Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19854
Title: รูปแบบการสื่อสารเพื่อการจัดการการท่องเที่ยว ของชุมชนตลาดน้ำยามเย็น อัมพวา
Other Titles: Communication patterns for tourism management of Ampawa's evening floating market
Authors: เณริศา ชัยศุภมงคลลาภ
Advisors: ปาริชาต สถาปิตานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Parichart.S@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารทางการตลาด -- ไทย -- อัมพวา (สมุทรสงคราม)
การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน -- ไทย -- อัมพวา (สมุทรสงคราม)
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
ตลาดน้ำ -- ไทย -- อัมพวา (สมุทรสงคราม)
Issue Date: 2552
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารที่ใช้ในการจัดการท่องเที่ยวของสมาชิกชุมชนตลาดน้ำยามเย็น อัมพวา และเพื่อศึกษาบทบาทสำคัญของผู้นำชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนตลาดน้ำยามเย็น อัมพวา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 25 คน ผลการวิจัยพบว่า 1.รูปแบบการสื่อสารที่ใช้ในการจัดการการท่องเที่ยวมีการพัฒนาขึ้นตามระยะเวลาในการเปิดดำเนินการของตลาดน้ำยามเย็น อัมพวา ประกอบไปด้วย 1.) การล้อมวงหารือค้นหาเรื่องราวของชุมชน ใช้วิธีลงพื้นที่พูดคุย สร้างความคุ้นเคยกับสมาชิกในชุมชน รวมไปถึงจัดการประชุมร่วมกับคนในชุมชน 2.) การปรึกษาหารือเพื่อสร้างสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ ใช้วิธีการสื่อสารที่เน้นการจัดประชุม และการทำเวทีประชาคม 3.) บริหารกิจกรรมการสื่อสารผ่าน”วิถีชีวิตจริง” โดยใช้การพูด การประชุมร่วมกับชาวบ้านในชุมชน และการสื่อสารผ่านสื่อมวลชน 4.) บริหารกิจกรรมการสื่อสารผ่าน “ขายวาระหิ่งห้อย” เน้นรูปแบบการสื่อสารผ่านสื่อมวลชนในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมการชมหิ่งห้อย 5.) สร้างระบบการสื่อสารครบวงจร ได้แก่ การสื่อสารผ่านสื่อต่างๆที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารแบบปากต่อปาก ไปจนถึงการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 6.)สื่อสารประเด็นเพื่อแก้ไขปัญหา เน้นรูปแบบการสื่อสารผ่านการประชุม การรวมกลุ่ม และการจัดทำสื่อชุมชน นิตยสารมนต์รักแม่กลอง 7.) เสริมสร้างระบบการสื่อสาร เน้นการสื่อสารผ่านกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ต่างๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาสถานที่ท่องเที่ยว และ 8.) ยกระดับการสื่อสารสู่สากล มีการสื่อสารผ่านตราสินค้า “อัมพวา แบรนด์” เพื่อสร้างมาตรฐานของสินค้าอัมพวา 2. บทบาททางการสื่อสารของผู้นำชุมชน พบว่า มีบทบาทในการ เชิญชวนชาวบ้าน เข้าร่วมเปิดตลาดน้ำยามเย็น อัมพวา เป็นที่ปรึกษาของชาวบ้าน รับบทบาทนักประชาสัมพันธ์ตลาดน้ำยามเย็น อัมพวา ให้การต้อนรับแขกผู้มาเยือน พร้อมสื่อสารแนวคิดใหม่ๆให้กับชาวบ้าน และประสานความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก
Other Abstract: The objective of this study is to study (1) communication patterns of Amphawa’s community members in managing tourism system of Evening Floating Market in Samut Songkram and (2) The importance of a community leader who systemize Amphawa’s Evening Floating Market. A qualitative method with in-dept interview and was applied to collect data include non participation observation. The results of the study are as follows : 1. Communication Patterns in managing tourism system (1) Searching of community story by socializing and assembling with community members ; (2) Discussing and polling among community members in order to find a new tourist attraction; (3) Conducting communication activities through “The real spirit” by associating with community members and the media: (4) Managing communication activities via “Firefiles Agenda”, which emphasizes on media communication on Fireflies PR activity ; (5) Constructing full communication system from words of mouth to the Internet; (6) Communicating to solve a problem accentuating assembly, meeting, community magazine “Mon Rak Mae Klong”; (7) Formulating communication system via conservative activities which make tourist realize in the tourism protection; and (8) Promoting the international brand “Amphawa Brand” to build the standard of Amphawa’s products. 2. Community leaders play a key role in encouraging members to participate in Evening Floating Market and also act as a consultant and a publicist to welcome tourists to the market. Community leader also communicated new ideas to the community and coordinates with outside partners.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19854
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.421
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.421
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nerisa_ch.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.