Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20368
Title: | ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันที่มีต่อสาขาเกษตรของประเทศไทย |
Other Titles: | The impacts of the oil price change on agricultural sectors of Thailand |
Authors: | ชยุตม์ วะนา |
Advisors: | ชโยดม สรรพศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chayodom.S@chula.ac.th |
Subjects: | เกษตรกรรม--แง่เศรษฐกิจ ปิโตรเลียม -- ราคา |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันที่มีต่อสาขาเกษตรของประเทศไทย โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งเป็นการศึกษาผลกระทบโดยใช้เมตริกซ์บัญชีสังคมของประเทศไทย ปีพ.ศ.2541 มาเป็นฐานข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบผ่านแบบจำลองราคา ส่วนที่สองเป็นการศึกษาผลกระทบโดยการออกเก็บข้อมูลภาคสนามเพื่อสัมภาษณ์เกษตรกรถึงผลกระทบที่ได้รับ ทั้งด้านต้นทุนการผลิต ค่าครองชีพ รวมถึงทัศนคติที่มีต่อพลังงานทางเลือก ผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันส่งผลกระทบต่อระดับราคาของสาขาการผลิตทุกสาขา โดยสาขาการผลิตที่ได้รับผลกระทบสูงสุด ได้แก่ สาขาการบริการทางการเกษตร รองลงมาคือ สาขาประมง ส่วนราคาสินค้าของสาขาการผลิตพืช สินค้าเกษตรแปรรูปอยู่ในอันดับถัดมา และราคาสินค้าของสาขาปศุสัตว์จะมีการปรับตัวสูงขึ้นในอันดับสุดท้าย ส่วนผลกระทบที่ภาคสถาบันได้รับคือ การใช้จ่ายในครัวเรือนเกษตร การใช้จ่ายในการลงทุนของหน่วยธุรกิจ และการใช้จ่ายของรัฐบาลลดลง ผลการสัมภาษณ์เกษตรกรพบว่า ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรสูงขึ้น โดยที่เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถลดต้นทุนการผลิตด้านน้ำมันเชื้อเพลิงได้ เนื่องจากปริมาณการผลิตพลังงานทางเลือกและสถานีบริการยังไม่แพร่หลาย ประกอบกับความไม่มั่นใจในคุณภาพของพลังงานทางเลือก นอกจากนี้ยังพบว่าค่าครองชีพในปัจจุบันสูงขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าในตลาดแพงขึ้น อันเป็นผลมาจากการปรับตัวของราคาน้ำมัน จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานทางเลือกให้มากขึ้น รวมทั้งสร้างทัศนคติที่ดีต่อพลังงานทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคหันมาใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น ส่วนในระยะยาว ควรเพิ่มสถานีบริการให้เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ (NGV) ซึ่งเป็นพลังงานทางเลือกที่ประเทศไทยสามารถผลิตได้เอง นอกจากนี้ควรให้ทุนวิจัยสนับสนุนการศึกษาหรือจัดตั้งโครงการทดลองสาธิตในการใช้พลังงานทางเลือกด้านอื่นมาทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้อย่างถาวร |
Other Abstract: | The main objective of the study is to analyze the impacts of the oil price change on agricultural sectors of Thailand by dividing into 2 parts. The first part is the study of the impacts by using the 1998 Social Accounting Matrix (SAM) to analyze the impacts under Price Analysis Model. The second part is to conduct the field survey to interview farmers the impacts of oil price change on production cost, living cost and perception on alternative sources of energies. The analytical results show that the increase of oil price affect the price level of all agricultural sectors. The sector which got the highest impact is the agricultural service sector and the second is the fishery sector. The prices of the plant production sectors and the processed food sectors are the next ranks following by the livestock sector. On institutional sectors, expenditure of agricultural household, business investment and the government decline. According the interviews the farmers find that the cost of production is higher. But most of the farmers can not reduce the fuel cost because the quantity of production and service stations of the alternative energies are not widespread. Moreover, the farmers have lack of confidence on the quality of the alternative energies. The higher cost of living is mainly due to the higher oil price. Policy recommendations are as follows the private and official agencies should promote to use the alternative energies more. They also should promote the use of alternative energies with quality assurances. For a long term, they should provide enough service stations, especially the natural gas stations which Thailand can produce. Moreover, they should provide more research scholarships or set a project for the research of the alternative energies. With its successful planning will replace the fossil fuels permanently. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20368 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1128 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.1128 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chayoot_wa.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.