Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19596
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจันทนา จันทโร-
dc.contributor.advisorไชยะ แช่มช้อย-
dc.contributor.authorเป็นธิดา มณีโชติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-05-13T12:34:47Z-
dc.date.available2012-05-13T12:34:47Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19596-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูลการใช้พลังงานและปริมาณการผลิตในรูปของสมการถดถอยเชิงเส้นแบบง่ายหรือแบบพหุ และวิเคราะห์ดัชนีวัดประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยหาค่าการใช้พลังงานจำเพาะ (specific energy consumption, SEC) ของโรงงานควบคุมตัวอย่างใน 4 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตไม้และเครื่องเรือน (TSIC 33) อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะ (TSIC 36) อุตสาหกรรมโลหะขั้นมูลฐาน (TSIC 37) และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ (TSIC 38) ทั้งนี้ได้ประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ด้วยกราฟค่าผลรวมสะสมของความแตกต่าง (cumulative sum of different, CUSUM) เพื่ออธิบายพฤติกรรมการใช้พลังงานและเป็นเครื่องมือในการสร้างสมการกำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานได้ ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ คือ สมการตัวแทนเชิงเส้นแบบง่ายหรือแบบพหุ เพื่อใช้ในการทำนายการใช้พลังงานเมื่อทราบปริมาณการผลิต และค่า SEC ของแต่ละโรงงาน ซึ่งสามารถใช้เป็นค่าอ้างอิงสำหรับประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโรงงานที่มีการผลิตใกล้เคียงกัน และพบว่าข้อมูลการใช้พลังงานของโรงงานควบคุมในกลุ่มอุตสาหกรรมโลหะขั้นมูลฐานนั้นมีความเสถียร แสดงถึงการจัดการพลังงานที่ดี ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะ และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ ยังมีโรงงานที่ต้องเร่งพัฒนาการจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพ ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตไม้และเครื่องเรือนนั้นมีโรงงานตัวอย่างเพียงโรงงานเดียวไม่สามารถอธิบายพฤติกรรมของทั้งกลุ่มได้ นอกจากนี้หากโรงงานควบคุมตัวอย่างมีพฤติกรรมการใช้พลังงานตามสมการกำหนดเป้าหมาย จะสามารถลดการสูญเสียพลังงานได้ 3-39%en
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to determine the simple or multiple linear regression equation of energy consumption and production, and to analyze the energy efficiency by evaluating the specific energy consumption (SEC) of the designated factories for 4 industry sectors ; wood and furniture (TSIC 33), non-metallic mineral products (TSIC 36), primary metal (TSIC 37) and fabricated metal products, machinery and equipment (TSIC 38). The application of cumulative sum of different (CUSUM) chart is also used to explain the energy consumption behavior and build the target energy consumption equation. The results of this research showed the energy consumption model and SEC of each factories, which can be used as the reference value for the similar production factories to evaluating the energy consumption efficiency. Moreover, the stability of the energy consumption data of the designated factories in primary metal sectors, due to the good energy management. However, there are some factories in non-metallic mineral products and fabricated metal products, machinery and equipment sectors instantly need to develop the energy management. When, the wood and furniture sectors have only one sample so it can’t explain overall sector. Lastly, if all of these factories have the energy behavior closely the target energy consumption equation, it can save energy about 3-39%.en
dc.format.extent25895235 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.636-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectประสิทธิภาพทางอุตสาหกรรมen
dc.subjectอุตสาหกรรม -- การใช้พลังงาน-
dc.subjectโรงงาน -- การใช้พลังงาน-
dc.subjectโรงงาน -- การอนุรักษ์พลังงาน-
dc.subjectการใช้พลังงานไฟฟ้า-
dc.subjectIndustrial efficiency-
dc.subjectIndustries -- Energy consumption-
dc.subjectFactories -- Energy consumption-
dc.subjectFactories -- Energy conservation-
dc.subjectElectric power consumption-
dc.titleการศึกษาประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโรงงานควบคุม : TSIC 33, 36, 37 และ 38en
dc.title.alternativeEnergy efficiency study of the designated factories: TSIC 33, 36, 37 and 38en
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChantana.J@Chula.ac.th-
dc.email.advisorChaiya.Ch@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.636-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pentida_ma.pdf25.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.