Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20521
Title: การประชาทัณฑ์ผู้ต้องหาในการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ : ศึกษากรณีการประชาทัณฑ์และมาตรการในการป้องกัน
Other Titles: Lynching the accused in proceeding at the scene of crime confession assembly : a case study of lynching and preventive measures
Authors: อภิศักดิ์ ทองนพคุณ
Advisors: จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: jutharat.u@chula.ac.th
Subjects: การประชาทัณฑ์ -- การป้องกัน
Lynching -- Prevention
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฎการณ์การประชาทัณฑ์ผู้ต้องหาในการนำชี้ที่เกิดเหตุฯ วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันผู้ต้องหาจากการประชาทัณฑ์ และเสนอมาตรการในการป้องกันผู้ต้องหาจากการประชาทัณฑ์ โดยใช้วิธีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร และการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เจาะลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ควบคุมการนำชี้ที่เกิดเหตุฯ จำนวน 9 นาย ผู้ต้องหาที่ถูกประชาทัณฑ์ จำนวน 4 ราย และผู้ประชาทัณฑ์ผู้ต้องหา จำนวน 9 ราย ผลการวิจัยพบว่า การประชาทัณฑ์ผู้ต้องหาในการนำชี้ที่เกิดเหตุฯเกิดขึ้นเมื่อมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ ผู้ประชาทัณฑ์ ผู้ต้องหา และการขาดความสามารถในการปกป้องร่างกายของผู้ต้องหา การประชาทัณฑ์ผู้ต้องหาเป็นพฤติกรรมรวมหมู่ที่เป็นการแพร่ระบาดทางอารมณ์ในรูปแบบของฝูงชนวุ่นวาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความโกรธแค้นในพฤติกรรมการกระทำผิดที่ทารุณโหดร้ายของผู้ต้องหา นอกจากนี้การประชาทัณฑ์ผู้ต้องหาเป็นการควบคุมทางสังคมเชิงลบ และเป็นการลงโทษเพื่อแก้แค้นตอบแทนผู้กระทำผิด ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันผู้ต้องหาจากการประชาทัณฑ์คือ กำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีไม่เพียงพอ ประชาชนที่มาดูการนำชี้ที่เกิดเหตุฯส่วนใหญ่ไม่เข้าใจการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ต้องการใช้ความรุนแรงในการห้ามปรามหรือจับกุมผู้ประชาทัณฑ์ ดังนั้น มาตรการในการป้องกันผู้ต้องหาจากการประชาทัณฑ์คือ การนำชี้ที่เกิดเหตุฯต้องมีทนายความของผู้ต้องหาติดตามไปด้วย ต้องไม่กระทำต่อหน้าสาธารณชนจำนวนมาก ต้องใช้เวลาให้น้อยที่สุด หากทำในสถานที่เปิดโล่งต้องมีแผงเหล็กหรือเชือกกั้นพื้นที่เอาไว้โดยรอบ และหากสถานการณ์เริ่มไม่ปลอดภัยต้องเลื่อนการนำชี้ที่เกิดเหตุฯออกไปทันที
Other Abstract: The purposes of this research are to study the understanding of lynching the accused in proceeding at the scene. To analyze the problems and obstacles to protect the accused from punishment by the people and recommend measures to prevent the accused from this action. This study is a documentary and qualitative research, that use in-depth interview in collecting data from 9 police officers whose duty in controling the accused, the 4 accused who are punished by people and 9 person who punish the accused. The results showed that this action occured when there are three elements; people who wanted to punish the accused, the accused and the lack of ability to prevent the body of the accused. Lynching the accused are collective behavior of an emotional contagion in mob which caused from soreness in criminal behavior. In addition this action is negative sanctions and retribution. However, the problems and obstacles to prevent the accused from this action are; the police officers are not enough, people do not understand this process and police officers do not want to use violence to forbid or arrest the illegal punishment. Therefore, the recommendations are; the process should be accompanied by counsel of the accused, this action can not be done in front of the public, take minimum of time. In open space should have the steel panel or the rope barrier around the area and when unsafe situation occured should be postponed this process immediately.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20521
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
apisak_to.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.