Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20494
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอมอร จังศิริพรปกรณ์-
dc.contributor.authorบุญช่วย ภักดี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-05T14:28:07Z-
dc.date.available2012-07-05T14:28:07Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20494-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความแตกต่างของคุณภาพการสอนระหว่างก่อนและหลังการเลื่อนตำแหน่งครู ชำนาญการตามการรับรู้ของผู้เกี่ยวข้อง 2) ศึกษาความแตกต่างของคุณภาพการสอนระหว่างก่อนและหลังการเลื่อนตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษตามการรับรู้ของผู้เกี่ยวข้อง 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพการสอนระหว่างครูชำนาญการและครูชำนาญการพิเศษตามการรับรู้ของผู้เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูที่ดำรงตำแหน่งครูชำนาญการและครูชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 960 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย วิเคราะห์ค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนาม (one – way MANOVA) ด้วยโปรแกรม SPSS for windows ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพการสอนของครูชำนาญการ พบว่า คุณภาพการสอนทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถทางวิชาการ ด้านความสามารถในการจัดการเรียนการสอน และด้านบุคลิกภาพ หลังเลื่อนตำแหน่งครูชำนาญการ ตามการรับรู้ของครูชำนาญการและหัวหน้ากลุ่มสาระมีค่าเฉลี่ยของคุณภาพการสอนสูงกว่าก่อนเลื่อนตำแหน่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาตามการรับรู้ พบว่า คุณภาพการสอนด้านความสามารถทางวิชาการ และด้านความสามารถในการจัดการเรียนการสอน ก่อนเลื่อนตำแหน่งครูชำนาญการ ตามการรับรู้ของครูชำนาญการไม่มีความแตกต่างจากการรับรู้ของหัวหน้ากลุ่มสาระ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นคุณภาพการสอนด้านบุคลิกภาพ ส่วนคุณภาพการสอนด้านความสามารถในการจัดการเรียนการสอน และด้านบุคลิกภาพ หลังเลื่อนตำแหน่งครูชำนาญการ ตามการรับรู้ของครูชำนาญการไม่มีความแตกต่างจากการรับรู้ของหัวหน้ากลุ่มสาระอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นคุณภาพการสอนด้านความสามารถทางวิชาการ 2. คุณภาพการสอนของครูชำนาญการพิเศษ พบว่า คุณภาพการสอนทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถทางวิชาการ ด้านความสามารถในการจัดการเรียนการสอน และด้านบุคลิกภาพ หลังเลื่อนตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษตามการรับรู้ของครูชำนาญการพิเศษและหัวหน้ากลุ่มสาระ มีค่าเฉลี่ยของคุณภาพการสอนสูงกว่าก่อนเลื่อนตำแหน่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาตามการรับรู้ พบว่า คุณภาพการสอนด้านความสามารถทางวิชาการ และด้านความสามารถในการจัดการเรียนการสอน ก่อนเลื่อนตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษ ตามการรับรู้ของครูชำนาญการพิเศษไม่มีความแตกต่างจากการรับรู้ของหัวหน้ากลุ่มสาระ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นคุณภาพการสอนด้านบุคลิกภาพ ส่วนคุณภาพการสอนทั้ง 3 ด้าน หลังเลื่อนตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ ตามการรับรู้ของครูชำนาญการพิเศษ มีค่าเฉลี่ยของคุณภาพการสอนสูงกว่าการรับรู้ของหัวหน้ากลุ่มสาระอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การเปรียบเทียบคุณภาพการสอนของครูชำนาญการและครูชำนาญการพิเศษ พบว่า คุณภาพการสอนทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถทางวิชาการ ด้านความสามารถในการจัดการเรียนการสอน และด้านบุคลิกภาพ ก่อนและหลังเลื่อนตำแหน่ง ตามการรับรู้ของครูชำนาญการพิเศษ มีค่าเฉลี่ยของคุณภาพการสอนสูงกว่าตามการรับรู้ของครูชำนาญการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาตามการรับรู้ของหัวหน้ากลุ่มสาระ พบว่า คุณภาพการสอนทั้ง 3 ด้านก่อนเลื่อนตำแหน่ง และคุณภาพ การสอนด้านความสามารถทางวิชาการ และด้านความสามารถในการจัดการเรียนการสอนหลังเลื่อนตำแหน่ง ตามการรับรู้ของหัวหน้ากลุ่มสาระของครูชำนาญการพิเศษ มีค่าเฉลี่ยของคุณภาพการสอนสูงกว่าตามการรับรู้ของหัวหน้ากลุ่มสาระของครูชำนาญการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to:1) Study the differences of the teaching quality before and after the academic status promotion of experience teachers as perceived by stakeholder, 2) Study the differences of the teaching quality before and after the academic status promotion of senior experience teachers as perceived by stakeholder, 3) Compare the differences of the teaching quality between experience teachers and senior experience teachers as perceived by stakeholder. The sample group was 960 multi-stage sampling from experience teachers and senior experience teachers under the Office of the Basic Education Commission. The analysis of questionnaire collection descriptive statistics, t-test, one-way MANOVA by SPSS/FW. The results were as follow: 1) The mean score of experience teachers’s the teaching quality, consists of 3 aspects: professional abilities, learning and teaching management abilities, personality after the academic status promotion as perceived by experience teachers and subject areas heads was higher than before the academic status promotion at the .05 level of significance. According to the perception by experience teachers and subject areas heads of professional abilities and learning and teaching management abilities before the academic status promotion were no statistically significance differences at the .05 level escape the personality. While, the learning and teaching management abilities and personality after the academic status promotion were no statistically significance differences at the .05 level escape the professional abilities. 2) The mean score of senior experience teachers’s the teaching quality, consists of 3 aspects: professional abilities, learning and teaching management abilities, personality after the academic status promotion as perceived by senior experience teachers and subject areas heads was higher than before the academic status promotion at the .05 level of significance. According to the perception by senior experience teachers and subject areas heads of professional abilities and learning and teaching management abilities before the academic status promotion were no statistically significance differences at the .05 level escape the personality. While, the teaching quality of 3 aspects as perceived by senior experience teachers after the academic status promotion was higher than subject areas heads at the .05 level of significance. 3) A comparative teaching quality of experience teachers and senior experience teachers the teaching quality, consists of 3 aspects: professional abilities, learning and teaching management abilities, personality before and after the academic status promotion as perceived by senior experience teachers was higher than experience teachers at the .05 level of significance. According to the perception by subject areas heads the teaching quality of 3 aspects before the academic status promotion and learning and teaching management abilities, personality after the academic status promotion by subject areas heads of senior experience teachers was higher than subject areas heads of experience teachers at the .05 level of significance.en
dc.format.extent4747906 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.301-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectครู-
dc.subjectการสอน -- คุณภาพ-
dc.subjectครู -- การประเมิน-
dc.subjectครู -- การเลื่อนขั้น-
dc.titleการวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณภาพการสอนของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานก่อนและหลังการเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ ตามการรับรู้ของผู้เกี่ยวข้องen
dc.title.alternativeA comparative analysis of the teaching quality of teachers under The Office of the Basic Education Commission before and after academic status promotion as perceived by stakeholdersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAimorn.J@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.301-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
boonchuay_ph.pdf4.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.