Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19678
Title: ผลของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่มีต่อมโนทัศน์ทางการอนุรักษ์ด้านมวลสาร ด้านปริมาณของของเหลวและด้านพื้นที่ของเด็กในช่วงอายุ 5-6 ปี
Other Titles: Effects of social interaction on coservation concepts of mass, liquid quantity and Area of five to six-year-old children
Authors: กาญจนา ผ่านสำแดง
Advisors: เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Penpilai.R@chula.ac.th
Subjects: การกระทำระหว่างกันทางสังคม
การอนุรักษ์ (จิตวิทยา)
จิตวิทยาเด็ก
พัฒนาการของเด็ก
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่มีต่อมโนทัศน์ทางการอนุรักษ์ด้านมวลสาร ด้านปริมาณของของเหลว และด้านพื้นที่ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนจากโรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม จำนวนทั้งหมด 9 คน อายุระหว่าง 5.5 ถึง 6.5 ปี อายุเฉลี่ย 5 ปี 9 เดือน การวิจัยครั้งนี้มี 3 ขั้นตอน คือ ทดสอบปัญหาทางทางการอนุรักษ์กับกลุ่มตัวอย่างเป็นรายบุคคลโดยทดสอบการอนุรักษ์ด้านมวลสาร ด้านปริมาณของของเหลวและด้านพื้นที่ แล้วแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มมีมโนทัศน์ 30 คน และกลุ่มไม่มีมโนทัศน์ 60 คน ซึ่งในกลุ่มที่ไม่มีมโนทัศน์นี้จะแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน ขั้นตอนที่ 2 ให้สภาพการณ์ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม จัดคู่ปฏิสัมพันธ์ 30 คู่ โดยแต่ละคู่จะมีผู้ที่มีมโนทัศน์ทางการอนุรักษ์ 1 คน คู่กับผู้ที่ไม่มีมโนทัศน์ทางการอนุรักษ์ 1 คน ให้คู่ปฏิสัมพันธ์แต่ละคู่ช่วยกันแก้ปัญหาและตอบปัญหาทางการอนุรักษ์ให้ได้คำตอบเดียวร่วมกันในแต่ละปัญหา ซึ่งปัญหาทางการอนุรักษ์ที่ใช้ในขั้นนี้จะเป็นปัญหาคู่ขนานกับปัญหาที่ทดสอบครั้งแรก แต่มีเครื่องมือและวิธีดำเนินการทดสอบต่างกัน ส่วนกลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับสภาพการณ์ที่เป็นการปฏิสัมพันธ์ดังกล่าว ขั้นตอนที่ 3 การทดสอบครั้งหลัง ภายหลังจากการมีสภาพการณ์ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเสร็จลง 7 วัน กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการทดสอบมโนทัศน์ทางการอนุรักษ์เป็นรายบุคคลอีกครั้งหนึ่งด้วยปัญหาทางการอนุรักษ์ที่ทดสอบครั้งแรก และกลุ่มควบคุมก็จะได้รับการทดสอบเช่นเดียวกับกลุ่มตัวอย่างในขั้นมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมทุกประการ ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำและการทดสอบ t-test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างมัชฌิมเลขคณิตของคะแนน ความสามารถทางการอนุรักษ์ ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแล้ว กลุ่มทดลองหรือกลุ่มไม่มีมนทัศน์ทางการอนุรักษ์มีความสามารถทางการอนุรักษ์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่คะแนนมโนทัศน์ทางการอนุรักษ์ที่เพิ่มขึ้นทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านมวลสาร ด้านปริมาณของของเหลวและด้านพื้นที่ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนความสามารถทางการอนุรักษ์ในกลุ่มที่มีมโนทัศน์แต่เดิมก็ไม่ได้ลดลงภายหลังจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและในกลุ่มควบคุมพบว่า ความสามารถทางการอนุรักษ์มิได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
Other Abstract: The purposes of this research was to study the effects of social interaction on conservation concepts of mass, liquid quantity and area of five to six years old children. Ninety students from Mahasarakam Kindergarten, between the ages of 5.5 and 6.5, with an average age of 5 years 9 months, participated in the experiment. There were 3 sessions in this research. Session 1 pretest. The subjects were individually tested on three-conservation tests ; mass, liquid quantity quantity and area. The subjects were then, classified into two groups : Thirty conservers and sixty nonconservers. The nonconservers were devided into experimental group and control group, each group consisted of 30 subjects. Session 2 Social interaction sequence. In this session, thirty pairs of subjects, each containing a nonconserver and a conserver, were asked to settle on a single answer between them for each problem. The conservation problem in this session were parallel to the problems in the pretest, but different conservation stimulis or different conservation transformations were used. The control group was given no social interaction experience. Session 3 Posttest. Approximately 7 days after the social interaction session, each subject was individually posttested on the pretest problems. The control group was posttested in the same manner as the subjects in the social interaction session. The statistical methods used for data analysis were the one way ANOVA with repeated measures and the t-test. The results of this research were that the experimental group who was given the social interaction experience significantly performed better in the conservation tests, but the performance on all three conservation tests : mass, liquid quantity and area, were not significantly different. The conservers in the pretest did not significantly lose conservation and the control group did not make progress in conservation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19678
ISBN: 9745644137
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanchana_Pan_front.pdf432.12 kBAdobe PDFView/Open
Kanchana_Pan_ch1.pdf982.68 kBAdobe PDFView/Open
Kanchana_Pan_ch2.pdf739.86 kBAdobe PDFView/Open
Kanchana_Pan_ch3.pdf374.55 kBAdobe PDFView/Open
Kanchana_Pan_ch4.pdf416.01 kBAdobe PDFView/Open
Kanchana_Pan_ch5.pdf334.38 kBAdobe PDFView/Open
Kanchana_Pan_back.pdf859.78 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.