Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19254
Title: การศึกษาเปรียบเทียบแรงเฉือนปอกของปลอกโลหะรัดฟัน ด้วยกลาสไอโอโนเมอร์และซิงค์ฟอสเฟตซีเมนต์
Other Titles: Shear/Pell strength comparison between glassionomer and zinc phosphate cements for orthodontic banding
Authors: ทรงชัย นครน้อย
Advisors: วัชระ เพชรคุปต์
ชลธชา ห้านิรัติศัย
Advisor's Email: Vachara.Ph@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ทันตกรรมจัดฟัน
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแรงเฉือนปอกของกลาสไอโอโนเมอร์ กับซิงค์ฟอสเฟตซีเมนต์ในการยึดปลอกโลหะรัดฟันกับตัวฟัน ในงานทันตกรรมจัดฟัน ตลอดจนศึกษาถึงลักษณะของความล้มเหลวของกลาสไอโอโนเมอร์และซิงค์ฟอสเฟต ซีเมนต์ในการยึดปลอกโลหะรัดฟัน กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือฟันกรมน้อยซี่ที่ 1 ซึ่งได้จากการถอนฟันในผู้ป่วยทางทันตกรรมจัดฟัน ซึ่งต้องถอนฟันกรามน้อยซี่ที่ 1 ทั้ง 4 ซี่ จำนวน 30 ราย โดยแบ่งฟันตัวอย่างที่ได้จากการถอนฟันในคนไข้รายเดียวกันออกเป็นคู่ คือ ฟันกรามน้อยบนด้านขวาและด้านซ้าย ฟันกรามน้อยล่างด้านขวาและด้านซ้าย ปลอกโลหะรัดฟัน, กลาสไอโอโนเมอร์และซิงค์ฟอสเฟตซีเมนต์ผลิตโดยบริษัท Ormco ทำการยึดปลอกโลหะรัดฟันที่เลือกขนาดให้เหมาะสมกับฟันแต่ละซึ่ ในด้านหนึ่งด้วยกลาสไอโอโนเมอร์และอีกด้านหนึ่งด้วยซิงค์ฟอสเฟตซีเมนต์ หลังจากปฏิกิริยาก่อตัวของซีเมนต์ไปแล้ว 24 ชั่วโมง นำไปวัดหาค่าเฉลี่ยแรงเฉือนปอกทดสอบทางสถิติโดย t-test พบว่า 1.มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.01) ระหว่างค่าเฉบี่ยแรงเฉือนปอกของกลาสไอโอโนเมอร์และซิงค์ฟอสเฟตซีเมนต์ ในการยึดปลอกโลหะรัดฟันในฟันกรามน้อยซี่ที่ 1 2.ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.01) ระหว่างค่าเฉลี่ยแรงเฉือนปอกของกลาสไอโอโนเมอร์ ในการยึดปลอกโลหะรัดฟันในฟันกรามน้อยซี่ที่ 1 บนและล่าง และความล้มเหลวในการยึดส่วนใหญ่เกิดระหว่างตัวซีเมนต์ กับปลอกโลหะรัดฟัน 3.ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>.01) ระหว่างค่าเฉลี่ยแรงเฉือนบอกของซิงค์ฟอสเฟตซีเมนต์ ในการยึดปลอกโลหะรัดฟันในฟันกรามน้อยซี่ที่ 1 บนและล่าง และความล้มเหลวในการยึดส่วนใหญ่เกิดจากภายในตัวซีเมนต์เอง
Other Abstract: The purposes of this research were to compare the shear/peel strength between a glassionomer cement and a zinc phosphate cement for cementation of orthodontic bands, and to study the frequency of failure location that occurs. One hundred and twenty sound, extracted human premolar teeth were selected from orthodontic patients who were extracted 4 first premolars. The teeth of the same patients were devided into two groups (upper premolars and lower premolars). The cements and bands were the products of Ormco's. Cement selected bands which were fitted on each tooth by glassionomer cement on one side and zinc phophate cement on the other. Shear/peel strength was tested 24 hours after cementation. The results were statistically analyzed using T-test. Research Results : 1.There was significant difference between shear/peel strength of a glassionomer cement and zine phosphate cement (p<0.01). 2.Shear/peel strength of glassionomer cement was not significant difference between upper and lower premolars (p>0.01). The frequency of failure location mostly occurred between cement and the stainless steel band. 3.Shear/peel strength of a zine phoshate cement was not significant difference between upper and lower premolars (p>0.01). The frequency of failure location mostly occurred within the cement.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมจัดฟัน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19254
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
songchai_na.pdf5.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.