Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18570
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธราพงษ์ วิทิตศานต์-
dc.contributor.authorปิยนุช ธนวรานิช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-03-24T07:32:20Z-
dc.date.available2012-03-24T07:32:20Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18570-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษากระบวนการแตกตัวเชิงเร่งปฏิกิริยาของน้ำมันมะพร้าวโดยใช้ซี โอไลต์ชนิด HZSM-5 ให้เป็นเชื้อเพลิงเหลวภายในเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็ก เพื่อศึกษาอิทธิพลตัวแปรต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อร้อยละผลได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันและองค์ประกอบที่ดีที่สุด ออกแบบการทดลองเป็นแบบ 2ᵏ แฟกทอเรียล ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย อุณหภูมิ 360-410 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา 30-60 นาที ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาร้อยละ 0.05-0.5 โดยน้ำหนัก และความดันแก๊สไฮโดรเจนเริ่มต้น 1-3 บาร์ การคำนวณด้วยโปรแกรม Design-Expert 6.0.10 พบว่าภาวะที่เหมาะสมคือ อุณหภูมิ 391.10 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา 30 นาที ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาร้อยละ 0.5 โดยน้ำหนัก และความดันแก๊สไฮโดรเจนเริ่มต้น 1 บาร์ ให้ร้อยละผลได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันมากที่สุด 69.58 โดยน้ำหนัก ร้อยละผลได้ผลิตภัณฑ์แก๊ส 21.87 โดยน้ำหนัก ร้อยละผลได้ผลิตภัณฑ์ของแข็ง 8.55 โดยน้ำหนัก เมื่อนำผลิตภัณฑ์น้ำมันมาวิเคราะห์หาการกระจายตัวของผลิตภัณฑ์ด้วยเครื่อง แก๊สโครมาโทกราฟแบบจำลองการกลั่น พบว่ามีปริมาณ แนฟทา เคโรซีน แก๊สออยล์เบา แก๊สออยล์ และกากน้ำมันหนัก ร้อยละ 21.93 11.49 27.07 2.54 6.56 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ และมีค่าร้อยละการเปลี่ยนกากน้ำมันหนัก 91.83 โดยน้ำหนัก เมื่อนำผลิตภัณฑ์น้ำมันที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยเครื่องฟูเรียร์ทรานสฟอร์ มอินฟราเรดสเปกโตรมิเตอร์ พบว่ามีหมู่ฟังก์ชั่นคล้ายกันกับในน้ำมันแกโซลีน ออกเทน 91en
dc.description.abstractalternativeThe aimed of this research was to study the catalytic cracking of coconut oil to liquid fuel over HZSM-5 in a small-reactor and to study the effects of parameters on liquid oil yield and product components by using 2ᵏ factorial of experimental design methodology. The studied parameters were temperature range of 360-410 ℃, residence time 30-60 min, amounts of HZSM-5 0.05-0.5 % by weight and initial hydrogen pressure 1-3 bar. The calculation from Design-Expert 6.0.10 program, the optimum condition was found that the temperature 391.10 ℃, residence time 30 min, amount of HZSM-5 0.5 % by weight and initial hydrogen pressure 1 bar were obtained for the maximum yield of liquid fuels 69.58 % by weight, 21.87 % by weight of gas yield and 8.55 % by weight of solid yield. Liquid products were analyzed by simulated distillation gas chromatograph. The products distribution were composed of naphtha, kerosene, light gas oil, gas oil and long residue 21.93, 11.49, 27.07, 2.54, 6.56 % by weight respectively and the conversion of long residue was 91.83 % by weight. The produced oil was analyzed by fourier transform infrared spectroscopy (FT-IR) which shown the structure similar to gasoline octane 91.en
dc.format.extent3022920 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1758-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเชื้อเพลิงเหลวen
dc.subjectการแตกตัวด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาen
dc.subjectน้ำมันมะพร้าวen
dc.titleเชื้อเพลิงเหลวจากน้ำมันมะพร้าวโดยการแตกตัวเชิงเร่งปฏิกิริยาบน HZSM-5en
dc.title.alternativeLiquid fuel from coconut oil by catalytic cracking over HZSM-5en
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเคมีเทคนิคes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisortharapong.v@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1758-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
piyanuch_th.pdf2.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.