Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1972
Title: | การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในงานของพยาบาล |
Other Titles: | A meta-analysis of factors related to nurses' job satisfaction |
Authors: | ปิยะฉัตร ฉ่ำชื่น, 2512- |
Advisors: | อารีย์วรรณ อ่วมตานี เอมอร จังศิริพรปกรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Areewan.O@Chula.ac.th Aimorn.J@Chula.ac.th |
Subjects: | พยาบาล -- ความพอใจในการทำงาน |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะทั่วไปของงานวิจัยเกี่ยวกับความพึงพอใจในงานของพยาบาล 2) ศึกษาปัจจัยและวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในงานของพยาบาล 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จำแนกตามตัวแปรปรับคุณลักษณะงานวิจัย 4) อธิบายความแปรปรวนของค่าดัชนีมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์เป็นรายงานการวิจัยที่ศึกษาเชิงสหสัมพันธ์ มีการตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. 2519 ถึง พ.ศ. 2546 จำนวน 88 เล่ม รวบรวมข้อมูลจากตัวแปรปรับ 4 ประเภท คือ ลักษณะทั่วไป เนื้อหาสาระงานวิจัย วิธีวิทยาการวิจัย และคุณภาพงานวิจัย นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ตามวิธีของ Glass และคณะ (1987) ได้ค่าดัชนีมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จำนวน 663 ค่า แบ่งเป็น ปัจจัยเชิงเหตุ 519 ค่า และปัจจัยเชิงผล 144 ค่า นำค่าที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราห์หาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วย t-test และ f-test และวิเคราะห์ถดถอยด้วย Hierarchical stepwise regression analysis ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะทั่วไปของงานวิจัย ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะทั่วไป ด้านเนื้อหาสาระ งานวิจัย และด้านวิธีวิทยาการวิจัย 2. ปัจจัยเชิงเหตุของความพึงพอใจในงานของพยาบาล ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ ด้านการจัดการ (r = .504) ด้านงาน (r = .148) และด้านบุคคล (r = .129) ตามลำดับ ปัจจัยเชิงผลของความพึงพอใจในงานของพยาบาล ประกอบด้วย 6 ปัจจัย โดยแบงเป็น 2 กลุ่ม คือ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในงานของพยาบาล 3 ปัจจัย ได้แก่ ด้านความผูกพัน/พฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ (r = .408) ด้านการคงอยู่ในงาน (r = .383) และด้านพฤติกรรม/ผลการปฏิบัติงาน (r = .350) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับความพึงพอใจในงานของพยาบาล 3 ปัจจัย ได้แก่ ด้านการลาออก/โอนย้าย/เปลี่ยนงาน (r = -.311) ด้านความเหนื่อยหน่าย (r = -.250) และด้านความตั้งใจศึกษาต่อ (r = -.063) 3. ตัวแปรปรับคุณลักษณะงานวิจัยส่วนใหญ่ ส่งผลให้เกิดความแตกต่างและความแปรปรวนของค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของกลุ่มปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ และกลุ่มปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงผลกับความพึงพอใจในงานของพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายค่าดัชนีมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงเหตุและปัจจัยเชิงผลกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลได้ร้อยละ 57.3 และ 78.9 ตามลำดับ |
Other Abstract: | The purposes of this meta - analysis study were to 1) study research characteristics of factors related to nurses' job satisfaction. 2) Identify the factors that influence nurses' job satisfaction. 3) compare mean correlation coefficients across research characteristics. 4) account variance of correlation coefficients by research characteristic variables. The 88 studies of cause and effect relationships in Thailand employed during 1976 - 2003 were recruited. Data collected were study moderators including general, substantive, methodological characteristics and research quality. The 663 correlation coefficients of studies were analyzed by using meta -analysis method of Glass, et al. (1987). Those correlation coefficients were divided into 2 groups : antecedent variables (519 correlation coefficients) and consequence variables (144 correlation coefficients). Statistics used in this study were t-test, F-test and Hierarchical stepwise regression analysis. The major findings were as follows: 1. The research characteristics consisted of 3 components including general, substantive and methodological characteristics. 2. The antecedent variables of nurses' job satisfaction were managerial factors (r = .504), working factors (r = .148) and personal factors (r = .129) respectively. The six catagories of consequence variables divided into 2 groups : positively correlated with nurses' job satisfaction including commitment/ citizenship behavior (r = .408), retention (r = .383) and performance (r = .350), and negatively correlated with nurses' job satisfaction including turnover (r = -.311), burn out (r = -.250) and intend to further study (r = -.063). 3. Most of research characteristic variables were statistically significant affected on the mean correlation coefficients of both antecedent and consequence variables of nurses' job satisfaction, at .05 level. 4. The research characteristic variables were significantly predicted correlation coefficients of antecedent variables and consequence variables with variance accountedof 57.3 % and 78.9 % respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1972 |
ISBN: | 9741760124 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Piyachat.pdf | 15.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.