Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1936
Title: จิตวิญญาณและความต้องการด้านจิตวิญญาณตามประสบการณ์ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะไม่ปรากฏอาการ
Other Titles: Spirituality and spiritual needs based on asymptomatic HIV experiences
Authors: วะนิดา น้อยมนตรี, 2518-
Advisors: สุรีพร ธนศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Sureeporn.T@Chula.ac.th
Subjects: ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
ปรากฏการณ์วิทยา
จิตวิญญาณ
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์ความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะที่ไม่ปรากฏอาการ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาของ Husserl Phenomenology เก็บข้อมูลในผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะไม่ปรากฏอาการที่ยินยอมเข้าร่วมวิจัย 10 ราย โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การบันทึกเทปและการบันทึกภาคสนาม นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีของ Colaizzi ผลการศึกษาพบว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะไม่ปรากฏอาการให้ความหมายของจิตวิญญาณเป็น 4 ประเด็น คือ 1) การเป็นที่รัก 2) การได้รับความห่วงใย 3) การได้รับกำลังใจและ 4) สิ่งยึดมั่นสูงสุดในชีวิต นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงประเด็นของภูตผี และการรับรู้ของจิต ความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะไม่ปรากฏอาการประกอบด้วย 6 ประเด็น คือ 1) ต้องการที่พึ่งพิงทางใจ 2) ต้องการมีชีวิตอยู่ยาวนาน 3) ต้องการการให้อภัยและการแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด 4) ต้องการการยอมรับจากสังคม 5) มีความหวัง และ 6) ต้องการช่วยเหลือเพื่อนผู้ติดเชื้อ จากการวิจัยในครั้งนี้ทำให้เข้าใจประสบการณ์ความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะไม่ปรากฏอาการคือสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุดในชีวิตของผู้ติดเชื้อซึ่งเมื่อได้รับการตอบสนองแล้วจะช่วยให้ผู้ติดเชื้อมีชีวิตอยู่อย่างมีความผาสุก ใช้เป็นแนวทางในการประเมินและวางแผนการพยาบาลด้านจิตวิญญาณในผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้อย่างเป็นองค์รวม
Other Abstract: The purpose of this study was to explore spirituality and spiritual needs experience of asymptomatic HIV patients. Husserl Phenomenology method was employed. There were 10 asymptomatic HIV volunteers to participate in this study. An In-depth interview, audiotape and field note were performed to collect data. Tape was transcribed verbatim. Data were analyzed by Colaizzi's method. The meanings of spirituality were categorized into 4 groups: 1) feeling of being love, 2) feeling of being care, 3) feeling of encourage, and 4) commitment. In addition, spirits and perception about higher being were also mentioned. An experiences of spiritual needs were categorized into 6 groups : 1) need for commitment with faith/mystery, 2) need for living, 3) need for forgiving, 4) need for accepting, 5) need for hope, and 6) need for to help another/charity. The result of this study provided an understanding of spiritual needs of asymptomatic HIV patients that nurses can planning and providing spiritual care.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1936
ISBN: 9741763298
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanida.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.