Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20101
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิชชุตา วุธาทิตย์-
dc.contributor.authorอธิป มีชนะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-06-07T07:54:27Z-
dc.date.available2012-06-07T07:54:27Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20101-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาวิเคราะห์การแสดงหนังตะลุงคน คณะสุมน ศ. ประทุม วิเคราะห์กระบวนท่ารำที่ปรากฏอยู่ โดยใช้คนแต่งกาย ร้องบทและทำท่าทางเลียนแบบหนังตะลุง ที่อาศัยคนเชิดรูปตัวหนังมาแสดงเป็นเรื่องราว โดยศึกษาประวัติและความเป็นมาของหนังตะลุงคน คณะสุมล ศ. ประทุม ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 จนถึง พ.ศ. 2551 มุ่งศึกษาสภาพการแสดงของหนังตะลุงคนวิธีวิจัยใช้การศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแสดงขับร้องบทและวรรณกรรมที่ใช้แสดงหนังตะลุงคนการใช้ดนตรีบรรเลงประกอบการแสดง ผลการศึกษาสรุปได้ว่า การแสดงหนังตะลุงคน เป็นการแสดงที่พัฒนามาจากการแสดงโขน ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ในช่วงระหว่าง ปี พ.ศ. 2462-2464 โดยกรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอุปราชหัวเมืองปักษ์ใต้ได้มอบหมายให้ พ.ต.ท. พระวิชัยประชาบาล ผู้บังคับการตำรวจมณฑลนครศรีธรรมราช นำคณะโขนจากภาคกลางมาแสดงให้โดยให้ทางตำรวจได้ร่วมแสดงตลกด้วยและต่อมาก็ได้เพิ่มเติมจำนวนผู้แสดงเข้าไปโดยมีการแสดงผูกเรื่องผูกราวให้คล้ายกับหนังตะลุงที่มีคนคอยเชิดตัวรูปหนัง โดยให้ผู้แสดงแต่งกายออกท่าทางและการขับร้องบท และเจรจาให้ใกล้เคียงกับหนังตะลุงทุกอย่างตลอดจนจารีตประเพณีของหนังตะลุงก็เหมือนกันหมดจนแตกต่างก็ตรงที่ใช้คนแสดงแทนตัวรูปหนังเท่านั้นในส่วนของเรื่องราวที่แสดงก็มักจะเล่นเป็นเรื่องราวสะท้อนวิถีชีวิตของชาวปักษ์ใต้เสียเป็นส่วนมาก การแสดงหนังตะลุมคนจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "หนังโขน" หรือ "หนังคน" และต่อมา คณะหนังตะลุงคนก็ได้ยึดถือรูปแบบการแสดงประเภทนี้นำออกแสดง ได้รับความนิยมกันเป็นอันมาก โดยคณะหนังตะลุงคนที่มีชื่อเสียงที่คนทั่วไปรู้จักกันดีในปัจจุบันคือ คณะ สุมล ศ. ประทุม สรุปได้ว่า การแสดงหนังตะลุงคน ก็คือการนำผู้คนมาแสดงแทนที่ตัวรูปหนังตะลุง โดยมีการแต่งกายร้องบท และยึดถือจารีตประเพณีต่างๆ เหมือนกับหนังตะลุงที่ต้องอาศัยคนเชิดทุกอย่าง อาจจะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างก็คือ ท่าทางการร่ายรำของผู้ที่แสดงหนังตะลุงคนนั้น จะเห็นท่าทางการรำได้ชัดเจนกว่าตัวรูปหนังรำและการร่ายรำของหนังตะลุงคนนั้นมักจะมีการผูกเรื่องราวให้ตรงกันกับท่ารำเช่น เรื่องพระสุธน-มโนราห์ ของคณะสุมน ศ. ประทุม ก็จะเป็นการรำในเนื้อเรื่องอยู่สามตอน คือ ตอนกินรีเล่นน้ำ ตอนมโนราห์บูชายันต์ และตอนพระสุธนเลือกคู่เป็นต้นen
dc.description.abstractalternativeThe human Shadow Play of Sumon Saw Pratum Performance Group This study aimed at analyzing the Human Shadow Play of Sumon Saw Pratum Performance Group, forcusing at the dancing gestures of the dancers who sing and dance to imitate the leather shadow play in the stories. The study examined the history of the human shadow play of Sumon Saw Partum Performance Group form B.E. 2529 to 2551 by studying the documents involved, interviewing the experts in the field of singing and the plays that war shadow play and the music. The finding showed that the human shadow play was developed for Khon or the Thai classical masked play which occurred in the reign of King Luang Lopburiramed who was the governor of the south region assigned Police lieutenant Colonel Pravichai Prachaban to bring the Khon from the central region to play, accompanying the policement acting amusingly. After that more players here added in the stories acting like leather shadow play the players were dressed up, sang and spoke like the leather shadow play and followed the same stradition as the leather shadow play. The stories mostly reflected the way of life of the people in the south region. From that time this play was called "Nang Khan" or "Nam Kon" The performance groups followed this way of playing and the performance was very popular. One of the most famous human shadow play performance group at the present time is the Saw Sumol Performance group. It can be concluded that the human shadow play in the performance using human beings instead of Talung shadow play which uses leather shadow play. The human shadow play uses the same dressing, singing and tradition of the original leather shadow play. The difference is that the way of dancing of human beings is more outstanding than the leather shadow play. The gestures of dancing of human shadow play are invented according to the story, for example, in the Suthon-Manora Story of the Saw Sumol Performance Group the gestures of dancing are divided into 3 parts : Kinaree swimming, Manora Sacrificing and Pra Suthon Choosing a marriage mateen
dc.format.extent4168851 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1040-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสุมล ศักดิ์แก้วen
dc.subjectคณะสุมล ศ. ประทุมen
dc.subjectหนังตะลุงen
dc.titleการแสดงหนังตะลุงคน "คณะ สุมล ศ.ประทุม"en
dc.title.alternativeThe human Nungtalung performance Group Samul Sow Phatumen
dc.typeThesises
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนาฏยศิลป์ไทยes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorVijjuta.V@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1040-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Atip_me.pdf4.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.