150 กิโลกรัมต่อ1ตารางเมตร และใช้แรงงานในปริมาณ 9 mandays ต่อ 1 ตารางเมตร ขณะที่ขนาดที่เหมาะสมของปัจจัยการผลิตทั้งสองเป็น109 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และ 2.6 mandays ต่อตารางเมตรตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง ปรากฏว่าเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนทั้งหมดกับราคาปลากะพงขาว ณ ที่ฟาร์มแล้ว ผู้ผลิตจะขาดทุนเป็นเงิน 32 บาท ต่อน้ำหนักปลากะพงขาว 1 กิโลกรัม ซึ่งเป็นการขาดทุนในต้นทุนที่ประเมินขึ้น ได้แก่ ค่าเสียโอกาสของแรงงานในครัวเรือนและค่าเสียโอกาสของเงินลงทุน แต่เมื่อเปรียบเทียบเฉพาะต้นทุนเงินสดกับราคาปลากะพงขาว ณ ที่ฟาร์มแล้ว ผู้ผลิตจะได้กำไรเป็นเงิน 13บาท ต่อปลากะพงขาว 1 กิโลกรัมเกี่ยวกับสภาพการตลาดปลากะพงขาวในภาคใต้ ปรากฏว่า ผู้ประกอบการค้า ได้แก่ ผู้รวบรวมในหมู่บ้านซึ่งทำหน้าที่เป็นพ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก แพปลา และกิจการห้องเย็น ผู้มีบทบาทสำคัญในตลาดภายในประเทศ ได้แก่ พ่อค้าส่งและพ่อค้าปลีก ส่วนแพปลาและกิจการห้องเย็นจะมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นผู้ส่งออก การวิเคราะห์ส่วนเหลื่อมการตลาดภายในประเทศ พบว่า พ่อค้าปลีกได้ส่วนเหลื่อมการตลาดมากกว่าพ่อค้าส่ง โดยพ่อค้าปลีกได้รับส่วนเหลื่อมการตลาดร้อยละ 13.51 ของราคาขายปลีก และพ่อค้าส่งได้รับส่วนเหลื่อมการตลาดร้อยละ 7.97 ของราคาขายปลีก สำหรับผู้เลี้ยงปลากะพงขาวจะได้รับส่วนแบ่งร้อยละ 78.52 ของราคาขายปลีก
Other Abstract: The objectives of this thesis were to estimate production function, optimum use of inputs and marketing of Sea bass in 1983. In addition, the study also calculated cost and return of Sea bass culture by using data from the survey of Sea bass farms at Tambol Koh Yoh, Muang district, Songkhla province. Twenty-four samples were selected for interviewed by purposive sampling technique. The Cobb-Douglas production function was employed in this analysis. Fry, trash fish and family labour are identified as independent variables while Sea bass is the dependent variable. The technical efficiency test revealed that fry was inversely related with yield while the rest varied with the yield. This implied that fry has been overused to the extend that it reached the negative return stage and the other two variables were in the economic range. In the next computer run, fry was left out and only trash fish and family labour were employed. It was disclosed that the estimated elasticity were 0.62 and 0.43 for trash fish and family labour respectively and the combined elasticity was 1.05 which implied a constant return to scale. An economic efficiency test for the two variables revealed that the Sea bass producers were not operating in the optimum conditions. The average quantity of trash fish was found to be 150 kg per square metres and 9 mandays of labour per square metres while the optimal level should be 109 kg and 26 mandays per square metres for trash fish and labour respectively. The results of cost benefit analysis revealed that the Sea bass farmers were operating at a loss (32 baht for every kg. of fish produced) if all categories of coast were taken into account. However, if only cash costs were concerned, the producer made a sizable profit of about 13 baht per kg. Wholesalers, retailers, Pae-pla freezing room operates played important role in the Sea bass marketing in the study area. The wholesalers and retailers dominated the domestic market while Pae-Pla and freezing room operators control exported market. The marketing margin analysis showed that retailers were able to claim higher marketing margins than wholesalers: 13.51% vs 7.97% and the farmers enjoyed the lion share of 78.52%
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18476
ISBN: 9745640573
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narhumol_Nu_front.pdf341.9 kBAdobe PDFView/Open
Narhumol_Nu_ch1.pdf314.21 kBAdobe PDFView/Open
Narhumol_Nu_ch2.pdf720.69 kBAdobe PDFView/Open
Narhumol_Nu_ch3.pdf453.99 kBAdobe PDFView/Open
Narhumol_Nu_ch4.pdf471.44 kBAdobe PDFView/Open
Narhumol_Nu_ch5.pdf358.86 kBAdobe PDFView/Open
Narhumol_Nu_back.pdf572.36 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.