Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19213
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุกรี รอดโพธิ์ทอง-
dc.contributor.advisorทวีวัฒน์ ปิตยานนท์-
dc.contributor.authorสุจิตรา เขียวศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-04-25T08:10:43Z-
dc.date.available2012-04-25T08:10:43Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19213-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบสอบบนเว็บวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้การช่วยเสริมศักยภาพเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบสอบบนเว็บที่พัฒนาขึ้น 3) นำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบสอบบนเว็บวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้การช่วยเสริมศักยภาพเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การสร้างรูปแบบการเรียนการสอน โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสารและการศึกษาความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 22 ท่าน โดยใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง ระยะที่ 2 การทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยนำรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนท้ายหาด จ. สมุทรสงคราม จำนวน 25 คน วัดทักษะการแก้ปัญหาก่อนและหลังเรียนและเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ t-test ระยะที่ 3 การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบสอบบนเว็บวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้การช่วยเสริมศักยภาพเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ผลการวิจัย 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียนการสอน และ 4) การวัดและประเมินผล หลักการของรูปแบบเน้นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสงสัย กระบวนการสืบสอบ การช่วยเสริมศักยภาพโดยผู้สอนและเครื่องมือซอฟต์แวร์ และภาระงานที่เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน วัตถุประสงค์ของรูปแบบมุ่งพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กระบวนการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียม 2) ขั้นการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลใช้การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นพบว่า นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีการศึกษาจำนวน 6 ท่าน มีความเห็นว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to 1) develop a scaffolding web-based inquiry model to develop problem solving skills of lower secondary school students 2) evaluate the effectiveness of the developed model, and 3) propose a scaffolding web-based inquiry model for science subject to develop problem solving skills of lower secondary school students. The research procedure was divided into three phases. The first phase was the development of a scaffolding web-based inquiry model by analyzing and synthesizing related documents. Modified Delphi technique was used to survey twenty-two experts’ opinion on the developed model. The second phase was the evaluation of the effectiveness of the developed model by implementing the model with 25 Mathayomsuksa three students at Thaihaad school, Samutsongkhram. The problem solving skills of the subjects were assessed before and after the experiment. A dependent t-test was used to compare pretest and posttest results. The third phase was the verification of the developed model by the experts. The research findings were as follows 1. The scaffolding web-based inquiry model consisted of principles, objective, instructional process, and evaluation. The principles emphasized on curiosity of learners, inquiry process, systematic learning support by teacher and software tools and appropriate task assignment. The objective of the model was to develop problem solving skills of lower secondary school students. The instructional process was divided into two stages: 1) preparation stage and 2) inquiry learning stage. The learning evaluation was authentic assessment. 2. The analysis of pre-test and post-test scores of the subjects showed a significant improvement of problem solving skills at .05 level. 3. The comment from six experts on educational technology has confirmed that the model was effective and suitable for lower secondary school students.en
dc.format.extent6810214 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1044-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้en
dc.subjectการเรียนการสอนผ่านเว็บen
dc.subjectการแก้ปัญหาen
dc.subjectระบบการเรียนการสอนen
dc.subjectวิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen
dc.titleการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบสอบบนเว็บวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้การช่วยเสริมศักยภาพเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นen
dc.title.alternativeDevelopment of a scaffolding web-based inquiry model for science subject to develop problem solving skills of lower secondary school studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSugree.R@chula.ac.th-
dc.email.advisorTaweewat.p@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1044-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suchittra_kh.pdf6.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.