Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19384
Title: การประกอบสร้างภาพเพื่อการโหยหาอดีตในรายการ "วันวานยังหวานอยู่"
Other Titles: A social construction of nostalgia in "Wan Warn Yang Wan Yoo" Program
Authors: สุวรรณมาศ เหล็กงาม
Advisors: สุธี พลพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Sutee.P@chula.ac.th
Subjects: รายการโทรทัศน์
โทรทัศน์ -- การผลิตและการกำกับรายการ
Television programs
Television -- Production and direction
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสำรวจเนื้อหาที่สะท้อนให้เห็นถึงภาพในอดีตในรายการวันวานยังหวานอยู่ 2) เพื่อวิเคราะห์วิธีการประกอบสร้างภาพเพื่อการโหยหาอดีตในรายการวันวานยังหวานอยู่ และ 3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความสนใจที่เข้ามารับชมรายการและความเข้าใจความหมายของภาพเพื่อการโหยหาอดีตที่รายการวันวานยังหวานอยู่นำเสนอ ของผู้ชมคนรุ่นเก่าและผู้ชมคนรุ่นใหม่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ (Textual Analysis) ของรายการวันวานยังหวานอยู่ ทำการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ผลิตรายการเพื่อนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ และสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ชมรายการเพื่อนำมาวิเคราะห์ประเด็นด้านผู้รับสารด้วย ผลการวิจัยพบว่า เนื้อหารายการวันวานยังหวานอยู่สะท้อนให้เห็นถึงภาพอดีตในหลากหลายแง่มุมทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ จากการวิเคราะห์เนื้อหารายการพบว่า 1) เนื้อหารายการมีวันวานของคนทุกอายุ 2) มีเนื้อหาที่เป็นวันวานของแขกรับเชิญมากกว่าเนื้อหาที่เป็นวันวานของสังคม และ 3) เนื้อหารายการสะท้อนให้เห็นถึงภาพอดีตใน 2 ลักษณะคือ เนื้อหาที่สะท้อนถึงภาพอดีตที่ได้ผ่านพ้นไปแล้ว และเนื้อหาที่สะท้อนถึงสิ่งที่เคยมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในอดีตแต่ขาดหายไปในสังคมปัจจุบัน โดยการนำเสนอเนื้อหาอดีตจะมีลักษณะการประกอบสร้างความหมายใน 2 แบบ คือ การประกอบสร้างความหมายเพื่อการย้อนอดีต (Retro) และการประกอบสร้างความหมายเพื่อการโหยหาอดีต (Nostalgia) ด้านวิธีการประกอบสร้างความหมายให้กับอดีตในรายการวันวานยังหวานอยู่ได้ปรากฏลักษณะที่สอดคล้องกับหลักการของแนวคิดยุคหลังสมัยใหม่ใน 5 ลักษณะ คือ การผสมผสาน (Hybrid) การจำลอง (Simulation) การเล่าเรื่องแบบไม่ลำดับเวลา (non-linear) การตัดแปะ (Cut and Paste) และการทำซ้ำ (Repetition) ประเด็นด้านผู้รับสารพบว่า ผู้ชมคนรุ่นเก่าและผู้ชมคนรุ่นใหม่มีความสนใจที่เข้ามารับชมรายการในสองประเด็นเดียวกันคือ มีความสนใจในการดำเนินรายการของพิธีกร และความสนใจในการนำเสนอเนื้อหาย้อนเรื่องราวในอดีต ด้านการตีความพบว่า 1) ปัจจัยความแตกต่างด้านคลังแห่งความรู้ทางสังคมจากประสบการณ์ที่มีเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตของผู้ชมแต่ละคนมีผลต่อการถอดรหัสความหมายมากกว่าปัจจัยความแตกต่างด้านอายุ และแม้ว่าผู้ชมจะมีการตีความที่แตกต่างหลากหลายในส่วนของรายละเอียดปลีกย่อย แต่ทว่าท้ายที่สุดการตีความหมายก็จะอยู่ภายในกรอบความหมายที่เป็นใจความหลักๆตามที่ผู้ผลิตรายการเข้ารหัสความหมายไว้ 2) การตีความของผู้ชมเป็นการตีความแบบ Retro เสียส่วนใหญ่ และมีเพียงส่วนน้อยที่เป็นการตีความแบบ Nostalgia 3)ปัจจัยที่สำคัญต่อการตีความคือประสบการณ์ของผู้ชมที่จะนำมาทาบกับอดีตที่นำเสนอในรายการ
Other Abstract: The objectives of this qualitative research were to study 1) exploring contents that reflect past images in “Wan Warn Yang Wan Yoo” Program; 2) analyzing a method of social construction of nostalgia in “Wan Warn Yang Wan Yoo” Program; and 3) analyzing and comparing the interest in watching the program and understanding the meaning of past images presented by “Wan Warn Yang Wan Yoo” Program of old generation and new generation of viewers. The study was based on 1) the textual analysis approach; 2) in-dept interviews with program production team; 3) in-dept interview with audiences. It was found from the research that contents of “Wan Warn Yang Wan Yoo” Program reflects past images in many aspects that would reflect the past images, both negative and positive. According to the analysis of contents, it was found that 1) the contents of program contain past of every generations; 2) the contents of program contain past images of celebrities more than past images of society; 3) the program contains contents reflecting past images in 2 ways that are contents reflecting passed images in the past and contents reflecting the beautiful ones in the past but is lost in the current society. The characteristics of presentation of past contents would be for social construction meaning in 2 types that are retro and nostalgia. Method of a social construction of nostalgia in “Wan Warn Yang Wan Yoo” Program shows the characteristics that is consistent with postmodernism concept in 5 items that are hybrid, simulation, non-linear, cut and paste, and repetition. It was found on the issue of audience that old generation and new generation pay attention on watching the program conducted by hosts and the attention in the presentation of past contents. On interpretation, it was found that 1) factor of differences on stock of knowledge from experience of each viewer would affect decoding more than factor on difference of ages ; 2) the interpretation of viewers mostly are retro way and only some of a few interpret it as Nostalgia; 3) important factors that affect interpretation is experience of each viewer to be linked with the past images presented by “Wan Warn Yang Wan Yoo” Program.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19384
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1473
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1473
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwannamas_le.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.