Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18947
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุเมธ ตันติเวชกุล-
dc.contributor.advisorชัยอนันต์ สมุทวณิช-
dc.contributor.authorสิริรัตน์ เรืองวงษ์วาร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-04-01T05:51:04Z-
dc.date.available2012-04-01T05:51:04Z-
dc.date.issued2521-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18947-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงบทบาททางการเมืองของนายควง อภัยวงศ์ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475 ถึง 2491 ซึ่งในช่วงระยะเวลาดังกล่าว นายควง อภัยวงศ์ได้มีบทบาททางการเมืองในตำแหน่งทางการเมืองที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีร่วมในคณะรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา และรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งประเภท 1 และประเภท2 ตลอดจนตำแหน่งหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่มีชื่อเสียงและมีบทบาทสำคัญในสมัยรัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์ และรัฐบาลพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ หลังจากจอมพลป. พิบูลสงครามได้สิ้นสุดอำนาจทางการเมืองเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2487 นายควง อภัยวงศ์ก็ได้รับการสนับสนุนจากนายปรีดี พนมยงค์ให้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 1 แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปีพ.ศ.2488 นายควง อภัยวงศ์ก็ได้กลายเป็นคู่แข่งทางการเมืองของนายปรีดี พนมยงค์ และในช่วงระยะนี้เองเป็นยุคของผู้นำฝ่ายพลเรือน ซึ่งนายควง อภัยวงศ์ก็ได้มีบทบาททางการเมืองเด่นชัดมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทสำคัญในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านในสมัยรัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์ และรัฐบาลพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อจอมพลป. พิบูลสงครามได้กลับเข้าสู่วงการเมืองอีกครั้งหนึ่งภายหลังรัฐประหาร 2490 นายควง อภัยวงศ์ได้ถูกดึงมาเป็นตัวกลางทำการจัดตั้งรัฐบาลและจากการรัฐประหารนี้เองเป็นผลให้นายปรีดี พนมยงค์ได้ถูกกำจัดอิทธิพลทางการเมืองจนต้องเดินทางลี้ภัยการเมืองออกไปนอกประเทศ ในทัศนะของผู้เขียนนายควง อภัยวงศ์เป็นนักการเมืองผู้หนึ่งซึ่งประสบความสำเร็จในชีวิตทางการเมืองตามรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยอาจพิจารณาได้จากหลังปีพ.ศ.2489 เป็นต้นมานายควง อภัยวงศ์จะได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครทุกครั้งโดยมีคะแนนเสียงสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับผู้สมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดพระนครด้วยกัน จนกระทั่งถึงพ.ศ.2501ซึ่งทางการให้ยกเลิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกภาพแห่งสภาผู้แทนราษฎร จึงอาจกล่าวได้ว่านายควง อภัยวงศ์เป็นผู้ก่อการหรือเป็นสมาชิกคณะราษฎรเพียงคนเดียวที่มีบทบาททางการเมืองโดยประชาชนเป็นฐานอำนาจ-
dc.format.extent640489 bytes-
dc.format.extent1338062 bytes-
dc.format.extent1256817 bytes-
dc.format.extent3050459 bytes-
dc.format.extent3671652 bytes-
dc.format.extent1281018 bytes-
dc.format.extent2840906 bytes-
dc.format.extent2772613 bytes-
dc.format.extent1113098 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectควง อภัยวงศ์, 2445-2511en
dc.titleบทบาททางการเมืองของนายควง อภัยวงค์ ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ถึง 2491en
dc.title.alternativeThe political role of Khuang Apaiwongse since the 1932 revolution to 1948en
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirirat_Ru_front.pdf625.48 kBAdobe PDFView/Open
Sirirat_Ru_ch1.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_Ru_ch2.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_Ru_ch3.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_Ru_ch4.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_Ru_ch5.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_Ru_ch6.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_Ru_ch7.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_Ru_back.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.