Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20017
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพศาล กิตติศุภกร-
dc.contributor.authorวีราภรณ์ เรืองศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-06-03T10:33:37Z-
dc.date.available2012-06-03T10:33:37Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20017-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการจำลองระบบดูดซึมเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) และเมทิลเมอร์แคปเทน (CH3SH) ด้วยสารละลายไดเอทานอลเอมีน (DEA), โมโนเอทานอลเอมีน (MEA) และเมทิลไดเอทานอลเอมีน (MDEA) ประยุกต์ใช้ASPEN HYSYS จำลองหน่วยดูดซึมอ้างอิงจากผลข้อมูลการทดลองของงานวิจัยอื่น พบว่าค่าประสิทธิภาพในการกำจัดของแบบจำลองมีค่าใกล้เคียงกับข้อมูลข้างต้น จากนั้นประยุกต์ใช้ ASPEN HYSYS เพื่อศึกษาสัดส่วนน้ำหนัก (wt) และอัตราการไหลเชิงมวลของสารละลาย อัลคานอลเอมีนในรูป (L*/G*), สัดส่วนโมลของก๊าซ H2S, CH3SH และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), อุณหภูมิของก๊าซเสียและสารละลายอัลคานอลเอมีนต่อประสิทธิภาพในการกำจัดก๊าซ H2S และ CH3SH ผลการจำลองแสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพในการกำจัด (η) ก๊าซ H2S และ CH3SH เพิ่มขึ้นที่ L*/G* เพิ่มขึ้น ส่วนค่า η ของก๊าซ H2S เพิ่มขึ้นเมื่อค่า wt ของสาร DEA, MEA และ MDEA เพิ่มขึ้น ในขณะที่ค่า η ของก๊าซ CH3SH ลดลง ประสิทธิภาพในการกำจัดก๊าซ H2S และ CH3SH ด้วยสาร MDEA มีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อเทียบกับสาร DEA และ MEA ส่วนค่า η ของก๊าซ H2S และ CH3SH ลดลงเมื่อเพิ่มค่าสัดส่วนโมลของ H2S, CH3SH, CO2 ที่ L* คงที่ และเพิ่มค่าอุณหภูมิของสารอัลคานอลเอมีนขาเข้า ในขณะที่การเพิ่มอุณหภูมิของก๊าซเสียขาเข้าส่งผลต่อค่า η ของก๊าซ H2S และ CH3SH เล็กน้อย ค่าสภาวะที่เหมาะสมของ L*/G*, สัดส่วนน้ำหนักของสารละลาย MDEA และอุณหภูมิของสารอัลคานอลเอมีนเท่ากับ 16, 0.20-0.35 และ 30 ◦C ตามลำดับen
dc.description.abstractalternativeThis research presents the simulation of absorption to determine an optimal condition for hydrogen sulfide (H2S) and methyl mercaptan (CH3SH) removal using diethanolamine (DEA), monoethanolamine (MEA) and methyldiethanolamine (MDEA). The ASPEN HYSYS simulator has been used to simulate the absorption unit according to experiment data of other researches. The removal efficiencies obtained in the simulation show a good agreement with the above mentioned experiment data. Then, the ASPEN HYSYS model is employed to study the effects of weight fraction (wt) and mass flow rate of alkanolamine solution (L*/G*), mole fraction of H2S, CH3SH and carbon dioxide (CO2), feed gas and alkanolamine solution temperature on the H2S and CH3SH removal efficiency. Simulation results show that the removal efficiencies (η) of H2S and CH3SH increase with an increase in the L*/G*. In particular, the η of H2S increases with increasing the wt of DEA, MEA and MDEA, whereas the η of CH3SH reduces. The removal of H2S and CH3SH using MDEA is more efficient as compared to DEA and MEA. The η of H2S and CH3SH decreases with an increase in the mole fraction of H2S, CH3SH, CO2 (constant L*) and solution temperature, whereas the effect of feed gas temperature on η is small. The optimum condition consisting of L*/G*, wt range of MDEA and alkanolamine solution temperature is at 16, 0.20-0.35 and 30 ◦C respectively.en
dc.format.extent3406095 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.126-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอัลคานอลเอมีนen
dc.subjectไฮโดรเจนซัลไฟด์en
dc.subjectเมทิลเมอร์แคปเทนen
dc.subjectไฮโดรเจนซัลไฟด์ -- การดูดซึมและการดูดซับ-
dc.subjectเมทิลเมอร์แคปเทน -- การดูดซึมและการดูดซับ-
dc.subjectอัลคานอลเอมีน-
dc.subjectHydrogen sulfide -- Absorption and adsorption-
dc.subjectMethyl mercaptan -- Absorption and adsorption-
dc.subjectAlkanolamine-
dc.titleการจำลองการกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟด์และเมทิลเมอร์แคปเทนด้วยระบบดูดซึมด้วยสารอัลคานอลเอมีนโดยใช้โปรแกรม ASPEN HYSYSen
dc.title.alternativeSimulation of hydrogen sulfide and methyl methyl mercaptan removal by alkanolamine absorption using ASPEN HYSYS programen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเคมีes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.126-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
weeraporn_ru.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.