Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19099
Title: การจำแนกกลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยวิธีวิเคราะห์ตัวประกอบ
Other Titles: Regionalization of the provinces in the North Eastern region by factor analysis
Authors: สุดา กวางวโรภาส
Advisors: สุชาดา กีระนันทน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: suchada.ki@acc.chula.ac.th
Subjects: สถิติศาสตร์
ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จำเป็นต้องมีการกำหนดพื้นที่เพื่อเป็นขอบเขตในการกำหนดเป้าหมายของการพัฒนา การจำแนกพื้นที่และทราบถึงปัจจัยที่สำคัญในพื้นที่จึงมีความสำคัญต่อการวางแผนมาก การวิจัยนี้ ใช้วิธีวิเคราะห์ตัวประกอบของตัวแปรที่ใช้วัดความสำคัญรายจังหวัด โดยมีตัวชี้นำทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ประชากร การเกษตร และสาธารณูปโภค เพื่อจำแนกกลุ่มและค้นหาตัวแปรที่สำคัญในกลุ่ม จากการวิจัย พบว่าตัวแปรที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ความยาวถนนและพื้นที่ที่สามารถเพาะปลูกได้ แสดงว่า การเข้าถึงพื้นที่และ ความอุดมสมบูรณ์ของที่ดิน เป็นปัจจัยที่สำคัญในการวางแผนพัฒนา จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มพื้นที่เด่นมี 4 จังหวัด คือ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่ จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งนี้จากการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3-4 มีส่วนทำให้กลุ่มจังหวัดเหล่านี้เป็นกลุ่มเมืองหลักของภาค ตัวแปรที่สำคัญในกลุ่มนี้คือ จำนวนประชากรเมือง ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าในครัวเรือน ร้านค้า และอุตสาหกรรม พื้นที่ชลประทาน ยอดเงินฝากและยอดเงินกู้ ซึ่งแสดงถึงความเป็นเมืองสูง มีการบริการทางด้านสาธารณูปโภค และสาธารณูปการที่อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตอย่างชาวเมือง มีการออมทรัพย์ และการลงทุนทางด้านการค้าและอุตสาหกรรมสำหรับกลุ่มพื้นที่ด้อยมี 12 จังหวัด คือ จังหวัดนครพนม จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดสกลนคร จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดหนองคาย จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดกาฬสินธ์ จังหวัดเลย และจังหวัดยโสธร เป็นกลุ่มที่ได้รับความสนใจในการพัฒนาจากรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาไม่เท่าที่ควร ประกอบกับลักษณะภูมิประเทศ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้จังหวัดเหล่านี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพื้นที่ด้อย ตัวแปรที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ จำนวนครัวเรือนเกษตร พื้นที่เพาะปลูกสุทธิ จำนวนประชากรจังหวัด และยอดเงินกู้ ซึ่งแสดงถึงความเป็นชนบท และประชากรอยู่ในภาคการเกษตรค่อนข้างสูง และมีความต้องการเงินทุนสูง ในการทดสอบสมมุติฐานว่า กลุ่มจังหวัดทั้ง 2 มีความแตกต่างกันหรือไม่ พบว่า ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% กลุ่มจังหวัดทั้งสองมีความแตกต่างกัน
Other Abstract: In the arena of economic and social development planning, it is necessary to delineate target area for development. Specification of planning area and knowledge of area important factors are thus essential for planning purpose. In this research, factor analysis of variables measuring the importance of provinces in terms of economic, social, population, agricultural and infrastructural indicaters was done. The purposes are to specify groups and look for important variables within groups. The research finding points that the important variables of the Northeastern region are length of roads and planted areas, implying that accessibility to any area and fertile land are important factors in development. The Provinces in the region can be classified into two groups, namely, the superior area group and the inferior area group. The four provinces in the former area group are Nakornrajjasrima, Kornkhan, Undorn Thanee and Ubonrattathanee. As the consequences of the Third and Fourth Five-year National Economic and Social Development Plans, these four provinces were induced to be the principal cities of the region. Important variables in this group are population in the urban areas, quantity of households electricity consumption, number of retail shops, industries, irregated areas, total bank deposits and loans. These variables are considered to reflect the highly urbanized character with agglomeration of infrastructural survices and utilities facilitating the urban living. Furthermore there are high rate savings and commercial and industrial enterprises. For the inferior area group, the twelve provinces are Nakornpanom, Surin, Sakonnakorn, Bureerum, Nongkai, Roi-et, Mahasalakarm, Chaiyapum, Srisaket, Kalasin, Loi, and Yasothorn. The group received less Government attention in past development. Another characteristic of this area group is its inferior physical geography as well as its inferior soil. Important variables of these group include number of agricultural households, net planted area, number of provincial population and total bank loans. These variables indicate the rural entity where most of the population are in the agricultural sector and there is a high demand for loans. In testing the hypothesis that the two area groups are different, it is found that the two groups are different at 95% significance level.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19099
ISBN: 9745612898
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suda_Kw_front.pdf391.33 kBAdobe PDFView/Open
Suda_Kw_ch1.pdf398.81 kBAdobe PDFView/Open
Suda_Kw_ch2.pdf468.84 kBAdobe PDFView/Open
Suda_Kw_ch3.pdf328.8 kBAdobe PDFView/Open
Suda_Kw_ch4.pdf608.86 kBAdobe PDFView/Open
Suda_Kw_ch5.pdf280.23 kBAdobe PDFView/Open
Suda_Kw_back.pdf386.57 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.