Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18589
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชวลิต รัตนธรรมสกุล-
dc.contributor.authorชญานิศา บุญปกครอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-03-24T08:16:05Z-
dc.date.available2012-03-24T08:16:05Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18589-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractศึกษาผลของอัตราภาระสารอินทรีย์ ค่าความเร็วไหลขึ้นต่อประสิทธิภาพ และการทำงานของระบบอีจีเอสบี ที่มีอุปกรณ์แยกสามสถานะแบบสมมาตรและไม่สมมาตร ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตเอทานอล โดยใช้ถังปฏิกรณ์อีจีเอสบีขนาด 17 ลิตร อัตราสูบน้ำเข้าระบบเท่ากับ 34 ลิตร/วัน คงที่ตลอดการทดลอง โดยมีระยะเวลากักน้ำนาน 12 ชม. ศึกษาผลของอัตราภาระสารอินทรีย์ 10, 20, 30 และ 40 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ที่ความเร็วไหลขึ้นคงที่ 3 ม./ชม. และศึกษาผลค่าความเร็วไหลขึ้นที่ 3, 4, 5 และ 6 ม./ชม. ที่อัตราภาระสารอินทรีย์คงที่ 40 กก. ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ระบบอีจีเอสบีสามารถบำบัดน้ำเสียจากการผลิตเอทานอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่อัตราภาระสารอินทรีย์เท่ากับ 10-30 กก.ซีโอดี/ ลบ.ม.-วัน มีการกำจัดซีโอดีได้ใกล้เคียงกันคืออยู่ในช่วงร้อยละ 60.6-64.1 สัดส่วนการผลิตก๊าซมีเทนประมาณ 0.25-0.33 ลิตร/กรัม ซีโอดีที่ถูกกำจัด ที่อัตราภาระสารอินทรีย์ 40 กก. ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ระบบเริ่มมีประสิทธิภาพลดลง ทั้งที่ค่าพีเอชและค่าอัตราส่วนของกรดไขมันระเหยต่อสภาพด่างทั้งหมดของน้ำทิ้ง ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ระบบยังทำงานได้ ดังนั้นอาจเกิดจากปัจจัยอื่น เช่น ความเป็นพิษของน้ำเสีย การเพิ่มค่าความเร็วไหลขึ้นเป็นการเพิ่มอัตราส่วนการเวียนน้ำกลับ เป็นการเพิ่มด่างให้ระบบอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่าที่อัตราภาระสารอินทรีย์คงที่เท่ากับ 40 กก. ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีเพิ่มตามความเร็วไหลขึ้นที่สูงขึ้น แต่จะมีประสิทธิภาพลดลงที่ค่าความเร็วไหลขึ้นเท่ากับ 6 ม./ชม. สำหรับปริมาณของแข็งแขวนลอยน้ำทิ้งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 75-176 มก./ล. ซึ่งมีค่าค่อนข้างต่ำแสดงว่าระบบอีจีเอสบีที่มี อุปกรณ์แยกสามสถานะแบบสมมาตรและไม่สมมาตร มีประสิทธิภาพในการช่วยให้เกิดการตกตะกอนของของแข็งแขวนลอยได้ดี ที่อัตราภาระสารอินทรีย์และความเร็วไหลขึ้นที่สูงen
dc.description.abstractalternativeTo identify the result of organic loading rates, and up-flow velocity on the performance of EGSB in treating wastewater from ethanol distillery process. EGSB tank was 17 L, while the flow rate was kept constant at 34 L/d throughout all experiments. The retention time of EGSB tank was 12 hr. The organic loading rates were 10 - 40 kgCOD/m³-d. at the up-flow velocity of 3 m/hr. and the up-flow velocity of 3, 4, 5 and 6 m/hr. using organic loading rate of 40 kgCOD/m³-d. At organic loading rate of 10-30 kgCOD/m³-d, which the COD removal efficiencies were 60.6 - 64.1%. Approximate methane yield were 0.25 - 0.33 L/g COD removed. As the organic loading rates arrived 40 kg COD/ m3-d, EGSB efficiency decreased although pH and VFA/ALK were in suitable level. This might happen from other reasons such as toxicity. Introducing higher up-flow velocity significantly increased alkalinity of EGSB operation. At organic loading rates of 40 kgCOD/m³-d,EGSB efficiency increased when applied higher up-flow velocity, but EGSB efficiency decreased at the up-flow velocity arrived 6 m/hr. From the experiments found that EGSB reactors with non-symmetry and symmetry three phase separators were able to remove total suspended solid between 75-176 mg/L. The result showed that three phase separators help reduce sludge washing out problem at high organic loading rate.en
dc.format.extent5903019 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเอทานอล-
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีแบบไร้ออกซิเจน-
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีทางชีวภาพ-
dc.subjectEthanol-
dc.subjectSewage -- Purification -- Anaerobic treatment-
dc.subjectSewage -- Purification -- Biological treatment-
dc.titleระบบอีจีเอสบีที่ใช้อุปกรณ์แยกสามสถานะแบบสมมาตรและไม่สมมาตรสำหรับบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตเอทานอลen
dc.title.alternativeEGSB system with symmetry and non–symmetry three phase separators for treatment of ethanol plant wastewateren
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChavalit.R@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chayanisa_bo.pdf5.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.