Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18567
Title: ผลของปริมาณกรดกำมะถันและสารละลายเอทานอลต่อปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชันของกรดไขมันจากน้ำมันมะพร้าว
Other Titles: Effect of sulfuric acid and aqueous ethanol to esterification of coconut oil fatty acid
Authors: ปิตินันต์ อักษร
Advisors: เดชา ฉัตรศิริเวช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: deacha.c@chula.ac.th
Subjects: น้ำมันมะพร้าว
เอสเทอริฟิเคชัน
Issue Date: 2553
Abstract: ปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชันของกรดไขมันจากน้ำมันมะพร้าวกับสารละลายเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยปริมาตรในถังปฏิกรณ์แบบแบตซ์ ณ อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ทำการศึกษาผลของเวลาที่ใช้ทำปฏิกิริยา สัดส่วนกรดไขมันต่อสารละลายเอทานอล และสัดส่วนกรดกำมะถันต่อสารละลายเอทานอลตั้งต้นตามลำดับ โดยพิจารณาค่าการเปลี่ยนแปลงกรดไขมันไปเป็นเอทิลเอสเทอร์ของกรดไขมัน ณ เวลาน้อยกว่า 2 ชั่วโมง ค่าการเปลี่ยนแปลงกรดไขมันที่มีเอทานอลอย่างมากเกินพอสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญกับเวลาที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ที่ภายหลังเวลา 2 ชั่วโมง ค่าการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ณ เวลา 2 ชั่วโมง การลดลงของค่าสัดส่วนกรดไขมันต่อสารละลายเอทานอล และการเพิ่มค่าสัดส่วนตัวเร่งต่อสารละลายเอทานอลทำให้ปฏิกิริยาเกิดได้ดีขึ้น ค่าสัดส่วนกรดไขมันต่อสารละลายเอทานอล และค่าสัดส่วนตัวเร่งต่อสารละลายเอทานอลที่เหมาะสมเท่ากับร้อยละ 2.4 และ 1 โดยน้ำหนักตามลำดับ ค่าการเปลี่ยนแปลงกรดไขมันสูงสุดเท่ากับร้อยละ 15.9 โดยโมล
Other Abstract: The esterification of coconut oil fatty acid with 10% v/v ethanol solution was carried out batch wisely at 50 ℃ C to investigate the effects of residence time, fatty acid to the ethanol solution ratio, and sulfuric acid to the ethanol solution reactant ratio, respectively, on conversion of fatty acid to fatty acid ethyl esters. For residence time less than 2 hrs, the conversion of fatty acid with extremely excess of ethanol was improved significantly with increase in residence time. However, the conversion was slightly increased as extending residence time beyond 2 hrs. For 2 hrs residence time, the reaction could be improved by decreasing the fatty acid to the ethanol solution ratio and increasing sulfuric acid to the ethanol solution ratio. The optimum fatty acid to the ethanol solution ratio and sulfuric acid to the ethanol solution ratio were 2.4 and 1 %wt, respectively. The maximum conversion of fatty acid was 15.9 %mol.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18567
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pitinan_ak.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.