Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19078
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชัชชัย โกมารทัต | - |
dc.contributor.author | นฤป จักรปิง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.date.accessioned | 2012-04-16T07:01:06Z | - |
dc.date.available | 2012-04-16T07:01:06Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19078 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบโรปสคิปปิ้งแอโรบิกให้มีความเหมาะสมตามองค์ประกอบของการเต้นแอโรบิก และเพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้รูปแบบโรปสคิปปิ้งแอโรบิกที่มีต่อสุขสมรรถนะ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครนักเรียนหญิง โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์ อายุระหว่าง 10 – 14 ปี จำนวน 35 คน วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 เป็นการพัฒนารูปแบบโรปสคิปปิ้งแอโรบิก และช่วงที่ 2 เป็นการศึกษาผลของการใช้รูปแบบโรปสคิปปิ้งแอโรบิก โดยการทดลองเต้นโรปสคิปปิ้งแอโรบิกเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการทดสอบสุขสมรรถนะ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์โดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพสำหรับเยาวชนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2552 ประกอบด้วย 5 รายการ คือ สัดส่วนของร่างกายด้วยการหาค่าดัชนีมวลกาย ความอ่อนตัววัดด้วยการนั่งงอตัวไปข้างหน้า ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อท้องทดสอบด้วยการลุก – นั่ง 1 นาที ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกายทดสอบด้วยการดันพื้น 30 วินาที ความอดทนของระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตทดสอบด้วยการวิ่งระยะทาง 1200 เมตร สำหรับนักเรียนหญิงอายุ 7 – 12 ปี หรือวิ่งระยะทาง 1600 เมตร สำหรับนักเรียนหญิงอายุ 13 – 18 ปี เพิ่มเติมด้วยการวัดอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก วัดความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และวัดความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว และสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลอง 4 สัปดาห์และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One – way analysis of variance with repeated measures) และทดสอบความมีนัยสำคัญของความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีของตูกี (เอ) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบโรปสคิปปิ้งแอโรบิกที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบด้วยการกระโดดเชือกในท่าต่าง ๆ รวม 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นอบอุ่นร่างกายมี 20 ท่า ใช้เวลา 6 นาที ขั้นปฏิบัติการมีท่าเต้นโรปสคิปปิ้งแอโรบิก 72 ท่า ใช้เวลา 18 นาที และขั้นผ่อนคลายมี 20 ท่า ใช้เวลา 6 นาที รวม 30 นาที มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.89 – 1.00 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาสุขสมรรถนะได้ 2.หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ที่ดีขึ้น กลุ่มตัวอย่างมีสุขสมรรถนะได้แก่ สัดส่วนของร่างกาย ความอ่อนตัว ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อท้อง ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกาย ความอดทนของระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก และความดันโลหิตที่ดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการเต้นโรปสคิปปิ้งแอโรบิกในระดับมากที่สุด สรุปได้ว่า รูปแบบโรปสคิปปิ้งแอโรบิกที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีคุณภาพดีและสามารถนำไปใช้พัฒนา สุขสมรรถนะของวัยรุ่นหญิงตอนต้นได้ | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to develop a suitable rope skipping aerobics model which was similar to an aerobic dance composition and to compare the effects of rope skipping aerobics on health-related fitness. The subjects were 35 female volunteers of Wat Pradoo Thammatipat School, aged between 10 – 14 years old. The experimentation was divided into two sessions: the first session was to develop the rope skipping aerobics model and the second session was to study the effects of rope skipping aerobics by performed the rope skipping aerobics for 8 weeks, 3 days a week, 30 minutes a day. Health-related fitness was tested before the experimentation, after 4 weeks, and 8 weeks with the health-related fitness test from Thai Health Promotion Foundation in 5 items: body composition with body mass index (BMI), flexibility with sit and reach, muscular strength and muscular endurance of abdominal with sit-ups 1 minute, muscular strength and muscular endurance of upper body with push-up 30 seconds, cardiovascular and respiratory endurance with 1200 meter-running for female student age 7 – 12 years old or 1600 meter-running for female student age 13 – 14 years old, and the additional variables were resting heart rate, systolic blood pressure, and diastolic blood pressure. A questionnaire was answered after 4 weeks, and 8 weeks of the experimentation to test the subject satisfaction. The obtained data were then statistically analyzed in term of means and standard deviation. One-way analysis of variance with repeated measures and multiple comparison by Tukey (a) were employed for statistical significance at the .05 level.The results were as follows : 1.The development of rope skipping aerobics model was consisted of 20 warm-up positions, 72 rope skipping aerobics positions and 20 cool-down positions. The content validity was between 0.89 – 1.00. 2.After 4 weeks, and 8 weeks of the experimentation, health-related fitness (body composition, flexibility, muscular strength and muscular endurance of abdominal, muscular strength and muscular endurance of upper body, cardiovascular and respiratory endurance) and the additional variables such as resting heart rate, systolic blood pressure, and diastolic blood pressure were found to be significantly better at the significant level of .05. 3.It was also found that subjects were satisfied with the rope skipping aerobics at a very good level. It could be concluded that the constructed rope skipping aerobics model could promote the health-related fitness of the early adolescent females. | en |
dc.format.extent | 7664780 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1782 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | แอโรบิก (กายบริหาร) | en |
dc.subject | การออกกำลังกายสำหรับสตรี | en |
dc.subject | การออกกำลังกาย | en |
dc.title | การพัฒนารูปแบบโรปสคิปปิ้งแอโรบิกเพื่อสุขสมรรถนะสำหรับวัยรุ่นหญิงตอนต้น | en |
dc.title.alternative | A development of rope skipping aerobics model towards health-related fitness for early adolescent females | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การกีฬา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Chuchchai.G@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1782 | - |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Naruep_ju.pdf | 7.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.