Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18829
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ | - |
dc.contributor.author | ทัศนีย์ ตรีวรรณไชย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-28 | - |
dc.date.available | 2012-03-28 | - |
dc.date.issued | 2529 | - |
dc.identifier.isbn | 9745662631 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18829 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านนักศึกษา ตัวแปรด้านภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม และตัวแปรด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการจัดการศึกษากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลทุกคนที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ประจำภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2528 และเพื่อคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวแปรที่ศึกษากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตลอดจนสร้างสมการทำนาย และเปรียบเทียบความสำคัญของตัวแปรที่ศึกษาในการมีส่วนร่วมทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบวัดรูปแบบการเรียน แบบวัดทัศนคติต่อวิชาชีพพยาบาล แบบสำรวจบุคลิกภาพ ซี พี ไอ และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการจัดการศึกษา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแยกเป็นชั้นปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มหรือลดตัวแปรเป็นขั้นๆ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 1.นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 : สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวแปรที่ศึกษากับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่า 0.2252 ตัวทำนายที่ดีที่สุดมีเพียงตัวทำนายเดียวคือ ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดหลักสูตร (X34) ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 5.07 โดยมีสมการทำนายในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐานตามลำดับดังนี้ Ŷ = 1.5644 + 0.3915 (X34) Ž = 0.2252 (Z34) 2. นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 : สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวแปรที่ศึกษากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่า 0.6121 กลุ่มตัวทำนายที่ดีที่สุดประกอบด้วย 3 ตัวทำนายคือคะแนนเฉลี่ยของการเรียนพยาบาลปีที่ 1 (X1) บุคลิกภาพด้านการวางตนในสังคม (X14) และอาชีพบิดา (X29) ซึ่งสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 37.47 โดยมีสมการทำนายในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานตามลำดับ ดังนี้ Ŷ = 1.49314 + 0.5421 (X1) – 0.0247 (X14) + 0.1222 (X29) Ž = 0.5023 (Z1) – 0.2534 (Z14) + 0.1996 (Z29) 3. นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 : สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวแปรที่ศึกษากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่า 0.6226 ตัวทำนายที่ดีที่สุดมีเพียงตัวทำนายเดี่ยวคือ คะแนนเฉลี่ยของการเรียนพยาบาลปีที่ 2 (X1) ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 38.76 โดยมีสมการทำนายในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานตามลำดับดังนี้ Ŷ = 0.8715 + 0.6417 (X1) Ž = 0.6226 (Z1) 4. นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 : สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวแปรที่ศึกษากับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่า 0.7645 กลุ่มตัวทำนายที่ดีที่สุดประกอบด้วย 3 ตัวทำนายคือคะแนนเฉลี่ยของการเรียนพยาบาลปีที่ 3 (X1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการจัดการศึกษาด้านการจัดหลักสูตร (X34) และความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการจัดการศึกษาด้านระเบียบวินัยและข้อปฏิบัติทั่วไป (X37) ซึ่งสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 58.44 โดยมีสมการทำนายในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานตามลำดับ ดังนี้ Ŷ = -1.3586 + 0.8970 (X1) + 0.0432 (X34) + 0.0334 (X37) Ž = 0.6028 (Z1) + 0.2482 (Z34) + 0.1977 (Z37) | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were : (1) to study the relationships between variables, with regard to student factors, socio-economic factors, and opinion on educational conditions, and Learning achievement of all nursing students in the first semester of academic year 1985 at Prince of Songkhla University, (2) to calculate the multiple correlation coefficient, (3) to find regression equation and (4) to compare regression weights in prediction of their achievement. Four questionnaires on learning styles, attitude toward nursing profession, the California psychological inventory and opinion on the educational conditions were used to collect the data. The data were analyzed through multiple regression analysis by using computer program SPSS-X The major findings were as follows :- 1.First year nursing students : the multiple correlation coefficient between the predictor and the learning achievement was .2252. The significant predictor was opinion on curriculum (X34) which could explain 5.07 percent of the variance in learning achievement. The regression equation respectively in raw scores and standard scores were : Ŷ = 1.5644 + 0.3915 (X34) Ž = 0.2252 (Z34) 2. Second year nursing students : the multiple correlation coefficient between the predictors and the learning achievement was 0.6121. The significant predictors were GPA in the first year (X1) social presence (X14) and father’s occupation (X29) which could explain 37.47 percent of the variance in learning achievement. The regression equation respectively in raw scores and standard scores were : Ŷ = 1.49314 + 0.5421 (X1) – 0.0247 (X14) + 0.1222 (X29) Ž = 0.5023 (Z1) – 0.2534 (Z14) + 0.1996 (Z29) 3. Third year nursing students : the multiple correlation coefficient between the predictor and the learning achievement was 0.6226. The significant predictor was GPA in the second year (X1) which could explain 38.76 percent of the variance in learning achievement. The regression equation respectively in raw scores and standard scores were : Ŷ = 0.8715 + 0.6417 (X1) Ž = 0.6226 (Z1) 4. Fourth year nursing students : the multiple correlation coefficient between the predictors and the learning achievement was 0.7645. The significant predictor were GPA in the third year (X1), opinion on curriculum (X14) and opinion on regulations (X37) which could explain 58.44 percent of the variance in learning achievement. The regression equation respectively in raw scores and standard scores were : Ŷ = -1.3586 + 0.8970 (X1) + 0.0432 (X34) + 0.0334 (X37) Ž = 0.6028 (Z1) + 0.2482 (Z34) + 0.1977 (Z37) | - |
dc.format.extent | 446525 bytes | - |
dc.format.extent | 461184 bytes | - |
dc.format.extent | 720805 bytes | - |
dc.format.extent | 541763 bytes | - |
dc.format.extent | 936630 bytes | - |
dc.format.extent | 524836 bytes | - |
dc.format.extent | 576147 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะพยาบาลศาสตร์ -- หลักสูตร | en |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | en |
dc.subject | นักศึกษาพยาบาล -- ไทย -- สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคม | en |
dc.subject | การพยาบาล -- การศึกษาและการสอน | en |
dc.title | ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | en |
dc.title.alternative | Variables related to learning achievement of nursing students at Prince of Songkhla University | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิจัยการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tasanee_Tr_front.pdf | 436.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tasanee_Tr_ch1.pdf | 450.38 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tasanee_Tr_ch2.pdf | 703.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tasanee_Tr_ch3.pdf | 529.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tasanee_Tr_ch4.pdf | 914.68 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tasanee_Tr_ch5.pdf | 512.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tasanee_Tr_back.pdf | 562.64 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.