Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20933
Title: การวิเคราะห์อุปกรณ์ชนิดท่อยืดหยุ่นจากของเสียประเภทยางในกระบวนการเติมอากาศ
Other Titles: Analysis of flexible aeration diffuser tube from rubber waste in aeration process
Authors: นราพงศ์ หงส์ประสิทธิ์
Advisors: พิสุทธิ์ เพียรมนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pisut.P@Chula.ac.th
Subjects: ยาง -- การนำกลับมาใช้ใหม่
ท่อยาง
น้ำ -- การเติมอากาศ
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้ท่อยืดหยุ่นเป็นอุปกรณ์เติมอากาศแบบท่อ โดยศึกษาสมบัติทางกายภาพของท่อยืดหยุ่น ได้แก่ ความหนาผนังท่อ ความทนต่อแรงดึง (Tensile strength) ความแข็ง (Hardness) และความยืด (Elongation) เพื่อเลือกตัวอย่างท่อที่เหมาะสม โดยเปรียบเทียบสมรรถภาพด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทออกซิเจน (kLa) และประสิทธิภาพเชิงพลังงานในถังเติมอากาศปริมาตรประมาณ 10 ลิตร โดยศึกษากลไกการถ่ายเทออกซิเจนและผลกระทบจากสารเจือปนในน้ำ (ดินขาว เกลือ และเซลล์จุลชีพ) ต่อการถ่ายเทออกซิเจนโดยวิเคราะห์ตัวแปรด้านการถ่ายเทมวลสารและอุทกพลศาสตร์ของฟองอากาศ รวมถึงวิเคราะห์การอุดตันและวิธีทำความสะอาดที่เหมาะสม จากนั้นศึกษารูปแบบการจัดเรียงท่อที่เหมาะสมในถังเติมอากาศขนาด 2,500 ลิตร รูปแบบการกระจายของเรซิเดนซ์ไทม์ (RTD) และประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการทำนายค่าสัมประสิทธิ์ kLa เพื่อใช้ผลการวิจัยเป็นข้อมูลเบื้องต้นประกอบการออกแบบ และประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์เติมอากาศชนิดท่อยืดหยุ่น ในกระบวนเติมอากาศได้อย่างเหมาะสม จากผลการทดลองพบว่า ท่อยืดหยุ่นตัวอย่างที่ 6.3 มีความเหมาะสมในการประยุกต์เป็นอุปกรณ์เติมอากาศแบบท่อ เนื่องจากมีสมบัติทางกายภาพที่เหมาะสม ทั้งในด้านการถ่ายเทออกซิเจนและในด้านการใช้พลังงาน การเติมอากาศในน้ำเกลือทำให้เกิดฟองอากาศขนาดเล็ก และมีพื้นที่สัมผัสจำเพาะมาก ส่วนน้ำที่มีเซลล์จุลชีพส่งผลรบกวนการซึมของออกซิเจนผ่านชั้นกลางของเหลว ทำให้สัมประสิทธิ์การเคลื่อนย้ายมวลผ่านชั้นกลางของเหลว (kL) ลดลงอย่างมาก ซึ่งสามารถอธิบายได้โดยการวิเคราะห์ตัวแปรทางอุทกพลศาสตร์ของฟองอากาศและการถ่ายเทมวลสาร จากการวิเคราะห์การอุดตันของอุปกรณ์พบว่าไม่ควรหยุดเติมอากาศนานเกิน 3 วัน และควรทำความสะอาดด้วยวิธีการเป่าลมด้วยความดัน 3 บาร์ นาน 30 นาที สำหรับผลกระทบจากรูปแบบการจัดเรียงท่อเติมอากาศพบว่าให้ประสิทธิภาพการถ่ายเทออกซิเจนประมาณ 15.08% และให้รูปแบบการกระจายของเรซิเดนซ์ไทม์ใกล้เคียงกัน โดยควรออกแบบโดยใช้ท่อยาว 7.5 ม. ต่อพื้นที่ก้นถังเติมอากาศ 1.33 ตร.ม. นอกจากนี้ จากการประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการทำนายค่าสัมประสิทธิ์ kLa พบว่ามีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่า 20%
Other Abstract: To study flexible aeration diffuser due to obtaining the optimal diffuser. The physical properties of the various rubber tubes (tube wall thickness, tensile strength, hardness and elongation) were analyzed. The oxygen transfer performances were compared in the term of volumetric mass transfer coefficient (kLa) and energy efficiency occur in 10 liters of aeration tank. The effect of different contaminants (kaolin, NaCl and MLSS) on aeration mechanism was investigated in terms of bubble hydrodynamic and mass transfer parameters. Moreover, the tube fouling was studied and then the suitable cleaning method was proposed. In this study, the effect of tube layout located in tank with 2500 L was also considered by determining the kLa coefficients and residence time distribution (RTD). In addition, the theoretical prediction model was proposed and applied as a primary data in aeration system design and operation. The result has shown that, from oxygen transfer and energy consumption, the tube No. 6.3 should be chosen as the suitable aeration diffuser. The aeration in NaCl solution affected on small bubble size which increased interfacial area (a). While the MLSS condition affected on the oxygen transfer which decreased liquid-side mass transfer coefficient (kL) significantly. The aeration should not be stopped longer than 3 days for avoiding the tube clogging. Air purging should be chosen as the suitable cleaning method with 3 bars of pressure in 30 min. From the study of tube layout, it can be found that the closed oxygen transfer efficiency (15.08%) and the residence time distribution were obtained. Note that the arrangement was applied with 7.5 m. of tube length per 1.33 m2 of the bottom area of the tank. In addition, the suitable model was proposed for predicting the kLa with errors less than 20%
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20933
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.265
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.265
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narapong_ho.pdf4.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.