Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19177
Title: การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิตด้วยกิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และทักษะการผลิตผลงาน
Other Titles: A development of a training program for undergraduate students with art activities to develop creative thinking and productive skills
Authors: ศิริพงษ์ เพียศิริ
Advisors: ไพฑูรย์ สินลารัตน์
อำไพ ตีรณสาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: paitoon@dpu.ac.th, Paitoon.Si@chula.ac.th
Ampai.Ti@Chula.ac.th
Subjects: การศึกษาขั้นอุดมศึกษา
ความคิดสร้างสรรค์
ศิลปกรรม
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของนักศึกษาที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีทักษะในการผลิตผลงาน เพื่อศึกษาแนวคิดการจัดการศึกษาด้วยกิจกรรมศิลปะ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และทักษะการผลิตผลงาน และเพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมนักศึกษาด้วยกิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และทักษะการผลิตผลงาน ผู้วิจัยได้สร้างกรอบแนวคิดของหลักสูตรฝึกอบรม หลักสูตรฝึกอบรมฉบับต้นแบบ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ และนำไปทดลองใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา 2550 จำนวน 30 คน ทำการเลือกแบบเจาะจง วิธีการวิจัยแบ่งเป็นสี่ขั้นตอน ขั้นตอนแรกศึกษากรอบแนวคิดของหลักสูตรฝึกอบรม ขั้นตอนที่ 2 สร้างหลักสูตรฝึกอบรม ขั้นตอนที่ 3 ทดลองและวิเคราะห์ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม และขั้นตอนที่ 4 ปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม โดยผ่านการประเมินประสิทธิภาพจากการจัดประชุมกลุ่มย่อยผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ได้ผลการวิจัยดังนี้ 1. หลักสูตรฝึกอบรมนักศึกษาด้วยกิจกรรมศิลปะ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และทักษะการผลิตผลงาน ประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผล โดยสร้างขึ้นให้สอดคล้องกับคุณลักษณะของนักศึกษาที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีทักษะในการผลิตผลงาน และแนวการจัดการศึกษาด้วยกิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และทักษะการผลิตผลงาน รูปแบบ IBCPA Model ประกอบด้วย 1. ขั้นกระตุ้นจินตนาการ (Imagine) 2. ขั้นระดมสมอง (Brainstorming) สามารถแสดงเป็นภาพได้ดังนี้ 3. ขั้นสร้างสรรค์ผลงาน (Creating) 4. ขั้นนำเสนอผลงาน (Presenting) และ 5. ขั้นประเมินผล (Assessing) เป็นพื้นฐานสำคัญในการจัดการฝึกอบรม ซึ่งผลของการพัฒนาทำให้ได้เอกสารหลักสูตรฝึกอบรมซึ่งประกอบด้วย แผนการสอนจำนวน 16 แผน คู่มือผู้สอน คู่มือผู้เรียน และแบบประเมินต่างๆ 2. คะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาหลังการฝึกอบรม สูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. คะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาที่ได้รับการฝึกอบรม สูงกว่านักศึกษาที่ไม่ได้รับการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. คะแนนเฉลี่ยด้านทักษะการผลิตผลงานของนักศึกษาที่ได้รับการฝึกอบรม ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ที่ร้อยละ 70
Other Abstract: The objectives of this research were to study the characteristics of students with creative thinking and productive skills; and to develop a training program for students by using art activities to develop creative thinking and productive skills. The researcher designed the conceptual framework of the training program, the prototype of the training program passed the quality examination by the experts and was used with purposively selected sample group of 30 third year students at Khon Kaen University in the academic year of 2007. The research methodology included 4 steps: firstly, studying the conceptual frame work of the training program; secondly, creating the training program; thirdly, experimenting and analyzing the results from using the training program and fourthly, improving the training program by means of conducting a focus group to collect comments and suggestions from the experts. The data were analyzed by using means, standard deviation and t-test. The results are shown as below: 1. The training program for undergraduate students with art activities to develop creative thinking and productive skills composed of principle, objective, contents, learning and teaching activities, and evaluation which were considered in accordance with the characteristics of students with creative thinking and productive skills and the approach to arrange the study by art activities to develop creative thinking and productive skills, the IBCPA model (Imagine, Brainstorming, Creating, Presenting, and Assessing). The results of this research bring into the training program module composed 16 lesson plans, the teacher's manual, the student's manual, and evaluation forms. 2. After the training, the students in the experimental group gained means scores of creative thinking higher than before the training with the statistical significance level at 0.05. 3. After the training, the students in the experimental group gained means scores of creative thinking higher than the students in the control group with the statistical significance level at 0.05. 4. After the training, the students in the experimental group gained means scores of productive skills passing the set critieria of 70 percent.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19177
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.737
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.737
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
siribong_be.pdf3.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.