Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2096
Title: การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
Other Titles: Pharmaceutical care for patients receiving parenteral nutrition at Bumrungrad Hospital
Authors: ณัฎฐดา อารีเปี่ยม, 2517-
Advisors: สมฤทัย วัชราวิวัฒน์
กมลศักดิ์ เรืองเจริญรุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Subjects: การบริบาลทางเภสัชกรรม
การให้อาหารทางหลอดเลือด
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดเนื่องจากยาที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำ และรวมทั้งศึกษาเกี่ยวกับ ข้อบ่งใช้ ความเหมาะสมของพลังงานและสารอาหารที่ผู้ป่วยได้รับ ภาวะแทรกซ้อน ประสิทธิผล และแนวโน้มการยอมรับของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องเมื่อเภสัชกรให้ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในผู้ป่วย 82 รายที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง ธันวาคม 2547 พบว่าส่วนใหญ่ 42 ราย (ร้อยละ 51.2) เป็นชาย มีอายุเฉลี่ย 58+-13 ปี โรคที่พบมากที่สุดได้แก่โรคมะเร็ง 39 ราย (ร้อยละ 47.6) และโรคที่พบมากเป็นลำดับที่ 2 ได้แก่ โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร พบในผู้ป่วยจำนวน 19 ราย (ร้อยละ 23.2) ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำ 122 ครั้ง 98 ครั้ง (ร้อยละ 80) เป็นการให้สารอาหารบางส่วนทางหลอดเลือดดำ และ 24 ครั้งเป็นการให้สารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำ พบว่า สารอาหารบางส่วนทางหลอดเลือดดำส่วนใหญ่ (ร้อยละ 31.6) ถูกสั่งใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับอาหารจากทางเดินอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ พบว่าผู้ป่วยได้รับพลังงานเพียงพอและโปรตีนเหมาะสมกับความต้องการร้อยละ 41.8 ของการให้สารอาหารบางส่วนทางหลอดเลือดดำ ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดหลังจากได้รับสารอาหารบางส่วนทางหลอดเลือดดำคือ ภาวะโซเดียมและโพแทสเซียมต่ำซึ่งเกิดขึ้นในระดับที่ไม่รุนแรง สำหรับสารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำถูกสั่งใช้ในผู้ป่วยที่เกิดการอุดตันในทางเดินอาหารเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 29.2) ผู้ป่วยทุกรายได้รับพลังงานและสารอาหารเพียงพอกับความต้องการ ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดหลังได้รับสารอาหารทางทั้งหมดหลอดเลือดดำคือภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งเกิดขึ้นทั้งหมด 89 ครั้ง และสามารถประเมินประสิทธิผลของการให้สารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำจากการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักได้จากการให้สารอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดดำ 13 ครั้งซึ่งพบว่าน้ำหนักของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 2 ครั้ง และพบว่าผู้ป่วยสามารถกลับมารับอาหารทางทางเดินอาหารได้ 9 ครั้ง ในการศึกษานี้เภสัชกรปัญหาที่เกิดเนื่องจากยาทั้งสิ้น 454 ครั้ง เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ 372 ครั้ง (ร้อยละ 81.9) และเป็นปัญหาที่เกิดเนื่องจากยาอื่น 81 ครั้ง (ร้อยละ 18.1) เภสัชกรให้ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาทั้งสิ้น 154 ครั้ง เป็นการเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ 117 ครั้ง (ร้อยละ 76) และปัญหาที่เกิดเนื้องจากยาอื้น 37 ครั้ง (ร้อยละ 24) เป็นการให้ข้อเสนอแนะแก่แพทย์ 68 ครั้ง ได้รับการยอมรับ 41 ครั้ง เป็นเข้อเสนอแนะที่ให้แก่พยาบาลและโภชนาการซึ่งได้รับการยอมรับทั้งหมดจำนวน 74 ครั้ง และ 12 ครั้ง ตามลำดับ จากผลการศึกษา เ ภสัชกรพบปัญหาที่เกิดเนื้องจากยาที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำจำนวนมากและสามารถให้ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาแก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ร่วมกันดูแลรักษาผู้ป่วยซึ่ข้อเสนอแนะส่วนใหญ่ของเภสัชกรได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี การบริบาลทางเภสัชกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญและเป็นความต้องการของผู้ป่วยกลุ่มนี้ จึงควรมีเภสัชกรปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ โดยมีการวางแผนอย่างดีและดำเนินงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ เพื้อค้นหา ป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยาที่อาจพบได้ในผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำ
Other Abstract: The main purpose of this study was focused on drug related problems those happened in patients who received parenteral nutrition and also aimed to study about indication, effectiveness, complication, and trend of acceptance of other health care practitioners after interventions for preventing or correcting drug related problems were provided by a pharmacist. This study was conducted from March to December 2004, 82 patients received parenteral nutrition at Bumrungrad Hospital, 42 of them were male (51.2%). The average age of these patients was 58+-13 years old. The most common disease in these patients is cancer which found in 39 patients (47.6%). Secondly, symptoms involved gastrointestinal tract were found in 19 patients (23.2%). Parenteral nutrition were given 122 times, 98 times (80%) and 24 times (20%) were partial and total parenteral nutrition, respectively. The most common indication (31.6%) for partial parenteral nutrition usage was patients can not eat or received enough enteral nutrition. About 40% of partial parenteral nutrition cases received adequate energy and protein from either parenteral or enteral nutrition. The most frequent complications seen in patient received partial parenteral nutrition were mild hyponatremia and hypokalemia. Gut obstruction was the most common reason (29.2%) for giving total parenteral nutrition. All total parenteral nutrition cases were given adequate energy and nutrients. Electrolyte imbalance was the most common complication (89 times). Total parenteral nutrition efficacy can be evaluated by weight change in 13 times of total parenteral nutrition given.There were only 2 in 13 times that patients gained weight. There were 9 from 24 times that patients can switch from total parenteral nutrition to enteral feeding. In this study, the pharmacist found 454 drug related problems, 372 (81.9%) of them were related to parenteral nutrition. One hundred and fifty four interventions were made by the pharmacist to either prevent or resolve drug related problems. One hundred andseventeen interventions (76%) were related to parenteral nutrition and 37 interventions (24%) were related to other drug therapy. Among these interventions, 68 were notified to doctors and their acceptance rate was 60.3%. Nurses and dietitians accepted all suggestion (74 and 12 times, respectively). There were numerous drug related problems seen in patients receiving parenteral nutrition. Pharmaceutical care for these patients was crucially needed. Other health care practitioners accepted the solutions proposed by the pharmacist. A pharmacist who provides pharmaceutical care for patients receiving parenteral nutrition should be able to make systematically plans, perform works routinely and co-operate with other health care team members well to prevent and correct drug related problems which might occur in this group of patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2096
ISBN: 9745320854
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nutthada.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.