Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20246
Title: พัฒนาการของบอยแบนด์ไทยระหว่างปี พ.ศ. 2535-2552
Other Titles: Development of Thai boy bands from 1992 to 2009
Authors: กานต์พิชชา เศรษฐวัฒน์
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kanjana.Ka@chula.ac.th
Subjects: นักร้อง -- ไทย
Singer -- Thailand
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของบอยแบนด์ไทยในอดีตในการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของบอยแบนด์เมื่อได้รับอิทธิพลจากบอยแบนด์ตะวันตก และบอยแบนด์ญี่ปุ่น-ไต้หวันและศึกษาพัฒนาการของบอยแบนด์ไทยในปัจจุบันในการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของบอยแบนด์เมื่อได้รับอิทธิพลจากบอยแบนด์เกาหลี โดยอาศัยกรอบแนวคิด 3 แนวคิด ได้แก่ การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม จักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม และการผสมผสานทางวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างบอยแบนด์ที่ใช้ศึกษาประกอบด้วย บอยแบนด์ไทย 17 วง บอยแบนด์ตะวันตก 3 วง บอยแบนด์ญี่ปุ่น 2 วง บอยแบนด์ไต้หวัน 1 วง และบอยแบนด์เกาหลี 3 วง โดยทำการศึกษาองค์ประกอบของบอยแบนด์ 6 องค์ประกอบ คือ สมาชิก ได้แก่ จำนวนและสัญชาติ หน้าตา ( รูปร่างหน้าตาและบุคลิก) เครื่องแต่งกาย รูปแบบเพลง การเต้น และการร้องเพลง ผลการวิจัยพบว่าบอยแบนด์ไทยให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของบอยแบนด์ที่ถือเป็นแก่นและหัวใจของบอยแบนด์ คือ การร้องเพลงและการเต้น น้อยมาก โดยให้ความสำคัญกับองค์ประกอบที่สำคัญรองลงมาคือ รูปแบบเพลง และองค์ประกอบเปลือกนอก คือ จำนวนสมาชิก สัญชาติสมาชิก รูปร่างหน้าตา บุคลิก และเครื่องแต่งกาย ที่ทำได้ง่ายและรวดเร็วมากกว่า โดยลักษณะการให้ความสำคัญและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีส่วนคล้ายกับบอยแบนด์ไต้หวัน แต่แตกต่างจากบอยแบนด์ตะวันตก บอยแบนด์ญี่ปุ่น และบอยแบนด์เกาหลีที่ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบที่เป็นแก่นและหัวใจของบอยแบนด์เป็นอันดับแรก ซึ่งเหตุผลที่ทำให้บอยแบนด์ไทยต้องมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของบอยแบนด์ตลอดเวลามาจากปัจจัยทางสังคม ธุรกิจเทปเพลง รสนิยมและค่านิยมของผู้ฟังเพลง
Other Abstract: The purpose of this qualitative research is to study the development of Thai Boy Bands in the past under the influence of Western and Japanese-Taiwanese Boy Bands and also to study the development of Thai Boy Bands in the present under the influence of Korean Boy Bands. The research is conducted under the 3 frameworks which are Intercultural, Cultural Imperialism and Articulation. The research samples include 17 Thai Boy Bands, 3 Western Boy Bands, 2 Japanese Boy Bands, 1 Taiwanese Boy Bands and 3 Korean Boy Bands in the analysis of Boy Band components which are members, appearances, costumes, music styles, dancing and singing. The result shows that Thai Boy Bands pay less attention to singing and dancing which are considered to be the essence of Boy Bands. Instead, they tend to focus on the secondary components of Boy Bands which are music styles, the amount of members, members’ nationality, appearance, personality and costumes. The direction of Thai Boy Bands’ development is similar to Taiwanese Boy Bands but differs from Western Boy Bands, Japanese Boy Bands and Korean Boy Bands whose priorities are given to singing and dancing. In addition, the reasons behind the constant development of Thai Boy Bands are business factors, music industry, listeners’ music taste and value
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20246
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.539
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.539
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanpichcha_se.pdf6.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.