Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20240
Title: ปัญหาในการออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 : ศึกษาแนวคำพิพากษาของศาลปกครอง
Other Titles: Problems on issuance of an administrative act requring official to pay compensation under section 12 of the act on liability for wrangful act of official B.E.2539 (1996) : a study of the dicisions of the administraive court
Authors: จิดาภา มุสิกธนเสฏฐ์
Advisors: นันทวัฒน์ บรมานันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
ค่าเสียหาย
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ละเมิด
ค่าสินไหมทดแทน
ละเมิด
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีเจตนารมณ์ให้ความคุ้มครองเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในหน้าที่แล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่เอกชนหรือหน่วยงานของรัฐ โดยให้หน่วยงานของรัฐมีอำนาจออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในผลแห่งละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่ได้เฉพาะกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำโดยจงใจทำให้เกิดความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น ดังนั้น ในการวินิจฉัยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของผู้มีอำนาจพิจารณาไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐและกระทรวงการคลังจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย วิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งศึกษาวิเคราะห์ถึงแนวทางในการพิจารณากำหนดความรับผิดของเจ้าหน้าที่โดยหน่วยงานของรัฐและกระทรวงการคลัง และศึกษาคำพิพากษาของศาลปกครองเกี่ยวกับคดีฟ้องเพิกถอนคำสั่งให้เจ้าหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จากการศึกษาพบว่า การตีความเพื่อบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานของรัฐและกระทรวงการคลัง รวมถึงศาลปกครอง มีความแตกต่างกัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการใช้ดุลพินิจโดยผิดพลาดของหน่วยงานของรัฐและกระทรวงการคลัง นอกจากนี้ ยังเกิดจากความบกพร่องของกฎหมายที่ขาดบทบัญญัติที่สำคัญ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนวทางแก้ไขโดยเผยแพร่คำพิพากษาของศาลปกครองให้ทุกหน่วยงานทราบ และให้มีการยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) กำหนดคำนิยามของการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (2) กำหนดว่าจะนำกฎหมายฉบับใดมาใช้บังคับกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่กฎหมายฉบับนี้ใช้บังคับ (3) กำหนดให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิฟ้องทายาทของเจ้าหน้าที่ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่วันที่รู้ถึงความตายของเจ้าหน้าที่และรู้ว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นเป็นผู้กระทำละเมิด แต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด (4) กำหนดอายุความกรณีที่หน่วยงานของรัฐรู้เหตุและรู้ตัวผู้กระทำละเมิดหลังจากที่เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดตายเกิน 1 ปีว่าหน่วยงานของรัฐต้องใช้สิทธิฟ้องทายาทของเจ้าหน้าที่ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้าหน้าที่ แต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด (5) กำหนดให้การอุทธรณ์มีผลเป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่ง และ (6) ยกเลิกหนังสือกระทรวงการคลังที่มีผลเป็นการจำกัดอำนาจในการพิจารณาอุทธรณ์
Other Abstract: The Act on Liability for Wrongful Act of Official, B.E. 2539 (1996) has a purpose to protect an official by providing that the state agency shall issue an administrative act requiring official to pay a compensation in case that the official performs his duty with gross negligence. The objective of this thesis is to study on how the state agency, the Ministry of Finance, and the Administrative Court make a decision on the liability of the official, and whether such decision is according to the intent of law. From the study, I found that some cases the state agency, the Ministry of Finance, and the Administrative Court have various decisions although such cases have the similar facts. Such challenge has occurred from the ambiguous provision of the law. Therefore, this thesis suggests solutions to such challenge, as the followings; (1) to clearly provide the definition of gross negligence, (2) to identify the law to apply if the wrongful act occurred before the Act on Liability for Wrongful Act of Official, B.E. 2539 (1996) promulgated, (3) to specify the limitation to file a lawsuit against a heir within 10 years since a wrongful act occurs in case that there is no offender found, (4) to specify the limitation to file a lawsuit within 1 year since the death of the official acknowledged but not over than 10 years since a wrongful act occurs (5) to provide that the appeal petition has an effect as a suspension of execution of an administrative act, and (6) to repel the circular of the Ministry of finance that restrict the power to consider an appeal
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20240
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1871
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1871
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jidapa_mu.pdf3.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.