Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20004
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิม ชัยวัชราภรณ์-
dc.contributor.advisorถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์-
dc.contributor.authorทิพย์ธาอร เหลืองบริบูรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2012-06-03T06:31:00Z-
dc.date.available2012-06-03T06:31:00Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20004-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาใช้พลังงานในขณะแข่งขันของนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นหญิงทีมชาติไทย และรูปแบบของการชก ได้แก่ รูปแบบรุก รูปแบบรับ และรูปแบบผสมผสาน ที่มีผลต่อพลังงานที่ใช้ในการแข่งขัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นหญิงทีมชาติไทยชุดปัจจุบันที่เป็นตัวแทนเข้าร่วมในการเก็บตัวนักกีฬากับสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์เพื่อทำการฝึกซ้อมสำหรับการเตรียมการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ในปี พ.ศ. 2553 ที่ประเทศจีน อายุระหว่าง 17-26 ปี จำนวน 10 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ทำการวัดองค์ประกอบของร่างกาย อัตราการเผาผลาญพลังงานขณะพัก ทดสอบสมรรถภาพทางกาย และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด ก่อนการจำลองโปรแกรมการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่น และในวันที่จัดจำลองโปรแกรมการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นทั้งหมด 3 ครั้ง ทำการบันทึกอัตราการเต้นหัวใจในขณะแข่งขัน โดยใช้เครื่องมือวัดอัตราการเต้นของหัวใจแบบโพลาร์ทีมคาดไว้รอบเอว นำข้อมูลอัตราการเต้นของหัวใจจากการแข่งขันมาเปรียบเทียบกับสมการความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเต้นของหัวใจกับการใช้ออกซิเจนที่ได้จากการวัดในห้องทดลอง ได้สมการถดถอยเชิงเส้นตรงในแต่ละคน และนำไปคำนวณหาปริมาณการใช้พลังงานในขณะแข่งขัน ซึ่งเป็นวิธีการคำนวณพลังงานจากสมการข้างต้นที่สัมพันธ์กับค่าการใช้พลังงานด้วยวิธีการวัดพลังงานแบบทางอ้อม นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ตามระเบียบทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของการใช้พลังงานในแต่ละรูปแบบของการชกด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษา พบว่า 1. นักกีฬามวยสากลสมัครเล่นหญิงทีมชาติไทย มีระบบพลังงานที่ใช้ในขณะแข่งขันโดยรวม คือ พลังงานระบบแอนแอโรบิก 37% พลังงานระบบแอนแอโรบิก - แอโรบิก 38% และพลังงานระบบแอโรบิก 25% 2. ปริมาณการใช้พลังงานในขณะแข่งขันกีฬามวยสากลสมัครเล่นหญิงในแต่ละรูปแบบการชก ได้แก่ รูปแบบรุก รูปแบบรับ และรูปแบบผสมผสาน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำระดับความหนักของการออกกำลังกายและชนิดของระบบพลังงานที่ใช้ในขณะแข่งขัน แนะนำผู้ฝึกสอน นักวิทยาศาสตร์การกีฬา หรือนักโภชนาการ เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนโปรแกรมการฝึกซ้อม หรือโปรแกรมโภชนาการได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับการแข่งขันจริงของนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นหญิงทีมชาติไทย-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the energy expenditure during competitions of Thai female national amateur boxers and to compare the differences of energy expenditures in various boxing styles. Ten Thai female national amateur boxers between 17-26 years old of Amateur Boxing Association of Thailand under preparation for the 16th Asian Games 2010 in China were purposively sampled. The subjects were tested to assess their body composition, resting metabolic rate RMR , and physical performance. Laboratorybased ramp treadmill tests were carried out to establish maximal oxygen uptake VO2max before sparring sessions. The sparring sessions were organized in 3 days among different pairs of boxers. In each sparring, energy expenditure EE of each boxer was assessed by real-time heart rate monitoring using Polar team2 that was worn at the waist of each boxer. The heart rate data of each boxer from sparring were compared with heart rate and oxygen uptake data measured in laboratory. All individual regression equations were created from those data to estimate energy expenditure during competition. The obtained data were analyzed in terms of means and standard deviations. One-way analysis of variance ANOVA with repeated measurement was used to determine the statistical differences at .05 significant level. The study results were shown as follows: 1. The average percentage of energy contribution of anaerobic system, anaerobic-aerobic system and aerobic system of Thai female national amateur boxers were 37%, 38% and 25%, respectively. 2. The energy expenditure during competition by Thai female national amateur boxers in each boxing style fighter, boxer and combination was not significantly different. The intensity of exercise and the energy system contribution in this study may be used as guidelines to plan proper training programs and to guide appropriate energy intake programs for Thai female amateur boxers in the actual competition.-
dc.format.extent14765483 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.454-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectมวยสากลสมัครเล่นen
dc.subjectมวยสากลสมัครเล่น -- นักกีฬาen
dc.subjectนักมวยสากลสมัครเล่นหญิง -- การใช้พลังงานen
dc.subjectAmateur boxers-
dc.subjectAmateur boxers -- Athletes-
dc.titleการศึกษาการใช้พลังงานในขณะแข่งขันของนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นหญิงทีมชาติไทยen
dc.title.alternativeA study of energy expenditure during competition of Thai female national amateur boxersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChalerm.C@Chula.ac.th-
dc.email.advisorThanomwong.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.454-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thiptharorn_lu.pdf14.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.