Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19779
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพันธวัศ สัมพันธ์พานิช-
dc.contributor.authorวราภรณ์ ศรีตัมภวา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-05-20T08:16:06Z-
dc.date.available2012-05-20T08:16:06Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19779-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสามารถในการดูดดึงแคดเมียมโดยอ้อยที่ปลูกในดินที่ปนเปื้อน และศึกษาปริมาณการสะสมแคดเมียมในส่วนต่างๆ ของอ้อย 5 ส่วน คือ ราก ท่อนพันธุ์เดิม ชานอ้อย น้ำอ้อย และใบ ทำการศึกษาที่ระยะเวลา 3, 6 และ 9 เดือน โดยแบ่งงานวิจัยออกเป็น 2 ส่วน คือ การศึกษาในพื้นที่จริงที่ระดับความเข้มข้นของแคดเมียม <3, 3-20 และ >20 มิลลิกรัม แคดเมียมต่อกิโลกรัมดิน โดยปริมาณแคดเมียมในดินมีค่าเท่ากับ 2.57±6.04, 16.66±4.99 และ 174.51±42.80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และในเรือนทดลองที่ใส่สารประกอบ Cd(NO3)2.4H2O ลงในดินที่ระดับควบคุม, 10, 20 และ 40 มิลลิกรัม แคดเมียมต่อกิโลกรัมดิน พบว่า ความสามารถของการดูดดึงแคดเมียมทั้งหมดในดินที่ปนเปื้อนจากพื้นที่จริง มีแนวโน้มลดลงเมื่อระยะเวลาของการเก็บตัวอย่างเพิ่มขึ้น ซึ่งมีความสอดคล้องกับการศึกษาในเรือนทดลอง ในการศึกษาปริมาณการสะสมแคดเมียมทุกส่วนของอ้อย พบว่า อ้อยที่ปลูกในพื้นที่จริงมีปริมาณการสะสมแคดเมียมสูงสุดที่ระยะเวลาของการเก็บตัวอย่าง 9 เดือน โดยมีค่าเท่ากับ 4.33, 4.86 และ 6.49 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ที่ระดับความเข้มข้นของแคดเมียม <3, 3-20 และ >20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ เช่นเดียวกับในเรือนทดลองที่มีปริมาณการสะสมแคดเมียมในทุกส่วนของอ้อยเท่ากับ 8.66, 15.65, 17.47 และ 28.94 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามระดับความเข้มข้นของแคดเมียมที่ควบคุม, 10, 20 และ 40 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และพบว่า ปริมาณการสะสมแคดเมียมในส่วนต่างๆ ของอ้อย 5 ส่วนในพื้นที่จริงที่ระดับความเข้มข้น >20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบว่า รากอ้อยมีปริมาณการสะสมแคดเมียมมากที่สุด มีค่าเท่ากับ 28.35 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ที่ระยะเวลาของการเก็บตัวอย่าง 6 เดือน ตามด้วยท่อนพันธุ์เดิม ชานอ้อย ใบ และน้ำอ้อย โดยมีปริมาณการสะสมแคดเมียมเท่ากับ 5.38, 5.03, 3.87 และ 0.08 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่งมีความสอดคล้องกับการศึกษาในเรือนทดลองที่ระดับความเข้มข้น 40 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบการสะสมแคดเมียมเท่ากับ 96.57, 29.68, 9.38, 3.99 และ 1.19 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ที่ระยะเวลาของการเก็บตัวอย่าง 6 เดือน นอกจากนี้ ประสิทธิภาพในการดูดดึงแคดเมียมจากดินด้วยอ้อยที่ปลูกในพื้นที่จริง และในเรือนทดลอง ที่ระยะเวลาของการเก็บตัวอย่าง 9 เดือน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ (P<0.05) โดยอ้อยที่ปลูกในพื้นที่จริงมีประสิทธิภาพในการดูดดึงแคดเมียมมีค่าเท่ากับ 0.55 เปอร์เซ็นต์ และในเรือนทดลองมีประสิทธิภาพในการดูดดึงมากที่สุดเท่ากับ 1.58 เปอร์เซ็นต์ ที่ระยะเวลาของการเก็บตัวอย่าง 9 เดือน ในระดับความเข้มข้นของแคดเมียมในดิน 3-20 และ 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับen
dc.description.abstractalternativeThis research was conducted to investigate the capacity of sugarcane to uptake cadmium from contaminated soil and to accumulate it in five plant parts: roots, underground stems, bagasses, juice and leaves. The research compared sugarcane grown in cadmium contaminated sites with plants in experimental pots. The onsite study was conducted in fields with three different level of cadmium contaminated soil: <3, 3-20 and >20 mg Cd kg-1soil or 2.57±6.04, 16.66±4.99 and 174.51±42.80 mg kg-1, respectively. For the pot experiment, soils were contaminated with cadmium nitrate solution at different rates: control, 10, 20 and 40 mg Cd kg-1. A Seedling stem was then planted in the cadmium contaminated soil. Soil and sugarcane samples for both onsite and pot experiment were harvested at 3, 6 and 9 months. The results showed that cadmium accumulation capacities in onsite and pot plants tended to decrease with increasing growth time. The accumulation of cadmium in onsite sugarcane at 9 months was 4.33, 4.86 and 6.49 mg kg-1 in <3, 3-20 and >20 mg kg-1 contamination level, respectively. Sugarcane grown in the pot experiment accumulated cadmium of 8.66, 15.65, 17.47 and 28.94 mg kg-1 in treatment of control, 10, 20, and 40 mg kg-1, respectively. The results indicated that at the level of >20 mg kg-1 onsite soil, cadmium accumulation in various parts of sugarcane at 6 months was highest in root which equaled 28.35 mg kg-1 followed by 5.38, 5.03, 3.87 and 0.08 mg kg-1 in underground stems, bagasses, leaves and juice, respectively. For the pot experiment, the highest accumulation of cadmium in sugarcane was found at 40 mg kg-1 treatment at 6 months. The roots accumulated cadmium equal to 96.57 mg kg-1 followed by underground stem, bagasses, leaves and juice which equaled 29.68, 9.38, 3.99 and 1.19 mg kg-1, respectively. However, the results also indicated that the capacity of sugarcane to uptake and accumulate cadmium at the usual harvesting time of 9 months, in both onsite and pot samples was significantly different (P<0.05). Consequently, the highest accumulation efficiency of sugarcane was 0.55 percent, onsite study and 1.58 percent, on pot experiment, at harvesting time of 9 months in 3-20 and 10 mg kg-1 soil treatments, respectively.en
dc.format.extent2857511 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.605-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอ้อยen
dc.subjectแคดเมียม -- การดูดซึมและการดูดซับen
dc.subjectมลพิษในดินen
dc.titleการดูดดึงแคดเมียมโดยอ้อยที่ปลูกในดินที่ปนเปื้อนen
dc.title.alternativeCadmium uptake by sugarcane grown in contaminated soilen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorpantawat.s@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.605-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waraporn_Sr.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.