Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20231
Title: | กระบวนการนำเสนออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ยวนในบริบทของการท่องเที่ยวผ่านหอวัฒนธรรมพื้นบ้านและตลาดท่าน้ำ : ศึกษากรณีชุมชนยวน ตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี |
Other Titles: | The Presentation of the Yuan ethnic identity in the context of tourism via local museum and riverside market : a case study of Yuan community, Tombon Tontan, Sao Hai district, Saraburi province |
Authors: | ดวงกมล เวชวงค์ |
Advisors: | ศิริรัตน์ แอดสกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sirirath.a@chula.ac.th |
Subjects: | ชาวเวียดนาม -- ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี ชาวเวียดนาม -- ไทย -- อัตลักษณ์ |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้มุ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การวิจัยภาคสนามโดยการสังเกตการณ์ทั้งแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของชุมชนยวนทั้งในด้านภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ศึกษาสำนึกทางชาติพันธุ์ของชาวยวนบ้านต้นตาล และศึกษากระบวนการนำเสนออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวยวนในบริบทของการท่องเที่ยวผ่านหอวัฒนธรรมพื้นบ้านและตลาดท่าน้ำ โดยได้ใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ แนวคิดอัตลักษณ์ แนวคิดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น และแนวคิดการท่องเที่ยว มาเป็นแนวทางในการศึกษาและวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ตำบลต้นตาลประกอบไปด้วยกลุ่มคนในชาติพันธุ์ยวนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งพวกเขายังคงมีสำนึกในความเป็นชาติพันธุ์ยวนอยู่อย่างชัดเจน แม้จะอพยพจากถิ่นฐานเดิมคือเมืองเชียงแสนมาอยู่ในสภาพแวดล้อมและสังคมแห่งใหม่มานานกว่า 200 ปี ผ่านการผสมผสานทางวัฒนธรรมอันหลากหลาย แต่สำนึกและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของพวกเขาก็ยังคงดำรงอยู่และรักษาไว้ได้จนถึงปัจจุบัน ชาวยวนบ้านต้นตาลได้แสดงออกถึงความมีสำนึกทางชาติพันธุ์ของตนผ่านการใช้ชีวิตประจำ การรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมยวนของเยาวชนยวน การจัดตั้งชมรมไทยยวนสระบุรี การก่อตั้งหอวัฒนธรรมต่อมาเมื่อการท่องเที่ยวได้เข้ามาในชุมชนทำให้ชาวยวนต้องมีการปรับตัวและปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของตนเองเพื่อนำมาเป็นจุดขายในการท่องเที่ยว ทั้งนี้เพื่อความอยู่รอดของพวกเขา โดยพวกเขาได้มีการนำเสนออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ยวนของตนผ่านสถานที่ท่องเที่ยวอันสำคัญของชุมชน 2 แห่ง ได้แก่ หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยยวน และตลาดท่าน้ำโบราณบ้านต้นตาล ซึ่งความเป็นยวนที่ถูกนำเสนอผ่านทั้ง 2 สถานที่นี้ล้วนได้ผ่านขั้นตอนต่างๆ คือ 1 .การนิยามความเป็นยวนภายใต้บริบทที่เข้ามาเกี่ยวข้อง 2 .การเลือกสัญลักษณ์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ยวนหรือความเป็นยวนตามคำนิยามที่กำหนดขึ้น โดยมีวิธีการที่เกี่ยวข้องในการนำสัญลักษณ์ต่างๆที่เลือกไว้มาใช้ คือ การใช้ของเก่า การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ การใช้ของเดิมที่มีอยู่ และการเปลี่ยนแปลง 3. การนำเสนออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ยวนในบริบทของการท่องเที่ยว และ 4. การนำเสนออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ยวนภายใต้การปฏิสัมพันธ์ในบริบทของการท่องเที่ยว ซึ่งการนำเสนออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ยวนในบริบทของการท่องเที่ยวนี้จะมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับการปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มคนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ความเป็นยวนจะมีความชัดเจนมากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับกลุ่มคนที่พวกเขามีปฏิสัมพันธ์ด้วย การปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ที่พวกเขาจะได้รับพื้นบ้านไทยยวนและการจัดตั้งตลาดท่าโบราณบ้านต้นตาล |
Description: | วิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | มานุษยวิทยามหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มานุษยวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20231 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1855 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1855 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Duangkamon_we.pdf | 2.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.