Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20144
Title: การศึกษาการลดการสูญเสียพลังงานจากการสะสมความร้อนในผนังเตาเผาเหล็ก โดยใช้เซรามิกไฟเบอร์
Other Titles: Study on energy saving of furnace wall storage loss by using ceramic fiber
Authors: บรรยเวกษก์ สงฤทธิ์
Advisors: ณัฐเดช เฟื่องวรวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Nattadate.F@Chula.ac.th
Subjects: เตาอุตสาหกรรม
เซรามิกไฟเบอร์
ความร้อน -- การถ่ายเท
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการประหยัดพลังงานสำหรับเตาเผาเหล็ก โดยการลดความร้อนสูญเสียที่โครงสร้างฉนวนของเตาเผาเหล็กที่ทำงานไม่ต่อเนื่อง โดยใช้ข้อมูลของเตาเผาเหล็กของโรงงานตัวอย่างจำนวน 4 โรงงาน ที่มีลักษณะการทำงานและขนาดกำลังการผลิตแตกต่างกัน ซึ่งเริ่มจากศึกษาสมดุลพลังงานและความร้อนสูญเสียรวมที่โครงสร้างฉนวน (total heat loss) เนื่องจากการทำงานที่ไม่ต่อเนื่อง และหาแนวทางในการปรับปรุงโครงสร้างฉนวน รวมถึงประเมินผลการประหยัดและระยะเวลาคืนทุน จากการวิเคราะห์ พบว่า ปริมาณความร้อนสูญเสียรวมที่โครงสร้างฉนวนของเตาเผาเหล็กที่มีการทำงานไม่ต่อเนื่อง ประกอบด้วยสองส่วนหลักๆ คือ ความร้อนสูญเสียผ่านโครงสร้างฉนวน (wall heat loss) และความร้อนสูญเสียที่สะสมในโครงสร้างฉนวน (wall storage loss) โดยความร้อนสูญเสียที่สะสมในโครงสร้างฉนวนนั้น เกิดจากช่วงการทำงานที่ไม่ต่อเนื่องของเตาเผาเหล็ก ส่งผลให้เตาเผาสูญเสียพลังงานความร้อน มากกว่าพลังงานความร้อนที่ใช้ในกรณีที่ทำงานแบบต่อเนื่อง งานวิจัยชิ้นนี้จึงหาแนวทางในการปรับปรุงโครงสร้างฉนวนเพื่อลดความร้อนสูญเสียในส่วนนี้ โดยการใช้เซรามิกไฟเบอร์ซึ่งมีความหนาแน่นต่ำ แทนการใช้วัสดุฉนวนที่มีความหนาแน่นสูงในผนังชั้นในสุด เพื่อลดความร้อนสูญเสียสะสมในโครงสร้างฉนวนเป็นหลัก ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถลดความร้อนสูญเสียผ่านโครงสร้างฉนวนได้อีกด้วย จากผลการศึกษาพบว่า สามารถลดความร้อนสูญเสียสะสมในโครงสร้างได้ประมาณ 10-85% และสามารถลดความร้อนสูญเสียผ่านโครงสร้างได้ประมาณ 15-60% โดยคิดเป็น 1-6% ของค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงทั้งหมดของเตาเผาเหล็ก และมีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 1-4 ปี ขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานและโครงสร้างฉนวนของเตาเผาเหล็ก
Other Abstract: To study the energy conservation for discontinuously operated reheating furnaces by improving refractory lining of reheating furnace. Many parameters of four reheating furnaces are obtained to analyze energy balance and total heat loss of the furnaces. It is found that the total heat loss of refractory lining in discontinuously operated reheating furnaces might be divided into two parts, wall heat loss and wall storage loss. The wall storage loss occurs from the discontinued operation of the reheating furnaces. This study proposed the reduction of the heat storage loss in refractory lining by using the low thermal mass ceramic fiber. The ceramic fiber is placed at the hot face of the lining in the furnaces to reduce both wall heat loss and wall storage loss. The wall storage loss is reduced about 10-85% and the wall heat loss is reduced about 15-60%. From this study, It can concluded that the energy using in discontinuously operated reheating furnaces can be reduced about 1-6% of the total energy by improving refractory lining of reheating furnace. The pay back period of the improvement is about 1-4 years depending on the furnace operating and furnace lining
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20144
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1111
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1111
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Banyawake_so.pdf6.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.