Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18851
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิชิต สุวรรณประกร-
dc.contributor.advisorนพรัตน์ ภูมิวุฒิสาร-
dc.contributor.authorธีรประภา บุญไทย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานคร-
dc.date.accessioned2012-03-28T14:34:24Z-
dc.date.available2012-03-28T14:34:24Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.isbn9745648388-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18851-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractผลิตภัณฑ์แก้สิว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน บำบัด หรือรักษาสิว ที่มีโอกาสทางด้านการตลาดจัดอยู่ในขั้นดี เนื่องจากคนในวัยที่จะเป็นสิวมีจำนวนเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ประกอบกับการที่มาตรฐานความเป็นอยู่ของผู้บริโภคสูงขึ้น ผู้บริโภคได้รับความรู้ความเข้าใจในการรักษาสุขภาพอนามัยมากขึ้น ในปัจจุบันได้มีผู้ปลิตผลิตภัณฑ์แก้สิวออกมาหลายยี่ห้อ ทำให้มีการแข่งขันกันมากในระหว่างผู้ผลิต ผู้เขียนสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของผลิตภัณฑ์แก้สิวเพื่อต้องการทราบ ถึงทัศนคติของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อผลิตภัณฑ์แก้สิว ประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษาอาจเป็นแนวทางในการเสนอแนะผู้ผลิต และผู้จำหน่ายเพื่อกำหนดส่วนผสมทางการตลาดที่เหมาะสม การศึกษาครั้งนี้ ผู้เขียนได้เน้นหนักไปในด้านการวิจัยด้วยการออกแบบสอบถาม เพื่อเก็บข้อมูลจากนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง โดยทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่มุ่งศึกษา คือ ทัศนคติ พฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์แก้สิว หลักเกณฑ์ละพฤติกรรมการซื้อ สมมติฐานในการศึกษา คือ ๑. นิสิตนักศึกษาเป็นเพศหญิงให้ความสนใจต่อปัญหาเรื่องสิวมากกว่านิสิตนัก ศึกษาที่เป็นเพศชาย ๒. เพศ ไม่มีความสัมพันธ์กับความชอบในการใช้ผลิตภัณฑ์แก้สิวที่มีรูปแบบต่างๆกั น ๓. ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แก้สิวของนิสิตนักศึกษาขึ้นอยู่ กับคุณภาพที่ได้รับการสนับสนุนจากคำแนะนำหรือคำรับรองของแพทย์ ในการทดสอบสมมติฐานดังกล่าว ผู้เขียนใช้การวิเคราะห์จากอัตราส่วนร้อยละ และการทดสอบด้วย ไคสแควร์ (Chi-square,X2) ผลจากการศึกษา พบว่านิสิตนักศึกษาทั้งเพศชายและเพศหญิงให้ความสนใจในการรักษาสิว วิธีการเป็นที่นิยมได้แก่การล้างหน้าบ่อยๆด้วยน้ำสะอาดหรือสบู่ทั่วไป และการใช้ผลิตภัณฑ์แก้สิว แต่จำนวนนิสิตนักศึกษาที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์แก้สิวในปัจจุบันมีจำนวนไม่มา กนัก เนื่องมาจากนิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่ยังมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผลิตภัณฑ์แก้สิว กล่าวคือ มีความรู้สึกว่าผลิตภัณฑ์แก้สิวไม่น่าเชื่อถือ โฆษณาเกินความเป็นจริง ส่วนผู้ที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์แก้สิวชอบใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบสบู่มากที่สุด แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบของผลิตภัณฑ์แก้สิวมิใช่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มี อิทธิพลต่อการเลือกซื้อ ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ คุณภาพที่น่าเชื่อถือ ซึ่งความเชื่อถือในคุณภาพของผลิตภัณฑ์เกิดจากประสบการณ์จากการเค ยใช้มาก่อนและได้ผลดี เกิดจากการที่ผลิตภัณฑ์เป็นยา ไม่ใช่เครื่องสำอาง และเกิดจากโฆษณาที่แจ้งว่าผลิตและควบคุมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ร้านค้าที่มีนิสิตนักศึกษานิยมซื้อผลิตภัณฑ์แก้สิว คือ ร้านขายยา อุปสรรคของผลิตภัณฑ์แก้สิว คือ นิสิตนักศึกษามีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผลิตภัณฑ์แก้สิว และพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์แก้สิวยังไม่ถูกต้อง กล่าวคือ ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งหรือฉลากอย่างเคร่งครัด ทำให้ไม่เกิดผลการรักษาอย่างสมบูรณ์ ข้อเสนอแนะของผู้ทำวิจัย ได้แก่ ๑. ผู้ผลิตควรสร้างทัศนคติที่นิสิตนักศึกษามีผลต่อผลิตภัณฑ์แก้สิวในทางที่ดี คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ นอกจากนี้หน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องควรกำหนดมาตรการในการคว บคุมผลิตภัณฑ์ให้รัดกุมยิ่งขึ้น เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แก้สิวและการใช้ไปสู่ผู้ บริโภค ๒. ผู้ผลิตควรชี้แจงและย้ำเตือนให้ผู้ใช้ปฏิบัติตามคำสั่งหรือฉลากอย่างเคร่งค รัดเพื่อประโยชน์ในการรักษา โดยการเพิ่มเนื้อที่ฉลาก ชี้ให้เห็นถึงผลเสียจากการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือฉลากอย่างเคร่งครัด หรือโดยการตั้งหน่วยแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้ใช้ ๓. ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายควรให้ความสนใจกลุ่มผู้ใช้เพศชาย เช่นเดียวกับเพศหญิง เนื่องจากเพศชายให้ความสนใจเกี่ยวกับการรักษาสิวไม่แตกต่างจากพศห ญิงตามที่พิสูจน์สมมติฐาน ๔. ด้านการจัดจำหน่าย ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายควรให้ความสนใจร้านขายยามากที่สุด ๕. ด้านการโฆษณา ควรสร้างโฆษณาเพื่อสร้างความมั่นใจในตัวผลิตภัณฑ์ มากกว่าโฆษณาด้วยการใช้ความเพ้อฝัน หรือทำให้ผู้บริโภคเกิดอารมณ์หรือความนึกคิดเกี่ยวกับความงามเป็นหลัก-
dc.description.abstractalternativeAcne remedy’s product is a product aims at preventing, eliminating or curing acnes. The marketing potential of the product are bright because of the ever increasing in population of certain ages for acnes. This together with higher consumers’ standard of living make consumers become more awear of their own health. Presently, there are several brands of acne remedy’s product which cause seriously competition among producers. Thus, the objective of the study is to find out university students’ attitudes towards acne remedy’s product. The finding may give some guidelines for producers and distributors to determine appropriate marketing strategies. The methodology used in collecting data in this study is questionairing . Questionnaires are handed to university students in Bangkok metropolitan area which is among the large target group of product. The main points studied are the using behavior and the buying behavior of the acne remedy’s product. The study is based on the following assumption 1. Female students pay attention to problem of acne more than male students. 2. Sex has no effect on preference of acne remedy’s products’ form. 3. The most important factor of the students buying acne remedy’s product is quality of the product which is supported, advised or recommened by doctor. The methodology used in testing hypothesis is analyzing from percentage ratio and Chi-square. The research found that University students of both sexes take it serious to curing acnes. The most popular practices are washing faces frequently with pure water or ordinary soap and using acne remedy’s product. There are now only small number of university students using acne remedy’s product because of the negative attitudes towards the acne remedy’s product that the acne remedy’s product is not trustworthy and the advertisements are exaggerate. As for the students ever used the acne remedy’s product, soap form is the most favorite. However the form of acne remedy’s product is not the most important factor influence buying. The most important factor is good quality. The believing is quality of the products come from good experience of using the product mostly asamedical product not as a cosmetic one, and also the product which are recommened by expert doctors. Drug stores are the most popular place for the student to buy acne remedy’s product. Difficulties of acne remedy’s product is firstly the students’ bad attitudes towards the products and the inappropriate behavior in using the products. They do not follow the instruction or the labels which lead to imperfect result of the products. Recommendations. 1. Establish positive attitudes towards acne remedy’s product by acquiring cooperation from government agencies concerned to better control over the products, giving consumers right information and getting producers to care more about consumers; safety. 2. Producer should warn and urge users to follow exactly what was said in the label by increasing label space indicating bad effects it not following the instruction or having users’ advising group available. 3. Producers and distributors should be equally interested in consumers of both sexes because the research found that males worry about theirs acnes as much as females do. should target at drug store. 5. For promotion, advertising should aim at establishing users’ confidence in the product itself rather than using fantasy type of advertising or trying to make consumers imagine about beauty. 4. As for distribution, the producer and distributors-
dc.format.extent366470 bytes-
dc.format.extent301869 bytes-
dc.format.extent330055 bytes-
dc.format.extent1202418 bytes-
dc.format.extent309627 bytes-
dc.format.extent438841 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสิวen
dc.subjectการตลาดen
dc.titleการศึกษาทัศนคติของนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อผลิตภัณฑ์แก้สิวen
dc.title.alternativeA study on the attitudes of college students in Bangkok Metropolitan area towards acne remedy's producten
dc.typeThesises
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Teeraprapa_Bo_front.pdf357.88 kBAdobe PDFView/Open
Teeraprapa_Bo_ch1.pdf294.79 kBAdobe PDFView/Open
Teeraprapa_Bo_ch2.pdf322.32 kBAdobe PDFView/Open
Teeraprapa_Bo_ch3.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Teeraprapa_Bo_ch4.pdf302.37 kBAdobe PDFView/Open
Teeraprapa_Bo_back.pdf428.56 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.