Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20027
Title: การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ สำหรับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
Other Titles: The development of an academic administration model for autonomous universities
Authors: อัมเรศ เนตาสิทธิ์
Advisors: อภิภา ปรัชญพฤทธิ์
วราภรณ์ บวรศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Apipa.P@chula.ac.th
Varaporn.B@Chula.ac.th
Subjects: มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ -- การบริหาร
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของการบริหารงานวิชาการ พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่เหมาะสมกับประเทศไทย และนำเสนอกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) ประเภทข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของการบริหารงานวิชาการ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐทั้งในและต่างประเทศ 5 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี University of Melbourne ประเทศออสเตรเลีย และ Massachusetts Institute of Technology ประเทศสหรัฐอเมริกา 2) ประเภทข้อมูลจากบุคคล กลุ่มแรกประกอบไปด้วยอธิการบดี และรองอธิการบดี จำนวน 6 คน กลุ่มที่สองเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยในระดับผู้อำนวยการขึ้นไป จำนวน 30 คน และกลุ่มที่สามเป็นผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์สาระ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามลักษณะมาตรประมาณค่า และการจัดประชุมสนทนาผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของการบริหารงานวิชาการมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่สำคัญ ได้แก่ ด้านแนวทางการบริหาร เช่น การนำคู่มือปฏิบัติงานและการปรับปรุงกระบวนการในการปฏิบัติงานมาช่วยพัฒนาระบบบริหารงานในมหาวิทยาลัย นายกสภามหาวิทยาลัยเลือกจากบุคคลที่เป็นที่ยอมรับทางด้านการศึกษา ด้านธุรกิจ หรือเคยเป็นผู้นำองค์กรในภาคอุตสาหกรรมของบริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ และมีการประชุมกรรมการสภามหาวิทยาลัยร่วมกับผู้บริหารนอกรอบเพื่อร่วมระดมสมอง ในบรรยากาศที่เอื้อต่อการแสดงความคิดเห็น ด้านพันธมิตรและเครือข่าย เช่น มีโครงการเรียนรู้ร่วมอุตสาหกรรม มีการพัฒนาเครือข่ายศิษย์เก่านานาชาติที่มีความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัย มีการจัดตั้งสำนักงานประสานงานของมหาวิทยาลัยขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลก และมีการพัฒนาองค์กรนักศึกษาระดับนานาชาติ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี เช่น ก่อตั้งสถาบันพัฒนาคณาจารย์ เปิดหลักสูตรเฉพาะบุคคล สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก มีซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้นักศึกษาตรวจสอบความรู้และความสามารถของนักศึกษาได้ด้วยตนเอง เปิดฝึกอบรมแบบออนไลน์ และการเปิดหลักสูตรสหวิทยาการ ด้านการผลิตองค์ความรู้ เช่น ส่งเสริมให้เกิดการทำงานเชื่อมโยงกันเป็นกลุ่มแบบบูรณาการศาสตร์และศูนย์วิจัย สนับสนุนการวิจัยเชิงพื้นที่ โครงการคัดเลือกอาจารย์ดีเด่นด้านการวิจัย และจัดตั้งศูนย์บริการต่างๆ เพื่อให้บริการวิชาการแก่ชุมชน และสังคม รูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่เหมาะสมกับประเทศไทยประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย โดยวิสัยทัศน์ได้แก่ สร้างงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศระดับสากล มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ และรับผิดชอบต่อสังคม องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ (The MAIN of Academic Movement Model) ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่การบริหารจัดการ พันธมิตรและเครือข่าย นวัตกรรมและเทคโนโลยี และการผลิตองค์ความรู้ โดยในแต่ละองค์ประกอบหลักจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบย่อยรวมทั้งหมด 12 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวทางการบริหาร 2) สภามหาวิทยาลัย 3) สภาวิชาการ 4) ความร่วมมือกับต่างประเทศ 5) ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในประเทศ 6) ความร่วมมือกับชุมชน/ภาคอุตสาหกรรม 7) เทคโนโลยีและระบบสารสนเทศ 8) การเรียนการสอน 9) หลักสูตร 10) การสนับสนุนการวิจัย 11) งานวิจัย และ 12) การนำองค์ความรู้ที่ผลิตไปใช้/การบริการวิชาการ กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการสำหรับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแบ่งเป็น 3 ระดับด้วยกัน ได้แก่กลยุทธ์ระดับองค์กร จำนวน 4 กลยุทธ์ กลยุทธ์ระดับแผนงาน จำนวน 28 กลยุทธ์ และโครงการ/กิจกรรม จำนวน 80 โครงการ/กิจกรรม
Other Abstract: This research aims at analyzing the best practices and proposing strategies of academic administration including developing an academic administration model which is suitable for autonomous universities in Thailand. Populations and sampling groups are divided into 2 types. Type I is a Documentation Resource on the best practice of academic administration from 5 universities both in and outside Thailand; Suranaree University of Technology, Walailak University, King Mongkut's University of Technology Thonburi (KMUTT), University of Melbourne–Australia and Massachusetts Institute of Technology–U.S.A. Type II is a Human Resource of which consist 6 presidents and vice presidents, 30 executives with at least a director level and 12 KMUTT executives. Instruments using for the research are document analysis by content analysis technique, interview, rating scale and focus group discussion. The result of the best practice of academic administration of autonomous universities are shown as the followings. In term of administration: work manual and work flow as tools for the development of administration system, chairmen of such universities were well-known people in education, business or CEO from industrial sectors or large-sized successful companies, and retreats among university council and executives were organized for brainstorms. In term of alliance and network: there were industrial cooperative learning, international alumni network, universities’ off-shore office and international students’ organization development. In term of innovation and technology: there were faculty development academy organization, individual-based programs, active learning, software service on students’ knowledge and competencies, online training and multi-disciplinary. In term of new knowledge: there were clusters, area-based research, promotion to distinguished research lecturers, and community service organization. The academic administration model (The MAIN of Academic Movement Model) which was suitable for autonomous universities in Thailand included vision, missions, and goals. In term of vision, there were excellent in academic, flexibility towards administration and responsibilities to society. The components of the academic administration model consist of 4 main factors; management, alliance and network, innovation and technology, and new knowledge of which composed 12 minor factors; 1) administrative guidelines, 2) university council, 3) academic council, 4) collaboration with abroad, 5) collaboration with education institutions in the country, 6) collaboration with communities/industrial sectors, 7) technology and information systems, 8) instruction, 9) curriculum, 10) support on research, 11) research, and 12) the utilization of knowledge/academic services. Strategies on academic administration of autonomous universities can be divided into 3 levels; 4 organization strategies, 28 planning strategies and 80 projects/activities
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20027
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1826
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1826
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ammaret_ne.pdf6.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.