Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21388
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระพันธ์ รังสีวิจิตรประภา-
dc.contributor.authorพงศ์พันธุ์ ปริยวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-08-12T09:09:25Z-
dc.date.available2012-08-12T09:09:25Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21388-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นรายงานการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมของรากสายดินภายใต้กระแสอิมพัลส์ฟ้าผ่าที่แตกต่างจากพฤติกรรมด้านความถี่ต่ำ เมื่อระบบรากสายดินมีคุณสมบัติ ทรานเชียนต์ที่ไม่ดี จะทำให้เกิดแรงดันสูงตรงจุดต่อลงดินและแรงดันช่วงก้าวที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและอุปกรณ์ในระหว่างที่มีกระแสฟ้าผ่าไหลผ่านรากสายดิน การวิเคราะห์พฤติกรรม ทรานเชียนต์ของรากสายดินพื้นฐานจะใช้แบบจำลองทฤษฎีสายส่งปรับปรุงที่อาศัยการแก้สมการ Telegrapher ด้วยเทคนิค FDTD ผลการจำลองได้ผ่านการยืนยันด้วยผลการทดลอง กระแสอิมพัลส์ที่ใช้ในการจำลองจะอ้างอิงตามมาตรฐาน IEC ซึ่งประกอบด้วยกระแสฟ้าผ่าแรก 10/350 micro]s และกระแสฟ้าผ่าตาม 0.25/100 micro]s เมื่อความยาวของตัวนำเพิ่มขึ้นแรงดันไฟฟ้าตรงจุดปล่อยกระแสของรากสายดินจะมีค่าลดลงและมีแนวโน้มอิ่มตัวเมื่อความยาวถึงค่าๆหนึ่งที่เรียกว่าความยาวประสิทธิผลสำหรับรากสายดินเดี่ยวหรือขนาดประสิทธิผลสำหรับกราวด์กริด โดยค่าดังกล่าวจะลดลงตามค่าความต้านทานดินและเวลาหน้าคลื่นของกระแสอิมพัลส์ รากสายดินแท่งแนวดิ่งมีความสามารถกระจายกระแสดีกว่ารากสายดินแนวนอนตามผลการศึกษาที่ได้ในวิทยานิพนธ์นี้ การศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อแรงดันช่วงก้าวด้วยชุดการทดลองย่อส่วน รากสายดินทดสอบจะถูกติดตั้งอยู่ในสารละลายน้ำเกลือที่ง่ายต่อการปรับค่าความต้านทานและการวัดค่าแรงดันช่วงก้าวรอบรากสายดิน เนื่องจากรากสายดินแต่ละประเภทมีค่าอิมพัลส์อิมพิแดนซ์ต่างกัน การวิเคราะห์ผลการทดลองจึงใช้ค่าแรงดันนอมัลไลซ์กระแส (V/I) แรงดันช่วงก้าวจะมีค่าลดลงตามการเพิ่มขึ้นของความยาวรากสายดินแท่งแนวดิ่ง อย่างไรก็ตามการลดลงของแรงดันมีแนวโน้มอิ่มตัวเนื่องจากความยาวประสิทธิผล ลักษณะของรากสายดินก็มีผลต่อแรงดันช่วงก้าว รากสายดินที่มีจำนวนกิ่งตัวนำมากหรือมีจำนวนรากสายดินแท่งแนวดิ่งมากก็จะช่วยลดค่าแรงดันช่วงก้าวลง ส่วนรากสายดินที่เป็นกราวด์กริดจะให้ค่าแรงดันช่วงก้าวภายในพื้นที่ของกราวด์กริดต่ำกว่าพื้นที่ภายนอกกราวด์กริดen
dc.description.abstractalternativeThis thesis presents the study of grounding behavior under a lightning impulse current, which is different from low frequency behavior. If the transient performance of grounding is poor, high potential rise at the grounding connection point and step voltage will occur during the discharge process. Consequently, it’s quite dangerous for human and equipment. The transient behavior analysis of basic grounding electrode was approached by improved transmission line model. Telegrapher’s equations are solved using FDTD technique. The results of the simulation were reassured by experimental results. The simulated impulse currents according to IEC standard are first stroke impulse current of 10/350 micro]s and subsequent stroke impulse current of 0.25/100 micro]s. The voltage at injection point decreases with the increasing of grounding wire length. It tends to saturate when its length reaches a certain value, called as effective length of the grounding wire, or called as effective area of the grounding grid. These values are reduced by decreasing of soil resistance and front time of impulse current. The vertical grounding rod can distribute lightning current better than horizontal grounding wire according to results in this work. The study of factors affecting on step voltage was carried out by scaling experiment. The testing grounding electrodes were installed in salt solution. The advantages of salt solution are the controllable resistivity and the convenience to measure step voltage around the testing electrode. Since different types of grounding electrodes provide different impulse impedances, the normalized voltage is used for evaluating the performance of grounding electrodes. The step voltage decreases with the increasing of grounding rod length. However it tends to saturate due to its effective length. The characteristics of grounding electrode will affect the step voltage, e.g. more number of branches or vertical grounding rods less the step voltage. The grounding grid will do the decreasing of the step voltage inside grounding grid area compared with outside grid area.en
dc.format.extent21185125 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.863-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกระแสไฟฟ้า -- สายดินen
dc.subjectฟ้าผ่าen
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen
dc.titleการวิเคราะห์พฤติกรรมของรากสายดินภายใต้กระแสอิมพัลส์ฟ้าผ่าด้วยวิธีอิมพิแดนซ์ต่อหน่วยความยาวen
dc.title.alternativeAnalysis of grounding electrode behaviour under lightning impulse current based on per unit length impedance methoden
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมไฟฟ้าes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorWeerapun.R@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.863-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pongpan_pa.pdf20.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.